2568 โครงการการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
3 [19084]

งานคลินิกเทคโนโลยี เรื่องการฝึกปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาน้ำจืด และการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายสินค้า ณ เทศบาลตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 คลินิกเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการฝึกปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาน้ำจืด และการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายสินค้า ณ เทศบาลตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จำนวนผู้เข้าอบรม 17 คน

วิทยากรโดย

1. อาจารย์สุภัทรชา ธุระกิจ ตำแหน่งอาจารย์ประจำสาขาสัตวศาสตร์ และประมงอาจารย์อนิตา ประดาอินทร์

2. ตำแหน่งอาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจ (การตลาดและการตลาดดิจิทัล)

 

1. เพราะเหตุใดถึงต้องไปให้ความรู้ (ปัญหาเทคโนโลยีที่เข้ามาของรับ)

           เนื่องจากในพื้นที่บริเวณชุมชน ตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำหลากหลายชนิด แต่ในบางครั้ง สัตว์น้ำบางชนิดมีราคาขายค่อนข้างต่ำ ชาวบ้านจึงต้องการหาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแปรรูปจากปลา หรือ สัตว์น้ำที่มีอยู่ในท้องถิ่น ประกอบกับปัจจุบันในท้องตลาด มีการจำหน่ายแต่เพียงไส้อั่ว ที่ผลิตมาจากหมู หรือที่เรียกว่า ไส้อั่วหมู การผลิตไส้อั่วปลายังไม่ค่อยนิยมในตลาดมากนัก กลุ่มเกษตรกรต้องการได้สูตรการผลิตไส้อั่วปลา เพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า และช่องทางทางการตลาด ที่จะสามารถช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน ต่อไป

 

2. กระบวนการให้คำปรึกษา

1. เตรียมสูตรไส้อั่วปลาที่เหมาะสม (ทั้งแบบดั้งเดิมและปรับปรุงเพื่อสุขภาพ) และ หาช่องทางการตลาด บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับชุมชน

2. วางแผนสอนทั้งทฤษฎี (พื้นฐานการแปรรูป) และ ภาคปฏิบัติ (ลงมือทำ)

3. ชวนพูดคุยเรื่องการตลาด ความต้องการของผู้บริโภค และรูปแบบการจัดจำหน่ายสินค้า

4. สาธิตและให้ชุมชนลงมือทำไส้อั่วปลา ได้แก่ การเตรียมวัตถุดิบ การเลือกชนิดสัตว์น้ำ การบดปลา อัตราส่วนผสม การยัดไส้อั่ว รวมถึง เทคนิคในการทำไส้อั่วปลา เช่น  การยัดไส้อั่ว การนึ่ง การย่าง เป็นต้น

5. ชิม และ ปรับปรุงสูตรร่วมกัน

6. วิเคราะเคราะห์ลักษณะของไส้อั่วที่เกิดขึ้น เช่น เนื้อสัมผัส รสชาต สีสัน เป็นต้น

7. ให้คำปรึกษาเพิ่มเติม เช่น เลือกชนิดบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และการตั้งราคาขาย การทำการตลาดเบื้องต้น เช่น การขายออนไลน์ การออกงานท้องถิ่น หรือ จำหน่ายเพื่อเป็นของฝากของชุมชน ตำบลวังพร้าว

 

3. ผลการให้คำปรึกษา (ผลที่ได้จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี)

1. ชุมชนมีทักษะในการแปรรูปอาหารเพิ่มขึ้น สมาชิกสามารถทำไส้อั่วปลาได้เอง

2. ชุมชนได้สูตรไส้อั่วปลาที่เหมาะสมกับท้องถิ่น เช่น ได้ใช้วัตถุดิบปลาท้องถิ่น หรือ ปลาพื้นบ้าน ตลอดจน ใช้สมุนไพรหรือเครื่องเทศ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์

3. เกิดผลิตภัณฑ์ต้นแบบของชุมชน ชุมชนได้ผลิตภัณฑ์ไส้อั่วปลา พร้อมแนวทางการพัฒนาต่อ การติด  แบรนด์ การต่อยอดสินค้าโอทอป เป็นต้น

4.ชุมชนได้ช่องทางการเพิ่มรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่น

5. เกิดกระบวนการการร่วมมือของคนในชุมชน ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มอาชีพหรือกลุ่ม



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 22/04/2568 [19084]
2000 18
3 [19082]

ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีจำนวน  1 เดือน ได้แก่ เดือนมีนาคม 2568



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 22/04/2568 [19082]
15000 0
2 [18676]

ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีจำนวน  1 เดือน ได้แก่ เดือนกุมภาพันธ์ 2568



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 10/03/2568 [18676]
15000 0
2 [18675]
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2568
คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ได้นำทีมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ จัดกิจกรรมอบรมเรื่อง การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหารจากวัตถุดิบทางเกษตรในชุมชน (การแปรรูปผักกาดดอง และซอสมะเขื้อเทศเข้มข้น) ณ วิสาหกิจกรรมชุมชนต้นน้ำวัง อ.วังเหนือ จ.ลำปาง โดยมีผู้บริการจำนวน 20 คน
ที่ปรึกษาโดย
อาจารย์วัชรี เทพโยธิน อาจารย์ประจำสาขาอุตสาหกรรมเกษตร


รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 10/03/2568 [18675]
3200 20
2 [18580]

เมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 คลินิกเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา เรื่อง การจัดการตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ณ ณ บจก.เป็นคุณ ฟู้ด โปรดัคท์ จำกัด ณ สาขาย่อย ร้านหมูกินเพลิน ตำบลสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดลําปาง

โดยให้คำปรึกษา

          1. ปรับขนาดบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สะดวกกับงาน delivery

          2. การเลือกรูปแบบตราสินค้า จาก Photoshop

          3. ปรับสีให้เข้าใจกับความต้องการของผู้ประกอบการ และ ปรับให้เข้ากับอาหารที่จำหน่าย

ที่ปรึกษาโดย

1. อาจารย์อนิตา ประดาอินทร์ ตำแหน่งอาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจ (การตลาดและการตลาดดิจิทัล)



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 05/02/2568 [18580]
600 2
2 [18579]

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2568 คลินิกเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา เรื่อง กระบวนการผลิตจากการเลี้ยงไข่ผำ และการพัฒนาตราสินค้าที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์กลุ่ม ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดเยื่อไผ่และแปรรูป ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลําปาง 

โดยให้คำปรึกษา

1. การให้ความรู้การเพาะเลี้ยงไข่ผำ

 2. การวางแผนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอนาคต

3. การถ่ายทอดการเปรียบเทียบการเลี้ยงไข่ผำ อินทรีย์ + แหล่งน้ำธรรมชาติ

4. ถ่ายทอดการพัฒนาตราสินค้าผ่านระบบ Canva

วิทยากรโดย

1. อาจารย์อนิตา ประดาอินทร์ ตำแหน่งอาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจ (การตลาดและการตลาดดิจิทัล)

2. อาจารย์สุภัทรชา ธุระกิจ ตำแหน่งอาจารย์ประจำสาขาสัตวศาสตร์ และประมง



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 05/02/2568 [18579]
600 2
2 [18577]

งานคลินิกเทคโนโลยี เรื่องวิธีการเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยปลาน้ำจืด และการออกแบบตราสินค้าตามอัตลักษณ์ชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้ตำบลแม่กัวะ หมู่ที่ 2ตำบลแม่กัวะ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

เมื่อวันที่ 4กุมภาพันธ์ 2568 คลินิกเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่องวิธีการเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยปลาน้ำจืด และการออกแบบตราสินค้าตามอัตลักษณ์ชุมชน ให้แก่กลุ่มชุมชน ตำบลแม่กัวะ ณ ตำบลแม่กัวะ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่กัวะ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง จำนวนผู้เข้าอบรม 14 คน

วิทยากรโดย

1. อาจารย์อนิตา ประดาอินทร์ ตำแหน่งอาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจ (การตลาดและการตลาดดิจิทัล)

2. อาจารย์สุภัทรชา ธุระกิจ ตำแหน่งอาจารย์ประจำสาขาสัตวศาสตร์ และประมง

1. เพราะเหตุใดถึงต้องไปให้ความรู้ (ปัญหาเทคโนโลยีที่เข้ามาขอรับ)

เนื่องจากกลุ่มต้องการต่อยอดในเรื่องอาชีพ โดยใช้วัตถุดิบในพื้นถิ่นที่สามารถนำมาแปรรูปได้ และยังขาดความรู้ทางด้านการแปรรูป รวมถึงการออกแบบเพื่อจำหน่ายในด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อผู้บริโภคในตลาดท้องถิ่น รวมถึงสินค้าให้เกิดความแตกต่างเพื่อจัดจำหน่าย

2. กระบวนการให้คำปรึกษา

1. นำปลาพื้นถิ่นมาแปรรูปเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่าง

2. ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความเมาะสมทั้งต้นทุนราคา และกลุ่มเป้าหมาย

3. ผลการให้คำปรึกษา (ผลที่ได้จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี)

กลุ่มมีสมาชิกที่จะนำไปต่อยอดในการจำหน่ายจริง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ10 ของสมาชิกที่เข้าร่สมกิจกรรม



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 05/02/2568 [18577]
2280 14
2 [18575]

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีย้อนหลังจำนวน  4 เดือน ได้แก่ เดือนตุลาคม 2567 เดือนพฤศจิกายน 2567 เดือนธันวาคม 2567 และเดือนมกราคม 2568



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 05/02/2568 [18575]
60000 0