2568 โครงการให้คำปรึกษาข้อมูลเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 0
QR Code
รหัสโครงการ
6304
ผู้รับผิดชอบโครงการ
"ผศ.ดร.พูนสุข จันทศิลป 061-295-6151"
หน่วยงาน
มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
ชื่อโครงการ
โครงการให้คำปรึกษาข้อมูลเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
พิกัด
ละติจูด : 16.14075406
ลองติจูด : 103.8808849
ผู้รับผิดชอบ
วัตถุประสงค์
"(1) เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีพัฒนาการให้บริการให้คำปรึกษาและการให้บริการข้อมูล
เทคโนโลยีให้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
(2) เพื่อให้เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีบริหารจัดการเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) เพื่อให้เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีทำงานประสาน เชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ ของ อว. ที่มีอยู่ในพื้นที่"
ตัวชี้วัด
งบประมาณอนุมัติ
220,000
งบประมาณที่ใช้
96,498
งบประมาณที่เหลือ
123,502
ข้อเสนอโครงการ
ยืนยันโครงการ
04/02/2568
ผู้รับบริการ(แผน)
160
ผู้รับบริการ(จริง)
0
ติดตามผล
0
นำไปใช้ประโยชน์
0
มูลค่าทางเศรษฐกิจ
0
ความพึงพอใจ
ปัจจัยนำเข้า
ผลผลิต
แผน
ผล
ผล
ผลลัพธ์
แผน
ผล
ผล
ผลกระทบ
แผน
ผล
ผล
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
2 [18858] |
ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี ประจำเดือน ตุลาคม 2567 ถึง เดือนมีนาคม 2568 (ไตรมาส 1 และ ไตรมาส 2) เดือนละ 15,000 บาท x 6 เดือน = 90,000 บาท รายงานโดย นายสราวุธ ศรีงาม วันที่รายงาน 02/04/2568 [18858] |
90000 | 0 |
2 [18798] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีแก่กลุ่มวิสาหกิจปลูกเห็ดนางฟ้าบ้านดอกไม้วันที่ 26 มีนาคม 2568 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ให้บริการให้คำปรึกษาและถ่ายทอดข้อมูลเทคโนโลยีแก่กลุ่มวิสาหกิจปลูกเห็ดนางฟ้าบ้านดอกไม้ ตำบลดอกไม้ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเพาะเห็ดให้มีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพกิจกรรมในครั้งนี้นำโดย อาจารย์ยุทธพันธ์ คำวัน รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี และอาจารย์ภาสกร เดชโคน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี พร้อมด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมให้คำปรึกษา ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย รัตนสุข, อาจารย์ ดร.นภศูล ศิริจันทร์ และ อาจารย์สรรเพชญ นิลผายในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ทีมผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำและสาธิตกระบวนการ การปลูกเห็ดนางฟ้าในตะกร้า ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะเห็ด รวมถึง เทคนิคการผสมดินปลูก เพื่อให้ได้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดในการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีไปส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิตและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
รายงานโดย นายสราวุธ ศรีงาม วันที่รายงาน 27/03/2568 [18798] |
1357 | 16 |
2 [18686] |
วันที่ 4 มีนาคม 2568 คลินิกเทคโนโลยี ลงพื้นที่สำรวจความต้องการเทคโนโลยี กลุ่มวิสาหกิจผู้ปลูกยางพารา ตำบลอาจสามารถ พบประเด็นปัญหา ดังนี้
- ต้นยางเกิดราดำสงผลให้ต้นยางไม่มีน้ำยาง
- ยางเปลือกแข็งและหน้ายางตาย
- การตรวจค่า PH ดิน เพื่อให้เหมาะกับการใส่ปุ๋ย
- การบำรุงรักษาหลังเปิดหน้ายาง
ทั้งนี้ ผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี จะได้นำประเด็นปัญหาดังกล่าวประสานไปยังผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริการคำปรึกษาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ต้องการเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป
รายงานโดย นายสราวุธ ศรีงาม วันที่รายงาน 13/03/2568 [18686] |
425 | 8 |
2 [18635] |
คลินิกเทคโนโลยี มรภ.ร้อยเอ็ด จัดกิจกรรมบริการให้คำปรึกษาย้อมสีธรรมชาติแก่กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านศรีสว่าง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้จัดกิจกรรมให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีด้านการย้อมสีธรรมชาติ แก่ กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านศรีสว่าง อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด ภายใต้โครงการบริการให้คำปรึกษาข้อมูลเทคโนโลยี ในรูปแบบออนไลน์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกกรณ์ ศิริทิพย์ เป็นผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งได้ให้แนวทางแก้ไขปัญหาสำคัญ เช่นการใช้ใบไม้ที่มีสารแทนนินสูง เช่น กล้วยหรือยูคาลิปตัส แทนนิน (Tannins) เป็นสารประกอบฟีนอลที่พบในพืช เช่น กล้วยหรือยูคาลิปตัส สามารถทำหน้าที่เป็นสารช่วยย้อม (Mordant) โดยจับกับโมเลกุลของสีย้อมและเส้นใยผ้า ทำให้สีติดทนมากขึ้น การปรับอัตราส่วนเส้นไหมและวัตถุดิบให้เหมาะสม
อัตราส่วนของเส้นไหมกับวัตถุดิบ หากไม่สม่ำเสมอ อาจทำให้การดูดซับสีของเส้นใยไม่เท่ากัน การชั่งตวงส่วนผสมให้แม่นยำ และ จับคู่วัตถุดิบให้เหมาะสมกับแต่ละสีการชั่งตวงส่วนผสมให้แม่นยำ เพื่อให้ได้อัตราส่วนของสีย้อมและเส้นใยที่เหมาะสมในทุกครั้งการควบคุมอุณหภูมิและเวลาในการย้อม เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะช่วยให้โมเลกุลของสีแทรกซึมเข้าเส้นใยได้ดีขึ้น แต่หากสูงเกินไป อาจทำให้สีเปลี่ยนหรือซีดจางการจับคู่วัตถุดิบให้เหมาะสม เพราะพืชแต่ละชนิดมีสารออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจต้องปรับสมดุลของสารให้เหมาะสมกับสีที่ต้องการกิจกรรมนี้ช่วยให้ชุมชนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติให้มีคุณภาพดีขึ้น ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ระดับสากล
รายงานโดย นายสราวุธ ศรีงาม วันที่รายงาน 27/02/2568 [18635] |
0 | 1 |
2 [18573] |
คลินิกเทคโนโลยี ม.ราชภัฏร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา “กลุ่มวิสาหกิจผักแปลงใหญ่” พัฒนาการตากวัตถุดิบและการทอดเพื่อการแปรรูป27 มกราคม 2568 – ช่วงบ่าย คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ให้บริการคำปรึกษาแก่ กลุ่มวิสาหกิจผักแปลงใหญ่ บ้านหินตั้ง ตำบลโนนรัง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ตามคำร้องที่กลุ่มได้ส่งผ่านช่องทางออนไลน์ เกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการ “ตากวัตถุดิบและการทอดเพื่อการแปรรูป” ให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ตลาดการลงพื้นที่ในครั้งนี้ นำโดย อาจารย์ภาสกร เดชโค้น ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ร่วมด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอนงค์ ภูสีฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าว• อาจารย์ ดร.ชินานาถ ไกรนารถ ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชไร่พืชสวนทีมผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำปรึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับการจัดการกระบวนการผลิต ทั้งการเลือกใช้เทคนิคการตากวัตถุดิบให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและวัตถุดิบ ตลอดจนแนะนำแนวทางการทอดเพื่อลดการสูญเสียคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีคุณภาพความร่วมมือในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ในการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนและวิสาหกิจท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของคนในพื้นที่อย่างยั่งยืน
รายงานโดย นายสราวุธ ศรีงาม วันที่รายงาน 04/02/2568 [18573] |
2358 | 20 |
2 [18571] |
คลินิกเทคโนโลยี ม.ราชภัฏร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา “กลุ่มวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์บ้านโนนค้อ” แก้ปัญหาและพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าว
27 มกราคม 2568 – คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ให้บริการคำปรึกษาแก่ กลุ่มวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพบ้านโนนค้อ ตำบลขี้เหล็ก อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อตอบสนองคำร้องที่กลุ่มได้ส่งผ่านช่องทางออนไลน์ เกี่ยวกับปัญหาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าว และการแก้ไขปัญหา “ผงชงดื่มข้าวสูตรงาดำมีกลิ่นหืน”การลงพื้นที่ในครั้งนี้ นำโดย อาจารย์ภาสกร เดชโค้น ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี พร้อมด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอนงค์ ภูสีฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าว• อาจารย์ ดร.ชินานาถ ไกรนารถ ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชไร่พืชสวนทีมผู้เชี่ยวชาญได้ร่วมวิเคราะห์ปัญหา พร้อมแนะนำแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ลดกลิ่นหืน และเสริมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและความน่าสนใจในตลาด รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแปรรูปข้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคตลอดจนแนะนำแนวทางการจัดการโรงเรือนเบื้องต้นเพื่อเตรียมการเข้าสู่การขอรับรองมาตรฐาน อย.เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคการลงพื้นที่ครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดในการสนับสนุนชุมชนเกษตรกรรมและวิสาหกิจท้องถิ่น ด้วยการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในพื้นที่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
รายงานโดย นายสราวุธ ศรีงาม วันที่รายงาน 04/02/2568 [18571] |
2358 | 2 |
2 [18568] |
16 ตุลาคม 2567 – คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ให้บริการคำปรึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี ณ ร้านราชาขนมจีน ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อแก้ไขปัญหาเส้นขนมจีนที่ผลิตขึ้นมีสีเหลืองผิดปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพและยอดขายของผลิตภัณฑ์ปัญหาเส้นขนมจีนเปลี่ยนสีเป็นอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและสร้างความเสียหายให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ทีมงานจากคลินิกเทคโนโลยีได้เข้าไปวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต หรือสภาพแวดล้อมในการผลิต และได้นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม เช่น การปรับปรุงกระบวนการผลิต การเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และการควบคุมสภาพแวดล้อมในการผลิตให้ถูกสุขลักษณะ
รายงานโดย นายสราวุธ ศรีงาม วันที่รายงาน 04/02/2568 [18568] |
0 | 2 |
2 [18567] |
วันที่ 16 ตุลาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่โรงเรียนโนนแท่นพิทยาคม เพื่อให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดการระบบน้ำดื่มภายในโรงเรียน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ไขปัญหาและปรับปรุงระบบน้ำดื่มให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น คณะทำงานได้ร่วมกันตรวจสอบระบบน้ำดื่มของโรงเรียนอพร้อมทั้งให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มและวิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้นแก่บุคลากรของโรงเรียน เพื่อให้สามารถดูแลระบบน้ำดื่มได้อย่างถูกวิธี
รายงานโดย นายสราวุธ ศรีงาม วันที่รายงาน 04/02/2568 [18567] |
0 | 1 |