2568 บริการให้คาปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
3 [19264]
วันอังคาร ที่ 27 พฤษภาคม 2568
 
              คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับ องค์การบริหารงานส่วนตำบลคลองสาม ได้จัดอบรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้พิการ ผู้ดูแลคนพิการ คนในครอบครัวคนพิการ และอาสาสมัครสารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ อบต.คลองสาม เพื่อเป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพ รวมถึงการสร้างรายได้เสริมและอาชีพเสริม เพื่อให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยได้ทำการฝึกอบรมการทำขนม จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่
 
              1. กิจกรรมฝึกอบรมการทำลูกชุบพร้อมบรรจุภัณฑ์
              2. กิจกรรมฝึกอบรมการทำคอนเฟรกคาราเมลพร้อมบรรจุภัณฑ์
 
     โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ จำนวน 4 ราย ดังนี้
           
              1. ผศ.ดร.ณัฐชรัฐ แพกุล    คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
            2. ผศ.อุจิตชญา จิตรวิมล        คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
            3. ผศ.อรุณวรรณ อรรถธรรม              คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
            4. ผศ.ดุสิต บุหลัน                             คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
 
      ทั้งนี้ มีการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 
           
             1. ผลิตภัณฑ์ลูกชุบ
          2. ผลิตภัณฑ์คอนเฟรกคาราเมล
 
            โดยผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ เป็นผู้ดูแลคนพิการในพื้นที่ อบต.คลองสาม รวมถึงอาสาสมัครสารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อบต.คลองสาม ให้ความสนใจกับโครงการในครั้งนี้มาก ซึ่งจากการพูดคุยกับผู้เข้าร่วมอบรมล้วนบอกว่า เป็นโครงการที่ดีมาก เนื่องจากได้รับความรู้ และเป็นแนวทางในการสร้างรายได้เสริม เพื่อให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น รวมถึงมีความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์การทำขนมได้ด้วยตัวเอง 


รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 27/06/2568 [19264]
36000 100
3 [19221]

วันที่ 8 พฤษภาคม 2568

นายศุภชัย ใจสมุทร  ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง อว. ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้าน อววน. ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีโดยมีนายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สป.อว. พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ,สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) , องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) , สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) , สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) ร่วมลงพื้นที่

ช่วงเช้า ณ หอประชุมราชมงคล

เริ่มต้นด้วยกิจกรรม Morning-Talk การสนทนาประเด็นการนำงานด้าน อววน. พัฒนาจังหวัดปทุมธานีร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย และหน่วยงานในพื้นที่ โดยมีประเด็นในการพัฒนามหาวิทยาลัยและจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้และนวัตกรรม 6 ด้าน ประกอบด้วย

- ด้านที่ 1 ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน

- ด้านที่ 2 การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรม

- ด้านที่ 3 การสร้างศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและระบบนิเวศการพัฒนาท้องถิ่น

- ด้านที่ 4 การสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

- ด้านที่ 5 การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

- ด้านที่ 6 การสร้างนวัตกรรมทางสังคม นำมาสู่การเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและสามารถขยายผลเป็นต้นแบบสู่ระดับภูมิภาคได้อย่างแท้จริง

จากนั้นได้รับชมการแสดงรำไทยประยุกต์ชุดนวัตภูษา (ผ้า) ใยกล้วย โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ และรับชมการนำเสนอผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ่านชุดการแสดงแฟชั่นโชว์ โดยคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

นายองค์รักษ์ ทองนิรมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้กล่าวต้อนรับ และกล่าวถึงนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างทั่วถึง, การลดความเหลื่อมล้ำ และการพัฒนาที่ยั่งยืน

          รศ.ดร.สมหมาย ผิวสะอาด รักษาราชการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวต้อนรับ และกล่าวถึงนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนานโยบายของรัฐบาล โดยมหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนพันธกิจ เพื่อพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้นโยบาย “อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาพื้นที่” ของกระทรวง อว. และมุ่งมั่นในการเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อพื้นที่” โดยมีบทบาททั้งในด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย (MSMEs) ตลอดจนการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดปทุมธานีอย่างรอบด้าน และยังให้ความสำคัญกับการพัฒนางานวิจัยเชิงประยุกต์และนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง

          ทั้งนี้ พล.ต.ท.โทคำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง กล่าวรายงานศักยภาพ จุดเด่น ความเข้มแข็งของพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และการผลักดันจังหวัดสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ โดยจังหวัดปทุมธานีถือเป็น “ขุมทองของเกษตรกร” ที่มีความเข้มแข็งด้านเกษตรกรรมคุณภาพ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะมาใช้เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และสร้างรายได้ที่มั่นคง ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่สามรรถยกระดับสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านเกษตรสมัยใหม่

          จากนั้น นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง อว. ได้กล่าวมอบนโยบายการขับเคลื่อน อววน. ให้กับคณะผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาที่เข้าร่วมงาน โดยได้กล่าวว่า “บทบาทของมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนจากผู้ให้ความรู้เป็นผู้ร่วมสร้างความรู้ เปลี่ยนจากแหล่งผลิตบัณฑิตเป็นพี่เลี้ยงของชุมชน และเปลี่ยนจากหน่วยงานทางวิชาการเป็นพลังเปลี่ยนพื้นที่ให้มีอนาคตร่วมกัน”

“เราคาดหวังการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่แค่การผลิตบัณฑิต แต่คือการผลิตคนที่พร้อมจะอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลง”

“เราต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ที่สร้างนวัตกรรมที่ใช้ได้จริง เป็นแหล่งเรียนรู้เปิดกว้างสำหรับทุกวัย และเป็นระบบการศึกษาที่เปิดให้คนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตจากทุกที่ ทุกเวลา”

“เราต้องเปลี่ยนห้องเรียนจากการนั่งฟังบรรยายไปสู่การลงมือทำ เปลี่ยนจากความรู้ที่อยู่ในตำราสู่ความรู้ที่ใช้ได้ในชีวิตและการทำงาน และเปลี่ยนจากการเรียนเพื่อสอบสู่การเรียนเพื่ออนาคต”

           นอกจากนี้ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง อว. ได้ให้เกียรติ เยี่ยมชมบูธนิทรรศการและผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านการพัฒนาและยกระดับด้วย อววน. จากมหาวิทยาลัย จำนวน 30 บูธ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายผู้ประกอบการ / วิสาหกิจชุมชน / SME / ภาคเอกชน และหน่วยงานในสังกัด อว./ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 20/06/2568 [19221]
20000 400
3 [19216]
วันศุกร์ ที่ 7 มีนาคม 2568
              คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับ องค์การบริหารงานส่วนตำบลคลองสาม ได้จัดอบรม ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่ อบต.คลองสาม จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 
             1.บรรยาย เรื่อง พืช ผัก สมุนไพรเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุ 
             2.แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม เรื่อง ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ 
              โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ จำนวน 4 ราย ดังนี้
             1. ดร.ภญ.ภัทรานุช  เอกวโรภาส   คณะการแพทย์บูรณาการ
             2. พท.ป.สรัญญา  ชะงัดรัมย์         คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
             3. พท.ป.ชลิตรา  วงษ์นุ่ม              คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
             4. พท.ป.กัลยา  อินโด                  คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
             ทั้งนี้ มีการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 
            1.ผลิต ผลิตภัณฑ์เทียนหอมตะไคร้
            2.ผลิต ผลิตภัณฑ์แชมพูอัญชัน 
            ผู้เข้ารับการอบรมซึ่งส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงอายุในพื้นที่ อบต.คลองสาม รวมถึงผู้เข้าโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ ให้ความสนใจกับโครงการครั้งนี้มาก ซึ่งจากการพูดคุยกับผู้เข้าร่วมอบรมล้วนบอกว่า เป็นโครงการที่ดีมากเนื่องจากได้รับความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตัวเอง รวมถึงมีความรู้เรื่องการผลิตผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติได้ด้วยตัวเอง 


รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 18/06/2568 [19216]
20000 80
3 [19215]
วันพุธ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568
           คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี เข้ารับการตรวจติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน "โครงการ บริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมธัญกาฬ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ48 พระชันษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
        รายชื่อคณะผู้ตรวจติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 
1.ผศ.ดร.โชติกา  เมืองสง                  มหาวิทยาลัยมหิดล  
2.ดร.ภัทรา  เสมอวงษ์                       มหาวิทยาลัยมหิดล  
3.นางสาวรัตนากร  ฉัตรวัฒนา            มหาวิทยาลัยมหิดล  
4.อาจารย์สมศักดิ์  พลอยพานิชเจริญ  ผู้ทรงคุณวุฒิ  
5.นางสาวณัฎฐพัชร์ ธรรมทักษ์           สำนักงานปลัดกระทรวง อว.
6.นางสาวลลิตา  ไชยมงคล               สำนักงานปลัดกระทรวง อว.
         ทั้งนี้คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี นำโดย ผศ.ดร.ไฉน  น้อยแสง คณบดีคณะการแพทย์บูรณาการ/รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี นำเสนอผลการดำเนินงาน โครงการบริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567      โดยมี นางสาวสุภา  ชัยมานะเดช ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวฮักสนั่นรักษ์ เป็นตัวแทนผู้รับบริการ เข้าร่วมนำเสนอและร่วมตอบคำถามจากผู้ตรวจประเมินโครงการดังกล่าว


รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 17/06/2568 [19215]
16650 15
3 [19080]
             วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568  หน่วยปฏิบัติการส่วนหน้า อว.ส่วนหน้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดย รศ.ดร.เกียรติศักดิ์  แสงประดิษฐ์  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมทีมงาน คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ได้เข้าร่วมการประชุมวิพากษ์แผนยุทธศาสตร์แผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลไกการนำ อววน. เพิ่มศักยภาพจังหวัด สู่การจัดตั้ง อว.จังหวัด ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์(Zoom Cloud Meeting) 
             เปิดการประชุมฯ และนำเสนอวัตถุประสงค์ของโครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนากลไกการนำ อววน.เพิ่มศักยภาพจังหวัด โดย นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวง อว.


รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 18/04/2568 [19080]
0 4
3 [19079]
             วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568  คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับ องค์การบริหารงานส่วนตำบลคลองสาม ได้จัดอบรม ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่ อบต.คลองสาม จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 
             1.ยา อาหาร และโภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ 
             2.อาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ 
 
             โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ จำนวน 5 ราย ดังนี้
             1. ดร.ภญ.ภัทรานุช  เอกวโรภาส   คณะการแพทย์บูรณาการ
             2. ผศ.ดร.ณัฐชรัฐ  แพกุล             คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
             3. ผศ.อุจิตชญา  จิตรวิมล             คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
             4. ผศ.ดุสิต  บุหลัน                      คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
             ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมซึ่งส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงอายุในพื้นที่ อบต.คลองสาม ให้ความสนใจกับโครงการครั้งนี้มาก ซึ่งจากการพูดคุยกับผู้เข้าร่วมอบรมล้วนบอกว่า เป็นโครงการที่ดีมากเนื่องจากได้รับความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้สูงอายุ ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องยาและโภชนาการ ต้องการให้มีการจัดอบรมแบบนี้ทุกปี


รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 18/04/2568 [19079]
18000 50
3 [19078]
           วันที่ 3,4,18 กุมภาพันธ์ 2568  คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การนำเสนอแนวทางการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน(Pitching) ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ผ่านระบบ (Zoom Cloud Meetings) 
           ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีข้อเสนอโครงการเข้าร่วมPitching รวม 38 โครงการ


รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 18/04/2568 [19078]
0 35
3 [19076]

วันศุกร์ ที่ 31 มกราคม 2568   

คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ได้จัดกิจกรรม Ted talk ณ ห้อง ISRE ชั้น 6 สำหรับอาจารย์ที่มีความประสงค์ส่งข้อเสนอโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาและยกระดับสินค้าOTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568  โดยทีมงานคลินิกเทคโนโลยีมทร.ธัญบุรี นำโดย  ดร.ไฉน  น้อยแสง  คณบดีคณะการแพทย์บูรณาการ และรองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี และ รศ.ดร.วรินธร  พูลศรี  รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมาในการการส่งข้อเสนอโครงการดังกล่าว รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้กับอาจารย์และนักวิจัยที่ยังไม่เคยส่งข้อเสนอโครงการดังกล่าว ให้ความสนใจมากขึ้น



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 17/04/2568 [19076]
15000 30
2 [18800]

วันอังคาร ที่ 26 พฤศจิกายน 2567  คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี  ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ  เพื่อชี้แจงแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการ การพัฒนาและยกระดับสินค้าOtop ด้วย วทน.(ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568  ณ ห้อง RMUTT Innovation Research Entrepreneur ชั้น 6 สำนักงานอธิการบดี มทร.ธัญบุรี โดยมีนักวิจัยสนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเป็นจำนวน 35 ราย 



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 27/03/2568 [18800]
6000 40
2 [18799]

วันที่ 27,28,29 พฤศจิกายน 2567  คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี เข้าร่วมนำเสนอข้อเสนอโครงการ(Pitching)  เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2568 โดยมีอาจารย์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นผู้นำเสนอ ได้แก่

            1. รศ.ดร.บุณฑริกา  ทองดอนพุ่ม 

            2.ผศ.ดร.เยาวรัตน์  วงศ์ศรีสกุลแก้ว 

            3.ดร.พีรพงศ์  งามนิคม



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 27/03/2568 [18799]
15000 3
2 [18634]

วันที่ 15 มกราคม 2568  คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม ได้ดำเนินโครงการแนะนำ และให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพและการลงทุนให้กับประชาชนตำบลคลองสาม โดยการถ่ายทอดเทคโลโลยีเรื่อง การออกแบบโปสเตอร์โปรโมทสินค้าด้วยแอปพลิเคชัน Canva และ TikTok ถ่ายคลิปโปรโมทสินค้า) วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้รับความรู้และทักษะด้านการตลาดที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 25/02/2568 [18634]
15000 50
2 [18633]
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567  คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี  เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ประกอบการและแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 
 


รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 25/02/2568 [18633]
0 20