2567 การเพิ่มมูลค่าทางการตลาดแก่เฝือกไม้ไผ่เพื่อเชื่อมโยงเป็นกิจกรรมสำหรับการจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านสามัคคีธรรม    0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17582]

กิจกรรมที่ 4 การปรับปรุงที่พักหรือโฮมสเตย์ตามมาตรฐานการท่องเที่ยวชุมชน สะอาด ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย

ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ การปรับปรุงภูมิทัศน์ธรรมชาติ และ การจัดบ้านให้เป็นที่พักโฮมสเตย์

1) อ่างเก็บน้ำ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ด้วยการตัดหญ้า และ เก็บขยะ ซ่อมแซมซุ้มที่ชำรุดให้กลับสู่สภาพดี

 

ภาพผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านร่วมมือกันปรับปรุงภูมิทัศน์อ่างเก็บน้ำเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวปลอดภัย

 

ภาพภายหลังการเก็บขยะ และตัดหญ้า เพื่อความสะอาด ห่างไกลจากสัตว์มีพิษ

 

2) ปรับปรุงซ่อมแซม ทาสี ป้ายสถานที่ท่องเที่ยวให้สวยงาม

ภาพปรับปรุงซ่อมแซม ทาสี ป้ายสถานที่ท่องเที่ยวให้สวยงาม

 

 

3) นัดหมายร่างกำหนดการเพื่อสร้างโปรแกรมการท่องเที่ยวโดยผู้นำชุมชนและชาวบ้านสามัคคีธรรม

ภาพภายหลังการปรับภูมิทัศน์ ทางผู้นำชุมชนร่วมกันร่างกิจกรรมการท่องเที่ยว

 

 

จากกิจกรรมนี้ ทางคณะทำงานพร้อมผู้ชำชุมชนร่วมกันร่างโปรแกรมสำหรับการการท่องเที่ยวชุมชนได้ 1 โปรแกรม แรกที่มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของคนในชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติที่มี

โปรแกรมท่องเที่ยวบ้านสามัคคีธรรม 2 วัน 1 คืน

วันเสาร์ ที่ 27 – วันอาทิตย์ ที่ 28 กรกฎาคม 2567

(สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน 8 ท่าน)

วันที่

เวลา

รายการ

27 กรกฎาคม 2567

09.00 - 10.00 น.

ร่วมต้อนรับนักท่องเที่ยว (Welcome Drink ดื่มน้ำสมุนไพรจากแก้วไม้ไผ่) ณ ศูนย์วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านฯ

10.00 – 10.30 น.

แนะนำชุมชนให้นักท่องเที่ยวรู้จัก

10.30 – 12.00 น.

สักการะหลวงพ่อแสงทอง วัดสามัคคีธรรม ปางอุ๋ง ไทรโยค 

12.00 – 13.00 น.

รับประทานอาหารกลางวัน  (ทานอาหาร มื้อ 1)

13.00 – 15.00 น.

กิจกรรมสานเฝือก ชมและเลือกซื้อสินค้าชุมชน

15.00 น.

รับประทานอาหารว่าง (มื้อ 1)

15.00 – 15.20 น.

ไหว้พระขอพร ศาลพุน้ำร้อน ไหว้ศาลพ่อใหญ่ ศาลเจ้าแม่ตะเคียน ชมต้นตะเคียนสามเส้าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน และศึกษาประวัตินายพราน

15.20 – 17.00 น.

กิจกรรมชมเส้นทางธรรมชาติ เขาหินปูน สัมผัสพืชพันธุ์ท้องถิ่นไทรโยค (กิจกรรมเดินป่า) หรือ กิจกรรมร่วมเป็นส่วนหนึ่งการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำในชุมชนบ้านสามัคคีธรรม (กิจกรรมทำฝาย)

17.00 – 18.00 น.

กิจกรรมชมปางอุ๋ง (ถ่ายภาพและกิจกรรมปั่นเรือถีบชมธรรมชาติในอ่างเก็บน้ำ)

18.00 – 20.00 น.

รับประทานอาหารเย็น(ทานอาหาร มื้อ 2) (ปูเสื่อทานอาหารปิ่นโตกับอาหารพื้นบ้าน ณ ปางอุ๋ง ไทรโยค)

เลือกซื้อสินค้าชุมชน และชุมชนใกล้เคียง ชมการแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง ชุมชนบ้านบ้องตี้ และงานเลี้ยง คาราโอเกะ

20.00 น

เข้าพักโฮมสเตย์และพักผ่อนตามอัธยาศัย

28 กรกฎาคม 2567

06.00 – 09.00 น.

ร่วมกิจกรรมทำอาหารเช้า ณ โฮมสเตย์ (กิจกรรมให้นักท่องเที่ยวทำอาหารมาร่วมกับโฮมสเตย์ 1 ชุด โดยอาหารหลักๆ ชุมชนจะเป็นผู้จัดให้)

และรับประทานอาหารเช้า (ทานอาหาร มื้อ 3)

09.00 – 11.00 น.

กิจกรรมทำขนมดอกดิน ณ ปางอุ๋ง ไทรโยค

11.00 น.

รับประทานอาหารว่าง (มื้อ 2)

11.00 – 12.00 น.

ขอบคุณและรับฟังความประทับใจนักท่องเที่ยว

12.00 น.

นักท่องเที่ยวเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

 

4) ผู้นำชุมชนพาคณะทำงานสำรวจพื้นที่เพื่อทำเป็น โฮมสเตย์ ต้อนรับนักท่องเที่ยวตามโปรแกรมดังกล่าวข้างต้น

ภาพบ้านลุงทวีศักดิ์ และ ป้าต้อย ช่างตัดผมประจำหมู่บ้าน

ลุงทวีศักดิ์ มีบ้าน 3 หลัง ในพื้นที่เดียวกัน หลังที่ 1 บ้านลุงทวีศักดิ์เอง ว่างชั้นบน โล่งทั้งหลัง และมีห้องแอร์ 1 ห้อง เดิมเป็นห้องของลูกชาย

แต่ลูกชายไปทำงานและมีครอบครัวอยู่ต่างจังหวัดจึงกลายเป็นห้องว่างและปรับปรุงเพียงแค่ทำความสะอาด สามารถให้เข้าพักได้

 

 

ภาพบ้านคุณจันทรา มะเจียกจร 

เป็นบ้านไม้ 2 ชั้น ว่างทั้งหลัง โดยที่ชั้นบนมี 1 ห้องน้ำ โล่งสบาย สามารถต้อนรับนักท่องเที่ยวมากกว่า 50 คน

ส่วนชั้นล่าง เป็นปูน มีแอร์ 1 ห้อง ทางทีมทำการปรับปรุงโดยทาสี และซ่อมแซมฟ้าเพดานด้านล่างพร้อมกับทำความสะอาดใหม่ 

 

 

ภาพบ้านคุณแดง หรรษา บ้านไม้ 2 ชั้น ต่อเติมปูนชั้นล่าง

บ้านหลังนี้ไม่มีคนอยู่ เนื่องจากลูกๆ ไปทำงานต่างจังหวัด สามารถทำความสะอาดสามารถใช้เป็นห้องพัก โฮมสเตย์

 

ภาพแผนที่ในชุมชนบ้านสามัคคีธรรม

 

          ทั้งโปรแกรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นจากความรู้ของคนในชุมชนและประสบการณ์จากการศึกษาดูงาน ณ โฮมสเตย์ไทรน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รางวัลระดับอาเซียน)

กำหนดเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวและแผนที่ท่องเทียวของชุมชนบ้านสามัคคีธรรม ดังภาพข้างต้น

          ท้ายที่สุดแล้วเพื่อนำการท่องเที่ยวมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชีวิตชีวาให้คนในชุมชนลุกขึ้นมาทำกิจกรรมมาร่วมกันกำหนดบทบาทหน้าที่ใหม่เพื่อนำไปสู่แผนการเพิ่มรายได้

จากการทดลองเปิดรับนักท่องเที่ยว ชุดที่ 1 ตามโปรแกรมและเส้นทางการท่องเที่ยวที่กำหนด รวมถึงรายได้ ต้นทุน ผลกำไรที่เกิดขึ้นสามารถแสดงให้เห็นดังรายละเอียดต่อไปนี้

จุดคุ้มทุนและการวางแผนกำไร

คณะทำงานร่วมกับชาวบ้าน บ้านสามัคคีธรรม ช่วยกันคิดจุดคุ้มทุน เพื่อนำไปสู่การตั้งราคาต่อหัว ของนักท่องเที่ยวในแต่ละประเภท หากกำหนดตามโปรแกรมการท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน

ที่ได้จัดเตรียมไว้สามารถจำแนกเป็นต้นทุนแต่ละรายการดังนี้

รายการ

หน้าที่

จำนวน

ต้นทุน (บาท)

1) ผู้นำเที่ยว (ไกด์ชุมชน)

-แนะนำฐานกิจกรรม

5 กิจกรรม @100 บาท

500

2) กิจกรรมสานเฝือก (ราคา/หัว)

-จัดหาวัสดุ

1 ชุด@50 บาท

50

3) ชุดการแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านบ้องตี้

-สร้างความเพลิดเพลินขณะรับประทานอาหารค่ำ

1 ชุด@1,000 บาท

1,000

4) กิจกรรมทำขนมดอกดิน

-จัดเตรียมวัตถุดิบ

1 ชุด@200 บาท

200

5) ค่ารถเช้าเพื่อนำเที่ยว/อำนวยความสะดวก พร้อมน้ำมัน

-จัดเตรียมรถกระบะคอกพร้อมน้ำมัน

1 วัน@500 บาท

500

6) ค่าอาหาร มื้อหลัก

-จัดเตรียมอาหาร

3 มื้อ @800

2,400

7) อาหารว่าง

-จัดเตรียมของว่าง

1 มือ @300

200

8) กิจกรรมเดินป่า (ราคา/หัว)

-พานักท่องเที่ยวเดินป่า

2 ชั่วโมง@100

200

9) ค่าที่พักโฮมสเตย์ (ราคา/หัว)

-จัดเตรียมบ้านสถานที่ ที่นอนสะอาดปลอดสัตว์มีพิษ เช่น ยุง

6คน@300

1,800

10) ค่าอุปกรณ์ เครื่องเสียง

-จัดเตรียมอุปกรณ์พร้อมห้องประชุม

2 ชั่วโมง@250

500

11) ค่าน้ำมันในการประสานงาน

-เตรียมรถมอเตอร์ไซด์

1ครั้ง@100

100

12) ค่าเช่าเต็นท์

-จัดเตรียมเต็นท์และที่กาง

2@50

100

รวมต้นทุนตามโปรแกรมที่กำหนด

7,550

          ถ้านักท่องเที่ยวมาเที่ยวทั้งสิ้น 8 คน จะมีต้นทุนต่อหัวเท่ากับ 7,550บาท/8คน คือ 943.75 บาท

อย่างไรก็ตาม รายได้ที่เกิดขึ้นถูกกระจายและแจกจ่ายกันอย่างทั่วถึงทุกๆ คนที่เป็นผู้นำในการจัดทำโปรแกรม

อีกทั้งเป็นการดำเนินการครั้งแรก และยินดีที่จะจ่ายไม่เกิน 2,000 บาท/หัว ทำให้เกิดรายได้ทั้งสิ้น 16,000 บาท

กำไรที่ได้รับในกิจกรรมครั้งนี้ 16,000-7,550=8,450 บาท ทำให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่ทุกๆ คนที่มีส่วนร่วม 

 

แผนการดำเนินงานในไตรมาสถัดไป

หากโครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนต่อเนื่องทางคณะทำงานมีแผนการดำเนินงาน ซึ่งเป็นการต่อยอดผลกระทบความสำเร็จและขยายการสร้างรายได้แก่ชุมชนข้างเคียง

โดยก่อนปิดโครงการทางชุมชนบ้านสามัคคีธรรมได้เชิญชุมชนบ้องตี้ มาร่วมถ่ายทอดการแสดงวัฒนธรรมประจำถิ่น โดยนักเรียนโรงเรียนบ้านบ้องตี้ ที่ได้รับการสนับสนุนการเดินทางจากผู้อำนวยการโรงเรียน

ร่วมกับทางคณะทำงานได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาช่วยวิเคราะห์ประเมินศักยภาพชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาในโอกาสใหม่และสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว

 

ตารางที่ แผนการดำเนินงานในปีถัดไป จำแนกเป็นรายไตรมาส

เทคโนโลยี/องค์ความรู้/กิจกรรม

ปีที่ ๓

ค่าใช้จ่าย(บาท)

ผู้รับผิดชอบ

วิธีการ

Q๑

Q๒

Q๓

Q๔

๑๑.การอบรมการสร้างสื่อโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว

 

 

 

 

๕๐,๐๐๐

ผศ.ดร.ธีรพงษ์, ผศ.ดร.พรปวีณ์ และคณะ

การบรรยายและลงมือปฏิบัติ

๑๒.การอบรมเชิงปฏิบัติการการเพื่อสร้างองค์ความรู้จัดทำแผนที่การท่องเที่ยวชุมชนบ้านสามัคคีธรรม

 

 

 

 

๖๕,๐๐๐

ผศ.ดร.พรปวีณ์, ดร.อิทธิโชตน์ และคณะ

การให้คำปรึกษา/การบรรยายและลงมือปฏิบัติ

๑๓.การอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนข้างเคียง

 

 

 

 

๖๕,๐๐๐

ผศ.ดร.พรปวีณ์, ผศ.ดร.ธีรพงษ์ และคณะ

การให้คำปรึกษา/อบรมเชิงปฏิบัติการ

๑๔.การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างแผนการท่องเที่ยวระหว่างชุมชนกับชุมชนข้างเคียง

 

 

 

 

๗๐,๐๐๐

ผศ.ดร.พรปวีณ์, ผศ.ดร.เฉลิมพล และคณะ

การให้คำปรึกษา/อบรมเชิงปฏิบัติการ

สรุปงบประมาณ

๒๕๐,๐๐๐

 

 

 



รายงานโดย นายธนากร  ยุทธพลนาวี วันที่รายงาน 24/09/2567 [17582]
12000 20
3 [16842]

กิจกรรมที่ 1 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการท่องเที่ยวสีขาวสำหรับชุมชน 

วันที่ 12 มิถุนายน 2567 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมที่ 1  76,200 บาท  จำนวนผู้เข้าร่วมรับบริการ 20  คนที่ร่วมเดินทาง  

 

กิจกรรมที่ 2การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน 

วันที่ 13 มิถุนายน 2567 ณ โฮมเสตย์ไทรน้อย ตำบลนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมที่ 2  35,000 บาท  จำนวนผู้เข้าร่วมรับบริการ 20  คนที่ร่วมเดินทาง 

 

กิจกรรมที่ 3 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสินค้าและบริการสำหรับการท่องเที่ยวชุมชน 

วันที่ 14มิถุนายน 2567 ณ โฮมเสตย์ไทรน้อย ตำบลนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมที่ 3  41,000 บาท  จำนวนผู้เข้าร่วมรับบริการ 20  คนที่ร่วมเดินทาง 

 

ความก้าวหน้าโครงการ (เมื่อเทียบกับแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ และผลการดำเนินงานจนถึงวันสุดท้ายที่รายงาน)

1. สรุปจำนวนผู้รับบริการ ผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ไม่ซ้ำเป็นตัวเลข 20 คน

2. สรุปจำนวนผู้รับบริการที่มีการติดตามผล (เป็นตัวเลข) 10 คน

3. จำนวนผู้รับบริการที่นำไปใช้ประโยชน์ (เป็นตัวเลข) 10 คน

4. สรุปร้อยละความพึงพอใจผู้รับบริการ

    ผลการประเมินความพึงพอใจตามระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือ 5 และน้อยที่สุด คือ 1 โดยแบ่งเป็นเกณฑ์การประเมินดังนี้

    ระดับ 1.00-1.800 พึงพอใจน้อยที่สุด

    ระดับ 1.81-2.60 พึงพอใจน้อย

    ระดับ 2.61-3.40 พึงพอใจปานกลาง

    ระดับ 3.41-4.20 พึงพอใจมาก

    ระดับ 4.21-5.00 พึงพอใจมากที่สุด

ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจรวม 3 กิจกรรม

ประเด็น

กิจกรรมที่ 1

กิจกรรมที่ 2

กิจกรรมที่ 3

ค่าเฉลี่ย

1.เนื้อหา

       

a) ระดับความรู้ก่อนเข้ารับการอบรม

2.68

2.79

3.20

2.89

b) ระดับความรู้หลังเข้ารับการอบรม

3.96

4.05

4.24

4.08

2.ทีมวิทยากร

       

a) ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ

4.35

4.29

4.29

4.31

b) เนื้อหาในการถ่ายทอดเป็นที่น่าสนใจ

4.25

4.10

4.49

4.28

c) วิทยากรมีการเตรียมความพร้อม

4.29

4.22

4.38

4.30

d) วิทยากรสามารถตอบคำถามแก่ผู้รับการอบรมได้ดี

4.32

4.19

4.39

4.30

e) เวลาที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้เหมาะสมกับเนื้อหา

3.90

3.80

4.08

3.93

3.การประเมินผู้จัดการอบรม

       

a) มีการต้อนรับ/ชี้แจงรายละเอียดต่อผู้เข้าร่วมอบรม

4.09

4.23

4.18

4.17

b) สถานที่จัดอบรมมีความเหมาะสม

3.99

3.87

4.01

3.96

c) ความเหมาะสมของอาหารและอาหารว่าง

4.55

4.51

4.29

4.45

d) ระยะเวลาในการจัดการอบรม

4.19

3.99

4.04

4.07

ค่าเฉลี่ยรวม

4.19

4.13

4.24

4.18

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

0.193

0.199

0.152

0.162

จากตารางที่ 1 สามารถสรุปได้ว่า ความพึงพอใจในการรับบริการของภาพรวมทั้ง 3 กิจกรรม มีระดับความพึงพอใจเฉลี่ย 4.18 อยู่ในระดับมากและมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเล็กน้อยเท่ากับ 0.162

ทั้งนี้กิจกรรมที่มีระดับคะแนนความถึงพอใจมากที่สุดคือกิจกรรมที่ 3 มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.21

รองลงมาคือกิจกรรมที่ 1 มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.19

และน้อยที่สุดคือกิจกรรมที่ 2 มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.13 ตามลำดับ 

 

 

มูลค่าทางเศรษฐกิจ สรุปรายได้ที่เพิ่มขึ้น หรือค่าใช้จ่ายที่ลดลง (เป็นตัวเลข)

ผู้รับบริการ ไม่มีมีการเปิดบ้านตนเองเป็นโฮมสเตย์ เมื่อได้รับความรู้และมองเห็นโอกาส จึงนำมาสู่การขอรับการสนับสนุนขอเข้าร่วมโครงการ ดังนี้

 

ชื่อ

บทบาทที่สำคัญ

ให้บริการ

รายได้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น

นายทวีศักดิ์ ศรีวิลัย

(พี่ศักดิ์)

-มัคคุเทศก์

-ผู้บรรยาย

มีห้องว่าง 6 ห้อง แต่จะให้เป็นโฮมสเตย์  4 ห้อง

รายได้ต่อปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเดือนละ 1200 บาท

1 ปีมีรายได้ 14,400 บาท

นางผ่อง พึ่งนิล

(พี่แจ่ม)

มีบ้านพักรับรอง / มีห้องน้ำ / มีห้องนั่งเล่น

มีโคกหนองนา-เศรษฐกิจพอเพียง

คาดว่ามีรายได้จากการเยี่ยมชม อย่างน้อย 300 บาท/ครั้ง 3 ครั้งต่อเดือน

1 ปีจะมีรายได้ 10,800 บาท

นางนภษร พรวิลัยเดช

(พี่บุศ)

มีวัตถุดิบสนับสนุนให้ทำอาหารกินเอง

ฐานการเรียนรู้บ่อกุ้ง-บ่อปลา

- มีรายได้จากการเยี่ยมชม อย่างน้อย 300 บาท/ครั้ง 3 ครั้งต่อเดือน

 1 ปีจะมีรายได้ 10,800 บาท

-มีรายได้จากการจำหน่ายวัตถุดิบสำหรับทำอาหาร อย่างน้อย 300 บาท/ครั้ง

 3 ครั้งต่อเดือน 1 ปีจะมีรายได้ 10,800 บาท

นางหรรษา เจริญสุข

(พี่แดง)

ที่บ้านพัก 2 หลัง

มีสมุนไพร / มีเห็ดปลูกเอง

มีห้องว่าง 4 ห้อง

รายได้ต่อปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เดือนละ 1200บาท

1 ปีมีรายได้ 14,400 บาท

นางสาวศนิตา สุดประเสริฐ

(พี่ตุ๊กตา)

รับโทรศัพท์/ปฏิบัติการ/แอดมินหมู่บ้าน/ประสานงาน

(ทำบัญชี)เลขาผู้ใหญ่บ้าน

 

รายได้ อย่างน้อย 300 บาท/ครั้ง 3 ครั้งต่อเดือน

1 ปีจะมีรายได้ 10,800 บาท

นาวสาวสาริกา แซ่ใช่

(พี่ปุ้ย)

มีวัตถุดิบผลไม้สวนผสม

ฐานการเรียนรู้สวนผสมผลไม้

รายได้ อย่างน้อย 300 บาท/ครั้ง 3 ครั้งต่อเดือน

1 ปีจะมีรายได้ 10,800 บาท

นายอนุ แจ่มศรี (พี่นุ)

หลังบ้านมีลานกว้าง มีไลน์การผลิตเฝือกไม้ไผ่ตั้งแต่ต้น-จบกระบวนการ

ฐานการเรียนรู้สานเฝือกไม้ไผ่

รายได้ อย่างน้อย 300 บาท/ครั้ง 3 ครั้งต่อเดือน

1 ปีจะมีรายได้ 10,800 บาท

นายทิวาห์ สุดประเสริฐ

(พี่ทิวา)

ปราชญ์ชุมชน / มัคคุเทศก์

ผู้มีองค์ความรู้ด้าน

-ป่าชุมชน(ประธานป่าลุ่มสุ่ม)

-สมุนไพร ตรีผลา

-ฐานการเรียนรู้เดินป่า

-ฐานการเรียนรู้ทำฝาย/ปลูกป่า

รายได้ อย่างน้อย 300 บาท/ครั้ง 3 ครั้งต่อเดือน

1 ปีจะมีรายได้ 10,800 บาท

นางสาวจันทรา มะเจียกจร

(พี่จันทรา)

ที่บ้านพัก

มีห้องว่าง 3ห้อง

รายได้ต่อปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เดือนละ 900 บาท

1 ปีมีรายได้ 10,800 บาท

นางสาวกรองแก้ว เหมือนเขียว

รับโทรศัพท์/ปฏิบัติการ/แอดมินหมู่บ้าน/ประสานงาน

 

รายได้ อย่างน้อย 300 บาท/ครั้ง 3 ครั้งต่อเดือน

1 ปีจะมีรายได้ 10,800 บาท

รวมรายได้ต่อปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในชุมชน

115,200 บาท/ปี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลผลิตตามข้อเสนอโครงการ (อธิบายผลผลิตที่ได้จากการดำเนินการโครงการ)

- อยู่ระหว่างทดลองและสร้างจุดท่องเที่ยวและที่พักตามความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

 

ผลลัพธ์ตามข้อเสนอโครงการ (อธิบายผลลัพธ์ที่ได้จากผลผลิตที่เกิดขึ้น)

- อยู่ระหว่างทดลองและสร้างจุดท่องเที่ยวและที่พักตามความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

 

ผลกระทบตามข้อเสนอโครงการ(อธิบายผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การจ้างาน)

- อยู่ระหว่างทดลองและสร้างจุดท่องเที่ยวและที่พักตามความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ



รายงานโดย นายธนากร  ยุทธพลนาวี วันที่รายงาน 27/06/2567 [16842]
208000 20