2568 ศูนย์ประสานงานและบริการให้ค าปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 0
ผล
ผล
ผล
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
2 [18923] |
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยของเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโปโล ต้นทุนการผลิตเริ่มจากการเตรียมบ่อ การใส่ปูนขาว การใช้เกลือเพื่อปรับสภาพน้ำ ผงออกซิเจน น้ำมันพืชเก่า ค่าพันธุ์ปลา ปั้มลมไฟฟ้า อาหารปลาดุกตามประเภทของอายุปลาดุก ร่วมกับการใช้ไก่บด มีต้นทุนในการเลี้ยงเบื้องต้นในรอบปี ดังนี้ ต้นทุนเริ่มแรก (ขุดบ่อ, อุปกรณ์, ปั้มน้ำ) 163,000 บาท ต้นทุนค่าดำเนินการ (พันธุ์ปลา, ค่าแรง, ค่าอาหาร) 549,860 บาท รายรับจากการขายปลาดุก 672,000 บาท กำไรหักค่าใช้จ่าย 85,740 บาท เกษตรกรเริ่มเลี้ยงปลาในช่วงกันยายนไปจนถึงช่วงมกราคมโดยเกษตรกรวางแผนเพื่อให้ขายผลผลิตในช่วงเทศกาลปีใหม่เนื่องจากมีความต้องการบริโภคสูง โดยตลาดส่วนใหญ่ส่งให้กับพ่อค้าคนกลางที่รับซื้อที่หน้าฟาร์ม มีผลผลิตบางส่วนที่ส่งให้ห้างแม็คโครและตลาดสด ปัญหาที่เกษตรกรพบ ได้แก่ ลูกปลาปรับตัวไม่ได้ ไม่สามารถจัดการคุณภาพน้ำในบ่อได้ โรคปลาดุก และศัตรูของปลาดุก รายงานโดย ผศ.ดร.กีรวิชญ์ เพชรจุล วันที่รายงาน 04/04/2568 [18923] |
0 | 15 |
2 [18922] |
ปัจจุบันจังหวัดกาฬสินธุ์มีพื้นที่การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามทั้งหมด จำนวน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยางตลาด อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอห้วยเม็ก อำเภอหนองกุงศรี อำเภอกมลาไสย อำเภอคำม่วง และอำเภอเขาวง โดยมีพื้นที่ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามรวมทั้งหมด 7,630ไร่ มีบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามทั้งสิ้น จำนวน 4,908 บ่อ และมีเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามทั้งสิ้น จำนวน 1,141 ราย ในปัจจุบันการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ประสบกับปัญหาเป็นอย่างมาก เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามหลายรายต้องล้มเลิกกิจการไป เพราะประสบปัญหาการเลี้ยงขาดทุนเนื่องมาจากอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งต่ำ เลี้ยงกุ้งไม่โต ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนาน ไม่คุ้มกับราคาค่าอาหาร อัตราการอดตายต่ำ ปัญหาโรคระบาด กุ้งแคระเกร็น สารเคมีตกค้างในกุ้งก้ามกราม ตลอดจนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ในขณะที่ตลาดและความต้องการของผู้บริโภคกุ้งก้ามกรามมีมากขึ้น ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ปัญหาพันธุ์กุ้งก้ามกรามที่ทำให้ผลผลิตลดลง น้ำไม่เพียงพอ คุณภาพน้ำไม่ดีในช่วงหน้าแล้ง ราคาอาหารกุ้งที่สูงเกินไป และปัญหาเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามยังไม่มีกลุ่มหรือวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามจังหวัดกาฬสินธุ์ที่เป็นหลักแหล่งและแน่นอน ทำให้เกิดปัญหาราคาลูกกุ้งก้ามกรามที่ซื้อจากพ่อค้าคนกลางหรือบริษัทจำหน่ายลูกกุ้ง ราคากุ้งที่จับขายและราคาอาหารกุ้งก้ามกรามไม่แน่นอน มีอัตราการผันแปรสูงมาก ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามประสบปัญหาขาดทุน รายได้ไม่คุ้มรายจ่าย ต้องล้มเลิกกิจการไปเป็นจำนวนหลายราย จากปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องนำนวัตกรรมทางด้านการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเข้าไปพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาเทคนิคการเลี้ยง การตรวจสอบอัตราการเจริญเติบโต การจัดการฟาร์ม และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้ และนำไปผลิตกุ้งก้ามกรามในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อการส่งออกที่ได้มาตรฐาน และพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรนิเวศของจังหวัดกาฬสินธุ์ รายงานโดย ผศ.ดร.กีรวิชญ์ เพชรจุล วันที่รายงาน 04/04/2568 [18922] |
0 | 8 |