2568 โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีเพื่อชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2568 0
ผล
ผล
ผล
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
3 [19311] |
รายงานไตรมาส 3 เรื่อง สรุปค่าใช้จ่ายในสำนักงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีตลอดระยะเวลาโครงการปีงบประมาณ 2568 จำนวน 180,000 บาท ค่าโทรศัพท์สำนักงานคลินิกเทคโนโลยี ตั้งแต่เดือนกันยายน 2567 - มิถุนายน 2568 เป็นจำนวนเงิน 936 บาท ค่าจัดส่งเอกสารราชการทางไปรษณีย์ไปยัง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา ตั้งแต่เดือนกันยายน 2567 - มิถุนายน 2568 จำนวน 182 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 181,118 บาท รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 01/07/2568 [19311] |
181118 | 2 |
3 [19310] |
รายงานไตรมาส 3 เรื่อง การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีเพื่อชุมชน การอบรมเชิงปฏิบัติการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ สู่การพึ่งพาตนเองในกลุ่มสมาชิกเกษตรกรโคกหนองนา สำนักงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดย นายสุระพล เขียวหวาน ผุู้รับผิดชอบโครงการ และทีมวิทยากรเริ่มดำเนินการกิจกรรมโดยเก็บรวบรวมข้อมูล สอบถามปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับเกี่ยวกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จากนั้นทีมงานวิทยากร ได้ประชุมวิเคราะห์ วางแผนการดำเนินโครงการ โดยการจัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุกกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการปลูกผักไอโดรโปนิกส์สำเร็จรูปเพื่อใช้ประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ณ จตุทิพย์ฟาร์มเกษตรพอเพียง โคกกะเทียมลพบุรี ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ วันที่ เวลา หัวข้อการบรรยาย/กิจกรรม 22มิ.ย. 68 08.00-08.45น. ลงทะเบียน 08.45-09.00น. พิธีเปิดโครงการให้ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการ โดย นายสุระพล เขียวหวาน 09.00-12.00น. อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ระบบของการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ การทดสอบสมบัติต่างๆ ของปุ๋ย AB” วิทยากรโดย : ผศ.ดร.วัลย์ลิกา สุขสำราญ และอ.วราวุธ สอาดสิน 12.00-13.00น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-14.30น. อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “วิธีการปลูก การเตรียมชุดปลูก และปุ๋ย” วิทยากรโดย : นายสุชาติ เหลาหอม และน.ส.สุกัญญา จำปาทิพย์ 14.30-16.00น. อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเพาะต้นกล้า และปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ โดยใช้ชุดปลูกไฮโดรโปรนิกส์แบบน้ำนิ่ง” วิทยากรโดย : นายสุชาติ เหลาหอม และน.ส.สุกัญญา จำปาทิพย์ 16.00-16.30น. สรุปผลการอบรม/ตอบข้อซักถาม และปิดการอบรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยเกษตรกรและผู้สนใจ จำนวน 17คน ซึ่งเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 15 คน ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสนใจในการรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ มีความตั้งใจและสนุกสนาน เป็นกันเองของวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรม ในการฝึกปฏิบัติให้มีทักษะในการเรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ การจัดการปุ๋ย AB และการถ่ายกล้าพืชลงกล่องโฟมเป็นอย่างดี โดยจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านข้อมูล พบว่าภาพรวมความพึงพอใจในการให้บริการ ที่ระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 84โดยผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด (100%) คาดว่าสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเป็นไปในลักษณะการเพิ่มรายได้ คิดเป็นร้อยละ 100และการลดรายจ่าย คิดเป็นร้อยละ 71เนื่องจากแต่ละกิจกรรมมีวิธีการและขั้นตอนไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้ง่าย ใช้วัสดุอุปกรณ์และพืชพันธุ์หาง่ายโดยทั่วไป และสามารถปลูกพืชได้หลายหลายเหมาะแก่การบริโภคในครัวเรือน และสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ “โคกหนองนา โมเดล” ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในการพึ่งพาตนเองและสร้างรายได้สู่การสร้างชีวิตที่ยั่งยืนต่อไป งบปรมาณที่ใช้ในกิจกรรรม ครั้งนี้ จำนวน 11,175 บาท รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 01/07/2568 [19310] |
11175 | 17 |
3 [19225] |
รายงานไตรมาส 3 เรื่อง การประชุมชี้แประชุมชี้แจงและเก็บแบบวัดการรับรู้ของผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ตามแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2568 เวลา 10.00 - 11.00 น. ผ่านโปรแกรมออนไลน์ ZOOM ทางไกล สำนักงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดย อาจารย์ ดร.สรายุทธ์ พานเทียน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และนายกฤษดา จำปาทิพย์ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ได้เข้าร่วมการประชุมชี้แจงและเก็บแบบวัดการรับรู้ของผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ตามแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ของสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทางคลินิกได้ทำการตอบบแบบสอบถามและพูดคุยกับทางคลินิกเทคโนโลยีอีกหลายๆที่พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างคลินิกเทคเทคโนโลยีต่อไปครับ รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 23/06/2568 [19225] |
0 | 2 |
3 [19224] |
รายงานไตรมาส 3 เรื่อง โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีเพื่อชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2568 "การบริการให้คำปรึกษาการผลิตและใช้ชีวภัณฑ์สำหรับเพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย " เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2568 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดย อาจารย์ ดร.จิราวรรณ ฉายาวัฒน์ ผู้ประสานงานและวิทยากร ได้ลงพื้นที่รับทราบถึงปัญหาที่ทางชาวบ้านร้องขอมาทางคลินิกเทคโนโลยีเพื่อต้องการลดใช้สารเคมีเพราะมีต้นทุนสูง ทางอาจารย์ ดร.จิราวรรณ ฉายาวัฒน์ ผู้ประสานงานและวิทยากร จึงได้จัดกิจกรรมอบรมโครงการการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีขึ้นมา โดยใช้หัวข้อเรื่อง การผลิตและการใช้สารชีวภัณฑ์สำหรับเพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงมูลนิธิถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสนใจในการรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ตั้งใจและสนุกในการฝึกปฏิบัติให้มีทักษะในการผลิตและใช้ชีวภัณฑ์เป็นอย่างดี โดยจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านข้อมูล พบว่าภาพรวมความพึงพอใจในการให้บริการ ที่ระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92 โดยผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด (100%) คาดว่าสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเป็นไปในลักษณะการลดรายจ่าย คิดเป็นร้อยละ 92 เนื่องจากแต่ละกิจกรรมมีวิธีการและขั้นตอนไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้ง่าย ใช้วัสดุอุปกรณ์และวัตถุดิบที่หาง่ายในครัวเรือน สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและการจัดการศัตรูพืชนำไปสู่การไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับการปลูกพืชผักปลอดภัย ลดการใช้สารเคมี เพิ่มผลผลิตและคุณภาพสินค้าเกษตร ลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร ส่งเสริมการเกษตรและการบริโภคอาหารปลอดภัยและการจำหน่ายสร้างรายได้เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับแนวทางเกษตรอินทรีย์และนโยบายภาครัฐด้านความปลอดภัยอาหาร รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 23/06/2568 [19224] |
11175 | 25 |
3 [19075] |
รายงานไตรมาส 3 เรื่อง การบริการให้คำปรึกษาการผลิตสบู่น้ำมันสมุนไพรระดับครัวเรือน เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2568 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาริสัชชา แสงสุวรรณ ผู้ประสานงานและวิทยากรกลุ่ม ได้จัดกิจกรรมอบรม โครงการบริการให้คำปรึกษาการผลิตสบู่น้ำมันสมุนไพรระดับครัวเรือน ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรอ่างห้วยส้ม ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โดยผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มมีการทำสบู่โดยทำจำหน่ายและทำใช้เองในครัวเรือนโดยใช้พืชที่ปลูกเองในการการแปรรูป เช่น หัวไชเท้า ขมิ้นชัน และทางกลุ่มได้มีการทดลองทำสบู่จากมะขามแต่พบว่าเนื้อสบู่เหลวไม่มีการเกาะตัว นอกจากนี้พบว่ามีมะละกอสุกเป้นจำนวนมากที่บริโภคไม่ทัน ทางคณะจึงได้จัดทำโครงการบริการให้คำปรึกษา โดยจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาสูตรสบู่ที่เหมาะสำหรับการนำมะขามมาใช้ในการผลิต รวมถึงการนำมะละกอสุกมาใช้ผลิตสบู่เพื่อเพิ่มจำนวนสูตรสบู่ให้กับวิสาหกิจรวมถึงเพื่อเป็นรายได้ให้กับทางกลุ่มและสมาชิกต่อไป รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 17/04/2568 [19075] |
11175 | 10 |
2 [18682] |
รายงานไตรมาส 2 เรื่อง การประชุมคณะกรรมการคลินิกเทคโนโลยี วันที่ 4 มีนาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี นำโดย ผศ.ดร.กันยา บาร์นท์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และ อาจารย์ ดร.สรายุทธ์ พานเทียน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ได้จัดการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยีเพื่่อชี้แจงสรุปปิดงบการดำเนินกิจกรรมโครงการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีเพื่อชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2567 ให้การดำเนินงานโครงการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ของทางมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งประชุมการดำเนินงานจัดตั้ง ศุนย์บ่มเพาะ UBI ในอนาคต รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 11/03/2568 [18682] |
1013 | 20 |
2 [18620] |
รายงานไตรมาส 2
ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรายุทธ์ พานเทียน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาราดร งามดี ผู้ประสานงาน และตัวแทนกลุ่มที่ได้รับการบริการลงพื้นที่ให้คำปรึกษา เข้าร่วมรับการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการบริการให้คำปรึกษา ประจำปีงบประมาณ 2567 ของคณะกรรมการ ในรูปแบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม zoom กรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าร่วมการติดตามประเมินผลในครั้งนี้ ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จะนำข้อเสนอแนะของทางกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิไปปรับใช้และพัฒนาเครือข่ายของสำนักงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ต่อไป
รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 18/02/2568 [18620] |
0 | 8 |
2 [18619] |
รายงานไตรมาส 2 ในวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2568 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาราดร งามดี ผู้ประสานงานและวิทยากร ได้จัดกิจกรรมอบรม โครงการบริการให้คำปรึกษา เรื่อง การอัพสกิล (upskill) เทคนิคการวิเคราะห์สารปนเปื้อนในน้ำด้วยเทคนิคสเปกโตรสโคปี ให้แก่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 7 จังหวัดสระบุรี ณ ห้อง 3/106 ห้องเครื่องมือกลาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ผู้ที่ได้รับอบรมมี จำนวน 3 คน ทั้ง 3 คน ได้รับความรู้ทางด้านการวิเคราะห์น้ำและจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในน้ำให้แก่พื้นที่ชุมชน ที่ทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 7 จังหวัดสระบุรี เป็นผู้รับผิดชอบต่อไป รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 18/02/2568 [18619] |
2400 | 3 |
1 [18331] |
รายงานไตรมาส 1 เรื่อง: การศึกษาดูงานโครงการ "ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจชุมชน (UBI)" ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 สำนักงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธาสินี ศิริโภคาภิรมย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา (ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี) อาจารย์ ดร.สรายุทธ์ พานเทียน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และนายกฤษดา จำปาทิพย์ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ได้เข้าร่วมการศึกษาดูงานโครงการ "ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจชุมชน (UBI)" เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้แก่บุคลากรด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัตถุประสงค์ของการศึกษาดูงาน
เนื้อหาสำคัญที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาดูงาน
รายงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงผลการศึกษาดูงานและแนวทางในการนำไปพัฒนาโครงการในอนาคตของมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 02/01/2568 [18331] |
0 | 3 |