2568 โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [18921]

คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้ดำเนินการจ้างเจ้าหน้าที่ประจำคลินิกเทคโนโลยี โดยสัญญาแบบจ้างเหมาบริการเป็นระยะเวลา 12 เดือนๆละ 15,000 บาท ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2567 เพื่อประสานงานและติดตามการดำเนินงานในคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

กิจกรรมที่ 1 คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการย้อมผ้าด้วยสีครั่งจากธรรมชาติ  ภายใต้โครงการ University as Marketplace และโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืน สู่แพลตฟอร์มออนไลน์

ครั่ง คือ แมลงครั่ง (Lac insect) มีชื่อวิทยาสาสตร์ว่า Kerria lacca  แมลงครั่งตัวเมียจะสร้างสารสีแดงหรือสีน้ำตาลเข้มที่เรียกว่า “ครั่ง” ครั่งจึงเป็นผลผลิตจากแมลงครั่งตัวเมียที่สร้างไว้เพื่อป้องกันตัวเองและไข่ แมลงครั่งมักอาศัยอยู่บนต้นไม้หลายชนิด เช่น ต้นมะขาม ต้นจามจุรีและต้นกระถินณรงค์ โดยครั่งที่เก็บได้จากแมลงครั่งจะถูกนำมาผ่านกระบวนการเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ

ขั้นตอนการเตรียมเส้นใย/ผ้าฝ้าย

การฟอก/ทำความสะอาดผ้าฝ้าย

นำผ้าฝ้ายลงไปซักในน้ำเย็นให้เปียกทั่วกัน ก่อนนำลงไปแช่โดยค่อยๆกดผ้าฝ้ายให้จ่มน้ำ ต้มต่อไปอีกครึ่งชั่วโมงหลังจากนำผ้าฝ้ายขึ้นมาทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำไปล้าง โดยให้ล้างประมาณ 2- 3 ครั้ง บิดหมาดๆและหลังจากนั้นแช่ผ้าฝ้ายในน้ำเต้าหู้ 1 คืน  (น้ำเต้าหู้เข้มข้น 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 5 ลิตร)

อัตราส่วนน้ำ 20 ลิตร : ผ้าฝ้าย 1 กิโลกรัม  น้ำยาล้างจาน 2 โต๊ะ ผงโซดาซักผ้า 3 ซ้อนโต๊ะ

ขั้นตอนการเตรียมน้ำสีครั่งและการย้อม

ตักน้ำมะขามเปียกที่ต้มจนเดือดใส่ครั่งที่ตำละเอียด ทำการนวดสีจากครั่ง เทน้ำสีครั่งที่นวดได้ลงในกะละมังสแตนเลสทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนสีครั่งหมด กรองน้ำสีครั่งด้วยผ้าขาวบางแล้วนำขึ้นตั้งไฟเคี่ยวต่อ (ใช้กระชอนตักฟองกับยางครั่งออก) จากนั้นนำใบส้มป่อย (ช่วยสีสด) และใบมะเฟือง (ช่วยสีติด) ใส่ลงไปต้มเคี้ยวต่ออีก 1 ชั่วโมง แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางอีกรอบ ใส่สารส้ม 2 ซ้อนโต๊ะ (ทำให้สีสว่างขึ้น) คนให้ละลายจากนั้นเคี่ยวต่อคุมอุณหภูมิให้อยู่ช่วง 50 - 70 องศา   นำผ้าที่เตรียมไว้นำมาย้อมโดยต้มในน้ำสีครั่งนาน 1 ชั่วโมง จากนั้นนำมาผึงลมให้แห้ง จากนั้นค่อยซักทำความสะอาด

ประโยชน์ของครั่ง

อุตสาหกรรมยางทีแชลแลคเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ การทำรองเท้า วัสดุที่ใช้ปูพื้นเบาะอะไหล่รถยนต์

อุตสาหกรรมหมึกพิมพ์นำแชลแลคมาใช้ทำหมึกเขียนกันน้ำได้ ปัจจุบันนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตหมึกพิมพ์ชนิดแห้งเร็วกันน้ำได้

อุตสาหกรรมไม้  ใช้เป็นแชลแลค น้ำยาขัดเหงา  สารมาเคลือบไม้

อุตสาหกรรมยา ใช้ในการเคลือบบเม็ดยาป้องกันตัวยาทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหาร

อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง  ใช้เป็นส่วนผสมในลิปสติก  สีทาเล็บเพิ่มความแวววาวรวมถึงเป็นส่วนผสมในน้ำหอม

 อุตสาหกรรมอาหาร ใช้ในการเคลือบซ็อคโกแลต  ลูกอมฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้เป็นสารเคลือบเพื่อยืดอายุผลไม้ เช่น ส้ม แอปเปิ้ล มะม่วง มะเขือเทศ

 

กิจกรรมที่ 2 คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

สป.อว. ติดตามผลการดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้แก่

-โครงการการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี  แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (TCS) นำเสนอโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยวุฒิ โกเมศ หัวหน้าโครงการ

-โครงการการพัฒนาและส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นบ้านล้านนาวิถีวอแก้ว แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน (BCS) นำเสนอโดย อาจารย์ดร.อังคณา เชื้อเจ็ดตน หัวหน้าโครงการ

-โครงการการพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์มีดของช่างตีมีด ชุมชนบ้านขามแดง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปางแพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน (BCS) นำเสนอโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัทมา อภิชัย หัวหน้าโครงการ

-โครงการยกระดับผลผลิตแปรรูปทางการเกษตร กลุ่ม  ธรรมะรักษาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรและผลผลิตทางการเกษตร ตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง  แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน (BCS)  นำเสนอโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพรัตน์ ติฆะปัญญา หัวหน้าโครงการ

-โครงการหมู่บ้านผักอินทรีย์ ชุมชนหนองช้างคืน แพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (SCI) นำเสนอโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพรัตน์ ติฆะปัญญา หัวหน้าโครงการ

รับการตรวจสอบและคำแนะนำประเมินผลผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อที่ปรับปรุงแก้ไข้และพัฒนาการดําเนินงานได้อย่างเหมาะสม ภายใต้โครงการ "การติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนํา วทน.ฯ"  โดยมี ผู้ทรงคุณวุฒิคณะทำงาน ประกอบด้วย (1) รองศาสตราจารย์ ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติกา เมืองสง มหาวิทยาลัยมหิดล (3) นายอินทราวุธ ฉัตรเกษ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) (4) นายชายกร สินธุสัย (ผู้ทรงคุณวุฒิ) (5) นางสาวลลิตา ไชยมงคล (สป.อว.กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (6) นางสาวเอสา เวศกิจกุล "กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กปว.) (7) นางสาวรัตนากร ฉัตรวัฒนา ผู้ประสานงาน



รายงานโดย นายชัยวุฒิ  โกเมศ วันที่รายงาน 04/04/2568 [18921]
15500 40
1 [18383]

คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้ดำเนินการจ้างเจ้าหน้าที่ประจำคลินิกเทคโนโลยี โดยสัญญาแบบจ้างเหมาบริการเป็นระยะเวลา 12 เดือนๆละ 15,000 บาท ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2567 เพื่อประสานงานและติดตามการดำเนินงานในคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

      คลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยวุฒิ โกเมศ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จัดประชุมชี้แจง อาจารย์และนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่มีความสนใจจะนำเสนอโครงการเพื่อขอรับงบภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ (Zoom) เพื่อกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานและจัดทำแผนการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์และสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไปให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

      คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ร่วมนำเสนอแนวคิดในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน (Pitching) ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดย อ.ดร.เหนือขวัญ บัวเผื่อน และผู้ร่วมวิจัย นำเสนองานวิจัย โครงการการพัฒนากิจกรรมมวยไทยเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อ.เกาะคา จ.ลำปาง และ ผศ.ชัยวุฒิ โกเมศ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และคณะกรรมการคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง  ร่วมรับฟังด้วย เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ (Zoom Meeting) ณ ห้องประชุมสลุงเงินสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง



รายงานโดย นายชัยวุฒิ  โกเมศ วันที่รายงาน 03/01/2568 [18383]
5000 20