2568 การให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยีแก่ชุมชน 0
ผล
ผล
ผล
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
2 [18757] |
กิจกรรมที่ 6 เรื่อง การแปรรูปมะเขือเทศ วันที่ 20กุมภาพันธ์ 2568 ผู้ขอรับบริการ : นายธวัชชัย มศิริยาพันท์ สถานที่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ผู้ให้คำปรึกษา : นางวรรณภา สระพินครบุรี การให้คำปรึกษา หน่วยวิจัยและพัฒนาความเป็นเลิศทางนวัตกรรมอาหารสำหรับผู้ประกอบการ มทร.ล้านนา พิษณุโลกร่วมกับ งานคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลกช่วยผู้ประกอบการที่มีอาชีพปลูกมะเขือเทศเพื่อการจำหน่าย แต่ประสบปัญหาเรื่องมะเขือเทศจำหน่ายไม่หมดทำให้ต้องทิ้ง มะเขือเทศที่ปลูกจะเป็นมะเขือเทศแบบกินผลสด จึงอยากนำมาแปรรูปให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต โดยแนะนำแนวทางการแปรรูป เช่น มะเขือเทศอบแห้ง เยลลี่มะเขือเทศ ไอศกรีมมะเขือเทศ เป็นต้น อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญได้นัดวันเวลาให้นำมะเขือเทศไปทำการทดลองสูตรเยลลี่มะเขือเทศ เมื่อทดลองเสร็จจะนัดผู้ประกอบการเข้ามาถ่ายทอดขั้นตอนการผลิตต่อไป รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 24/03/2568 [18757] |
0 | 1 |
2 [18756] |
กิจกรรมที่ 5 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 งานคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก ร่วม จัดจัดกิจกรรม "หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน" ประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๘ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ โดยมีอาจารย์และบุคลากรเข้าร่วมให้บริการข้อมูลและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากผลผลิตการเกษตร เทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการส่องไข่มีเชื้อ และเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนตำบลท่าตาล อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ผู้รับบริการ : เกษตรกร และประชาชนทั่วไป จำนวนผู้รับบริการ : 48 คน ผู้ร่วมกิจกรรม : 1. นางวาสนา สิงห์ดวง 2. นางสาวสุจิตรา เรืองเดชาวิวัฒน์ 3. นายพรเทพ เกียรติดำรงค์กุล 4. นายสุภภณ พลอยอิ่ม 5. นางสาวอรณิช คำยง 6. นายดำรงค์ศักดิ์ สุวรรณศรี 7. นางสาวชฎาพร ประทุมมา ผลการดำเนินงาน : มีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจมาขอรับคำปรึกษาด้านเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากผลผลิตการเกษตร เทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการส่องไข่มีเชื้อ และเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านอาชีพ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานราชการ องค์กรภาคเอกชน และประชาชน มีทั้งขอรับข้อมูลด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน โดยมีเอกสารประกอบและแผ่นพับให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 24/03/2568 [18756] |
760 | 48 |
2 [18755] |
กิจกรรมที่ 4 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 งานคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก พร้อมด้วยอาจารย์และบุคลากร สาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ลงพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษาในด้านการปลูกข้าวในแปลงนาสาธิตเพื่อต่อยอดเรือนจำเฉพาะทางด้านการเกษตร เพื่อเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ณ เรือนจำจังหวัดพิษณุโลก ผู้รับบริการ : นักโทษในเรือนจำจังหวัดพิษณุโลก วิทยากรและทีมงาน : 1. นางสาวอรณิช คำยง 2. นายพีรพันธ์ ทองเปลว 3. นายดำรงค์ศักดิ์ สุวรรณศรี เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอด : การใช้เครื่องยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ผลการดำเนินงาน : ฝ่ายฝึกวิชาชีพส่วนพัฒนาผู้ต้องขัง ได้ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนเรือนจำเฉพาะทางด้านการเกษตร เรือนจำจังหวัดพิษณุโลก และได้จัดทำโครงการกิจกรรมปลูกข้าวในแปลงนาสาธิตเพื่อต่อยอดเรือนจำเฉพาะทางด้านการเกษตร เพื่อให้ผู้ต้องชังได้รับองค์ความรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้ภายหลังพ้นโทษ และยังสามารถประกอบอาชีพด้านการเกษตรได้อย่างยั่งยืนนั้น จึงขอความร่วมมือกับงานคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก เรื่องวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีความรู้ ความสามารถเฉพาะทาง เพื่อดำเนินการฝึกอบรม ผู้ต้องขังตามโครงการกิจกรรมปลูกข้าวในแปลงนาสาธิตเพื่อต่อยอดเรือนจำเฉพาะทางด้านการเกษตร รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 24/03/2568 [18755] |
0 | 0 |
2 [18754] |
กิจกรรมที่ 3 วันที่ 3-5,7 และ9 กุมภาพันธ์ 2568หน่วยวิจัยและพัฒนาความเป็นเลิศทางนวัตกรรมอาหารสำหรับผู้ประกอบการ มทร.ล้านนา พิษณุโลกร่วมกับ งานคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุโขทัย จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุโขทัย เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอสมะแขว่น, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอสมะแขว่น, ฟ้าทะลายโจรแคปซูล, หมี่กรอบ-กัมมี่ รสส้ม, กล้วยตากเคลือบช็อกโกแลต รสส้ม, กล้วยเปลี่ยนแนว, ข้าวแต๋นน้ำส้ม ณ จังหวัดสุโขทัย ผู้รับบริการ : ผู้ประกอบการ จำนวนผู้รับบริการ : 24 คน วิทยากรและทีมงาน : 1. นางสาวเกษร กลีบบัว 2. นางสาวอพิศรา หงส์หิรัญ 3. นางสาวชฎาพร ประทุมมา และทีมงาน เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอด : - การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอสมะแขว่น - การพัฒนาผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรแคปซูล - การพัฒนาผลิตภัณฑ์หมี่กรอบ-กัมมี่ รสส้ม - การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยตากเคลือบช็อกโกแลต รสส้ม - การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยเปลี่ยนแนว - การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นน้ำส้ม ผลการดำเนินงาน : เนื่องด้วยหน่วยวิจัยและพัฒนาความเป็นเลิศทางนวัตกรรมอาหารสำหรับผู้ประกอบการ มทร.ล้านนา พิษณุโลก ได้รับโจทย์การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ จากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุโขทัย จึงดำเนินการพัฒนาหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ออกแบบฉลากหรือจัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนงานวิจัย มาใช้พัฒนาหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มคุณค่าและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จากนั้นนัดวันเวลาถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตร ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 6 กลุ่ม (1.วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลแม่สิน 2.วิสาหกิจชุมชนพืชสมุนไพรวิถีสุโขทัย ตำบลปากน้ำ 3.วิสาหกิจชุมชนบ้านแจ่มจ้า เมืองบางขลัง 4.วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร 5.วิสาหกิจชุมชนฟาร์มสเตย์บ้านตึก 6.วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพบ้านคลองระหัน) และให้ผู้ประกอบการทดลองทำผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาแล้ว เพื่อการทดสอบทางการตลาดเบื้องต้น โดยจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ซื้อไม่น้อยกว่า 30 ราย โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงข้อมูลทั่วไปของผู้ซื้อ พฤติกรรมการซื้อ ความชอบของผู้ซื้อต่อผลิตภัณฑ์ ความพึงพอใจของผู้ซื้อต่อผลิตภัณฑ์ และความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เป็นต้น รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 24/03/2568 [18754] |
3000 | 24 |
2 [18752] |
กิจกรรมที่2 วันที่ 28มกราคม 2568 งานคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก ร่วม จัดจัดกิจกรรม "หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน" ประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๘ เดือนมกราคม ๒๕๖๘ โดยมีอาจารย์และบุคลากรเข้าร่วมให้บริการข้อมูลและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีอาหารปลาเสริมสมุนไพรแบบต้นทุนต่ำ เทคโนโลยีการผลิตโคนม เทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เทคโนโลยีการใช้สารคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส(cmc)จากธรรมชาติ ให้แก่ประชาชนตำบลสวนเมี่ยง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ผู้รับบริการ : เกษตรกร และประชาชนทั่วไป จำนวนผู้รับบริการ : 32 คน ผู้ร่วมกิจกรรม : 1. นายบุญฤทธิ์ สโมสร 2. นางสาวสุจิตรา เรืองเดชาวิวัฒน์ 3. นางสาวอพิศรา หงส์หิรัญ 4. นางสาวอรณิช คำยง 5. นายกฤษณะ หมีนิ่ม 6. นายนิติพงษ์ ปานบุญ 7. นางสาวชฎาพร ประทุมมา ผลการดำเนินงาน : มีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจมาขอรับคำปรึกษาด้านเทคโนโลยีอาหารปลาเสริมสมุนไพรแบบต้นทุนต่ำ เทคโนโลยีการผลิตโคนม เทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เทคโนโลยีการใช้สารคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส(cmc)จากธรรมชาติ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านอาชีพ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานราชการ องค์กรภาคเอกชน และประชาชน มีทั้งขอรับข้อมูลด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน โดยมีเอกสารประกอบและแผ่นพับให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 24/03/2568 [18752] |
760 | 32 |
2 [18751] |
กิจกรรมที่ 1 วันที่ 15 มกราคม 2568 งานคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก ร่วมจัดกิจกรรมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีอาจารย์และบุคลากรเข้าร่วมให้บริการข้อมูลและให้คำปรึกษา ด้านการใช้ประโยชน์จากถ่านไบโอชาร์ การใช้ประโยชน์จากน้ำหมักแบคทีเรียสังเคราะห์แสง การใช้ประโยชน์ไบโอชาร์ (ถ่านดูดกลิ่น) การใช้ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ อาหารปลาเสริมภูมิต้านทานและลดต้นทุน ให้แก่ประชาชนตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ผู้รับบริการ : เกษตรกร และประชาชนทั่วไป จำนวนผู้รับบริการ : 45 คน ผู้ร่วมกิจกรรม : 1. นางสาวสุกัญญา ทับทิม 2. นางสาวณัฏฐิรา ก๋าวินจันทร์ 3. นางสาวสุจิตตรา อินทอง 4. นายอรรถพล ตันไสว 5. นางสาวอพิศรา หงส์หิรัญ 6. นางสาวชฎาพร ประทุมมา ผลการดำเนินงาน : มีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจมาขอรับคำปรึกษาด้านการใช้ประโยชน์จากถ่านไบโอชาร์ การใช้ประโยชน์จากน้ำหมักแบคทีเรียสังเคราะห์แสง การใช้ประโยชน์ไบโอชาร์ (ถ่านดูดกลิ่น) การใช้ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ อาหารปลาเสริมภูมิต้านทานและลดต้นทุน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านอาชีพ มีทั้งขอรับข้อมูลด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน โดยมีเอกสารประกอบและแผ่นพับให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 24/03/2568 [18751] |
760 | 45 |
2 [18765] |
1. ค่าจ้างเจ้าหน้าที่วุฒิปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 เดือน (เดือนมกราคม 2568 - เดือนมีนาคม 2568) เป็นจำนวนเงิน 45,000 บาท 2. ค่าวัสดุสำหรับจัดนิทรรศการ เป็นจำนวนเงิน 4,500 บาท 3. ค่าวัสดุและอุปกรณ์สาธิตการให้คำปรึกษาและข้อมูล เป็นจำนวนเงิน 4,720 บาท 4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน เป็นจำนวนเงิน 4,800 บาท 5. ค่าจ้างเหมาทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์คลินิกเทคโนโลยี เป็นจำนวนเงิน 4,000 บาท รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 24/03/2568 [18765] |
63020 | 0 |
2 [18761] |
กิจกรรมที่ 10 วันที่ 15 มีนาคม 2568 งานคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก ร่วมกับ ผอ.เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่องระบบสารสนเทศเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ (OAN) ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมระบบชุมชนรับรอง RL-PGS ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ผู้รับบริการ : เกษตรกร และประชาชนทั่วไป จำนวนผู้รับบริการ : 30 คน วิทยากรและทีมงาน : 1. ผอ.เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ 2. ผศ.ดร.กฤษดา กาวีวงศ์ เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอด : ระบบสารสนเทศเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ (OAN) ผลการดำเนินงาน : ผอ.เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมบรรยายเรื่อง ความสำคัญของ RL-PGS เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (Traceability) ด้วยระบบสารสนเทศเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ (OAN)เพื่อเป็นประโยชน์แก่เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 24/03/2568 [18761] |
1800 | 30 |
2 [18760] |
กิจกรรมที่ 9 วันที่ 14 มีนาคม 2568 งานคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก ร่วมจัดนิทรรศการในกิจกรรมงานวันสาธิตการย่อยสลายตอซังและฟางข้าว โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมให้บริการคำปรึกษา ด้านการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งจากธรรมชาติ, การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง, การทำน้ำหมักชีวภาพผลไม้, การทำอาหารปลาต้นทุนต่ำ ณ แปลงนาเกษตรกร บ้านท่าช้างหมู่ 9 ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ผู้รับบริการ : เกษตรกร และประชาชนทั่วไป จำนวนผู้รับบริการ : 15 คน ผู้ร่วมกิจกรรม : 1. ผศ.ดร.นันทยา เก่งเขตร์กิจ 2. ดร.อรรถพล ตันไสว 3. ดร.ณัฏฐิรา ก๋าวินจันทร์ 4. นางสาวอพิศรา หงส์หิรัญ 5. นางสาวชฎาพร ประทุมมา ผลการดำเนินงาน : ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลกได้กำหนดจัดกิจกรรมงานวันสาธิตการย่อยสลายตอชังและฟางข้าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงประสิทธิผลจากการสาธิต ย่อยสลายตอซังและฟางข้าวของแปลงนา เพื่อตอบโจทย์นโยบายไม่เผาลดฝุ่น PM25 โดยมีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจมาขอรับคำปรึกษาด้านการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งจากธรรมชาติ, การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง, การทำน้ำหมักชีวภาพผลไม้, การทำอาหารปลาต้นทุนต่ำ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านอาชีพ มีทั้งขอรับข้อมูลด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน โดยมีเอกสารประกอบและแผ่นพับให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 24/03/2568 [18760] |
760 | 15 |
2 [18759] |
กิจกรรมที่ 8 วันที่ 12-13 มีนาคม 2568 งานคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก ร่วมจัดบูธทางวิชาการ ณ วัดนิมิตธรรมราม ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผู้รับบริการ : เกษตรกร และประชาชนทั่วไป จำนวนผู้รับบริการ : 8 คน ผู้ร่วมกิจกรรม : 1. นางสาวอพิศรา หงส์หิรัญ 2. นางสาวอุษณีย์ภรณ์ สร้อยเพ็ชร์ 3. นางสาวชฎาพร ประทุมมา ผลการดำเนินงาน : มีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจมาขอรับคำปรึกษาด้านเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านอาชีพ มีทั้งขอรับข้อมูลด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน โดยมีเอกสารประกอบและแผ่นพับให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 24/03/2568 [18759] |
0 | 8 |
2 [18758] |
กิจกรรมที่ 7 วันที่ 7 มีนาคม 2568 งานคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก ร่วมกับเทศบาลตำบลพลายชุมพลจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องปุ๋ยอัดเม็ด ณ อาคารอเนกประสงค์เทศบาลตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ผู้รับบริการ : กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวนผู้รับบริการ : 44 คน วิทยากรและทีมงาน : ดร.อัษฎาวุธ สนั่นนาม เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอด : ปุ๋ยอัดเม็ด ผลการดำเนินงาน : ทางเทศบาลตำบลพลายชุมพล ได้ดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (โรงเรียนผู้สูงอายุ)เทศบาลตำบลพลายชุมพล เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในด้านการให้ความรู้ การคุ้มครอง การส่งเสริมและสนับสนุนผู้สูงอายุในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา การศาสนา การสาธารณสุข การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพหรือการฝึกอาชีพที่เหมาะสม จึงขอความร่วมมืองานคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก เรื่องวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง เพื่อดำเนินการฝึกอบรมให้แก่ผู้สูงอายุพลายชุมพล รุ่นที่ 8 ประจำปีงบประมาณ 2568 ภายใต้โครงการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลตำบลพลายชุมพล รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 24/03/2568 [18758] |
0 | 44 |
1 [18401] |
ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 กิจกรรมที่ 1 เรื่อง การให้บริการคำปรึกษาผู้ประกอบการหรือกลุ่มประชาชนที่สนใจ ในกิจกรรมชิมและช้อป ผลิตภัณฑ์จากโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรประกาศนียบัตรนวัตกรรมสตรีทฟู้ดสำหรับผู้ประกอบการ วันที่ 28-29 ตุลาคม 2567 ผู้ขอรับบริการ : 3 คน สถานที่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ผู้ให้คำปรึกษา 1. นางสาวอพิศรา หงส์หิรัญ 2. นางสาวเมธาวี อนะวัชกุล การให้คำปรึกษา มีผู้ประกอบการที่สนใจมาขอรับคำปรึกษาในด้านการแปรรูปอาหาร การทำผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ โดยขอรับข้อมูลด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน
กิจกรรมที่ 2 วันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2567 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก จัดกิจกรรมฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง การเตรียมเตาเผาถ่าน และการทำน้ำส้มควันไม้จากเตาเผาถ่าน ณ ต.วังพิกุล อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ผู้รับบริการ : เกษตรกร และประชาชนทั่วไป จำนวนผู้รับบริการ : 12 คน วิทยากรและทีมงาน : 1. นายดำรงค์ศักดิ์ สุวรรณศรี 2. นางสาวอพิศรา หงส์หิรัญ 3. นางสาวอรณิช คำยง 4. นางสาวชฎาพร ประทุมมา 5. น.ส.ทัยธวดี เนตรแสงสี 6. นายธนพัฒน์ อินเลี้ยง เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอด : - การเตรียมเตาเผาถ่าน - การทำน้ำส้มควันไม้ ผลการดำเนินงาน : ทางวิทยากรได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่องการเตรียมเตาเผาถ่าน และการทำน้ำส้มควันไม้จากเตาเผาถ่าน ว่ามีหลักการและต้องวางแผนงานอย่างไรจึงจะได้ผลผลิตในปริมาณสูงและมีคุณภาพ จากนั้นได้ลงมือปฏิบัติการทำเตาเผาถ่าน โดยได้มีการนัดให้เกษตรกรเตรียมวัสดุอุปกรณ์ไว้ให้ครบแล้ว เมื่อเตาเผาถ่านแห้งดีแล้วจึงสาธิตการใส่ไม้ลงในเตาพร้อมการจุดไฟ และการสังเกตุควันไฟว่าควันแบบไหนจึงจะสามารถเก็บน้ำส้มควันไม้ได้ นอกจากนั้นแล้ววิทยากรได้บอกวิธีการเก็บรักษาน้ำส้มควันไม้ วิธีการใช้ และการนำไปกลั่น เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในด้านอาชีพต่อไป
กิจกรรมที่ 3วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก พร้อมด้วยอาจารย์และบุคลากร สาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ลงพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษาในด้านการจัดการแปลงนาในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ และเกษตรผสมผสานรวมถึงการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ณ เรือนจำจังหวัดพิษณุโลก ผู้ร่วมกิจกรรม : 1. นางสาวอรณิช คำยง 2. นายพีรพันธ์ ทองเปลว 3. นายดำรงค์ศักดิ์ สุวรรณศรี ผลการดำเนินงาน : ทางทีมงานได้ลงพื้นที่พร้อมกับทางหัวหน้าหน่วยงานของทางเรือนจำจังหวัดพิษณุโลก เพื่อเพื่อให้คำปรึกษาในด้านการจัดการแปลงนาในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ และเกษตรผสมผสานรวมถึงการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว
กิจกรรมที่ 4วันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก จัดกิจกรรมฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน BCG Model คืออะไร และจุดประกายความคิดการทำนาแบบลดต้นทุน ณ นิคมสร้างตนเองบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ผู้รับบริการ : เกษตรกร และประชาชนทั่วไป จำนวนผู้รับบริการ : 20 คน วิทยากรและทีมงาน : นายดำรงค์ศักดิ์ สุวรรณศรี เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอด : - BCG Model - การทำนาแบบลดต้นทุน ผลการดำเนินงาน : ทางวิทยากรได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่อง BCG Model คืออะไร มีประโยชน์กับเกษตรกรอย่างไร และได้จุดประกายความคิดการทำนาแบบลดต้นทุนว่ามีหลักการและการวางแผนอย่างไรจึงจะได้ผลผลิตในปริมาณสูงและมีคุณภาพ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในด้านอาชีพต่อไป
กิจกรรมที่ 5วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก จัดกิจกรรมฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง การทำกระถางจากเส้นใยธรรมชาติณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ต.บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ผู้รับบริการ : เกษตรกร ประชาชนทั่วไป และพระ จำนวนผู้รับบริการ : 9 คน วิทยากรและทีมงาน : ผศ.ดร.นันทยา เก่งเขตร์กิจ เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอด : การทำกระถางจากเส้นใยธรรมชาติ ผลการดำเนินงาน : ทางวิทยากรได้บรรยายความรู้เกี่ยวกับพืชเส้นใย และส่วนผสมต่างๆในการทำกระถางจากเส้นใยธรรมชาติ และบรรยายกระบวนการทำกระถางจากเส้นใยธรรมชาติ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมลงมือปฏิบัติการเตรียมเส้นใย การผสมวัตถุดิบ การขึ้นรูปกระถาง และการตัดแต่งทรงกระถาง เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในด้านอาชีพต่อไป
กิจกรรมที่ 6วันที่ 25 ธันวาคม 2567 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก จัดกิจกรรมฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้หลักสูตรอาชีพการจัดอาหารว่างเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ณ เทศบาลตำบลพลายชุมพลอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผู้รับบริการ : กลุ่มแม่บ้าน จำนวนผู้รับบริการ : 22 คน วิทยากรและทีมงาน : 1. นางสาวอพิศรา หงส์หิรัญ 2. นางวรรณภา สระพินครบุรี 3. นางอารยา นุ่มนิ่ม 4. นางสาวเกษร กลีบบัว 5. นางสาวชฎาพร ประทุมมา เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอด : การจัดอาหารว่างเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ผลการดำเนินงาน : ทางวิทยากรได้บรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารว่างเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าการเลือกใช้วัตถุดิบที่คุณภาพสูง และราคาคุ้มค่า และสาธิตขั้นตอนการทำอาหารว่างในรูปแบบต่างๆ และการตกแต่งจานอาหารว่างเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมฝึกปฏิบัติการการทำอาหารว่างเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในด้านอาชีพต่อไป
กิจกรรมที่ 7วันที่ 28 ธันวาคม 2567 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก จัดกิจกรรมฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่องการให้ความรู้การปลูกข้าวแบบลดต้นทุน/การดูแลระหว่างการปลูก รวมถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการให้ความรู้ด้านการตลาดเพื่อวางจัดจำหน่ายสินค้า และวิธีการดำนาแบบลดต้นทุน ณ นิคมสร้างตนเองบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ผู้รับบริการ : เกษตรกร และประชาชนทั่วไป จำนวนผู้รับบริการ : 20 คน วิทยากรและทีมงาน : นายดำรงค์ศักดิ์ สุวรรณศรี เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอด : - การปลูกข้าวแบบลดต้นทุน - การดูแลระหว่างการปลูก - การเก็บเกี่ยวผลผลิต - การตลาดเพื่อวางจัดจำหน่ายสินค้า - การดำนาแบบลดต้นทุน ผลการดำเนินงาน : ทางวิทยากรได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่อง การปลูกข้าวแบบลดต้นทุน/การดูแลระหว่างการปลูก รวมถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการให้ความรู้ด้านการตลาดเพื่อวางจัดจำหน่ายสินค้า และวิธีการดำนาแบบลดต้นทุน เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในด้านอาชีพต่อไป รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 03/01/2568 [18401] |
50560 | 86 |