2567 การเพิ่มผลผลิตข้าวและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ชุมชนบ้านเมืองเตา ตำบล เมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม    0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17705]

กิจกรรมที่ 5. ถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีในการเพิ่มปริมาณและการเตรียมพร้อมเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน

ผลการดำเนินงาน :
กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีในการเพิ่มปริมาณและการเตรียมพร้อมเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการในวันที่ 14 มิถุนายน 2567 ต่อจากกิจกรรมที่ 4 โดยคุณอภิญญา ไวแสง กรรมการผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ควีนไรซ์ (ไทยแลนด์) เป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการแปรรูปข้าวและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปข้าวโดยตรง รวมทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกผงชงดื่มผลิตจากข้าวออแกนิคไร้สารพิษเพื่อสุขภาพจากข้าว 3 สี 9 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรียบร้อยแล้ว ในการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการขอรับรองมาตรฐานในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) การขอรับรองมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวมถึงการปลูกข้าวแบบอินทรีย์หรือข้าวออแกนิค เป็นต้น
จำนวนผู้รับบริการ : ผู้นำ/ตัวแทนชุมชน ตำบลเมืองเตา อำเภอ พยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และ ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม
ปัญหา / อุปสรรค : .....................................
แนวทางการแก้ไข : เตรียมความพร้อมชุมชนเพื่อให้มีองค์ความรู้เป็นแนวทางสำหรับการต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่จากการแปรรูปข้าวให้มีมาตรฐานรับรอง
 



รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 26/09/2567 [17705]
40950 50
4 [17704]

กิจกรรมที่ 4. ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตแปรรูปข้าว การบดผงข้าวและการอบแห้ง

ผลการดำเนินงาน :
กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตแปรรูปข้าว การบดผงข้าวและการอบแห้ง เป็นกิจกรรมที่ถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการเพื่อมุ่งเน้นให้ชุมชนได้ทดลองระดมความคิดร่วมกัน ออกแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวต่อยอดสำหรับการพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชนในอนาคตเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชน ซึ่งในกิจกรรมนี้กำหนดวันดำเนินงานในระหว่างวันที่ 10-12 มิถุนายน 2567 โดยทางโครงการได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ คือ คุณอภิญญา ไวแสง กรรมการผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ควีนไรซ์ (ไทยแลนด์) เป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการแปรรูปข้าวและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปข้าวโดยตรง รวมทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกผงชงดื่มเพื่อสุขภาพ Gold Rice จากข้าว 3 สี 9 สายพันธุ์ที่จำหน่ายจริงทั้งในและต่างประเทศ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ในหัวข้อ ดังนี้
1) องค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตแปรรูปข้าว ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ยังไม่มีเงินลงทุนมากนัก ซึ่งได้แนะนำเครื่องบดยาเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ต้นทุนไม่สูงมากนักให้ชุมชนสามารถใช้บดผงข้าวให้ละเอียดได้ในการทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ในช่วงแรก และเมื่อชุมชนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์จนสามารถจำหน่ายสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น จึงค่อยขยายกำลังการผลิตไปในรูปแบบของการใช้เครื่องจักรบดผงแบบอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนที่สูงขึ้น บดผงข้าวได้ละเอียดมากขึ้น ใช้เวลาน้อยลงในอนาคต นอกจากนี้ยังได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปข้าวด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การอบแห้ง การตากแห้ง เป็นต้น เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
2) การบดผงข้าวและการอบแห้งหรือแปรรูปอื่นๆเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยเป็นการใช้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองชิมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว และให้ผู้เข้าอบรมได้ระดมความคิดออกแบบผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากวัตถุดิบข้าวแปรรูปภายใต้ข้อจำกัดความเป็นไปได้ของศักยภาพชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในอนาคต ซึ่งจากการระดมความคิดของผู้เข้าอบรม พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนอาจจะสามารถผลิตได้และน่าจะมีความสอดคล้องกับความต้องการตลาด เช่น ชาข้าว (อาจจะใช้วัตถุดิบจากเมล็ดข้าวหรือส่วนอื่นของต้นข้าวร่วมด้วย) ผงชงดื่มข้าวสมุนไพร และการนำผงข้าวไปใช้เป็นวัตถุดิบในการทำขนม เป็นต้น
จำนวนผู้รับบริการ : ผู้นำ/ตัวแทนชุมชน ตำบลเมืองเตา อำเภอ พยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และ ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม
ปัญหา / อุปสรรค : เป็นขั้นตอนที่เตรียมพร้อมต่อยอดในปีถัดไป
แนวทางการแก้ไข : ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และทดลองให้ผู้เข้าอบรมได้ลองวางแผนและออกแบบเพื่อเป็นแนวทางต่อยอดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวของชุมชนในอนาคต
 



รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 26/09/2567 [17704]
48800 50
4 [17703]

กิจกรรมที่ 3. การถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีในการดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวหลังเก็บเกี่ยว
 
ผลการดำเนินงาน :
กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีในการดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวหลังเก็บเกี่ยว เป็นกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ ดำเนินการในระหว่างวันที่ 4-6 มิถุนายน 2567 โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ทวีทรัพย์ ไชยรักษ์ อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในประเด็นหัวข้อ ดังนี้
1) การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวหลังเก็บเกี่ยว โดยถ่ายทอดองค์ความรู้และให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจและทดลองวางแผนตั้งแต่การก่อนเริ่มเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี เช่นการวางแผนการระบายน้ำออกจากแปลงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว และระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเกี่ยวที่เร็วเกินไป หรือช้าเกินไป จะส่งผลอย่างไรต่อผลผลิต
2) กระบวนการและเทคโนโลยีในการดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวหลังเก็บเกี่ยว ไม่ว่าจะเป็นการลดความชื้นของข้าวหลังเก็บเกี่ยว เช่น การใช้แสงอาทิตย์ กระบวนการตากข้าวในช่วงเวลาต่างๆ การสังเกตลักษณะของข้าวตามระยะเวลาที่ตากแตกต่างกันกับคุณภาพการสี และการป้องกันกันกำจัดแมลงทั้งแบบใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี
จำนวนผู้รับบริการ : ผู้นำ/ตัวแทนชุมชน ตำบลเมืองเตา อำเภอ พยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และ ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม
ปัญหา / อุปสรรค : ช่วงได้รับอนุมัติงบประมาณดำเนินโครงการเป็นช่วงที่ยังไม่เข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยว
แนวทางการแก้ไข : ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้ลองฝึกทดลองทำด้วยตนเองเพื่อให้สามารถนำผลจากการอบรมไปใช้ปฏิบัติจริงได้ในช่วงการเก็บเกี่ยว



รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 26/09/2567 [17703]
41300 50
4 [17701]

กิจกรรมที่ 2. ถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีในการกำจัดแมลงศัตรูพืช
 ผลการดำเนินงาน :
กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีในการกำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นกิจกรรมที่ถ่ายทอดองค์ความรู้จากประเด็นการสำรวจพื้นที่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งพบว่า ปัญหาศัตรูพืชหลักของนาข้าวในพื้นที่บ้านเมืองเตา คือ หอยเชอรี่ ซึ่งเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญ สร้างความเสียหายให้กับการปลูกข้าว โดยระบาดกัดกินทำลายต้นข้าวเสียหาย อีกทั้งหอยเชอรี่ยังขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วและยังทนทานต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี ทั้งสามารถซ่อนตัวมีชีวิตในนาได้นานตลอดฤดูแล้ง และยังลอยตัวไปตามน้ำได้อีกด้วย
ทั้งนี้ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในครั้งนี้ ดำเนินการในระหว่างวันที่ 2-3 มิถุนายน 2567 โดยโครงการได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ คือ ดร.กัญชลิกา รัตนเชิดฉาย อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ ให้หัวข้อ องค์ความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีในการกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยเน้นไปที่การไล่/กำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าว ซึ่งนอกจากการอบรมเกี่ยวกับองค์ความรู้เบื้องต้นแล้ว ผู้เข้าอบรมยังได้รับองค์ความรู้และทดลองฝึกปฏิบัติการทำน้ำหมักเปลือกมังคุดและมะกรูดในการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าวอีกด้วย
จำนวนผู้รับบริการ : ผู้นำ/ตัวแทนชุมชน ตำบลเมืองเตา อำเภอ พยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และ ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม
ปัญหา / อุปสรรค : ช่วงได้รับอนุมัติงบประมาณดำเนินโครงการเป็นช่วงที่ยังไม่เข้าสู่ฤดูกาลทำนา
แนวทางการแก้ไข : ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้ลองฝึกทดลองทำด้วยตนเองเพื่อให้สามารถนำผลจากการอบรมไปใช้ปฏิบัติจริงได้ รวมถึงได้มีการกำหนดพื้นที่แปลงทดลองเพื่อให้ชุมชนได้ทดลองใช้น้ำหมักจริงและง่ายต่อการติดตามผลจากการดำเนินการตลอดช่วงการทำนาไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
 



รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 26/09/2567 [17701]
39700 50
4 [17700]

กิจกรรมที่ 1. ถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีในปรับดินเพิ่มสารอาหารในดิน
ผลการดำเนินงาน :
กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีในปรับดินเพิ่มสารอาหารในดิน เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการในระหว่างเดือนพฤษภาคม โดยคณะกรรมการได้ลงพื้นที่ เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่อีกครั้ง เพื่อให้ได้เห็นสภาพปัจจุบันของดินในพื้นที่ให้มากที่สุดก่อนดำเนินการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ และพบว่า ในพื้นที่ทำนาตำบลเมืองเตา ประสบปัญหาภาวะดินเค็มเล็กน้อย ส่งผลให้ต้นข้าวเกิดภาวะขาดน้ำและทำให้เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์ และพบว่าจากปัญหาหลักในการทำนาที่ผ่านมา เป็นปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืช ได้แก่ หอยเชอร์รี่ ที่กัดกินต้นข้าว ส่งผลให้ปริมาณของผลผลิตข้าวในพื้นที่น้อยกว่าเท่าที่ควร
หลังจากได้ศึกษาพื้นที่ก่อนการดำเนินโครงการ คณะกรรมการจึงสรุปกำหนดประเด็นเกี่ยวกับหัวข้อในการถ่ายทอดองค์วามรู้ที่ชัดเจน ตรงประเด็นกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ และเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวีทรัพย์ ไชยรักษ์ อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในระหว่างวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2567 โดยมีหัวข้อองค์ความรู้ในรูปแบบเชิงปฏิบัติการ ดังนี้
1) การวิเคราะห์สารอาหารในดิน รวมถึงลักษณะของดินที่ดี และดีที่มีปัญหา เพื่อให้ชุมชนได้มีความรู้และสามารถสังเกตลักษณะของดินได้เบื้องต้น และได้มีการนำตัวอย่างดินในพืชที่ไปวิเคราะห์สารอาหารในดินได้ผลวิเคราะห์ ดังนี้ (ดังรูปภาพ)
2) องค์ความรู้กระบวนการเพิ่มสารอาหารในดินและกระบวนการและเทคโนโลยีในปรับดินเพิ่มสารอาหารในดิน โดยในหัวข้อนี้วิทยากรได้ให้ความรู้รวมไปถึงการปรับปรุงดินเค็มด้วยวัสดุอินทรีย์ ซึ่งก็คือ แกรบ และแนวทางในการช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวในดินเค็ม เช่น การใช้ปุ๋ยพืชสดเพื่อเพิ่มผลผลิต การใช้วัสดุปรับปรุงดินจำพวกยิปซัมเพื่อช่วยลดผลกระทบจากเกลือเบื้องต้น และการผลิตชีวภัณฑ์เพื่อใช้ในการกำจัดโรคพืช คือ เชื้อราไตรโคเดอร์มา พร้อมทั้งให้ผู้เข้าอบรมได้ได้ทดลองเพาะเลี้ยงเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อลดปัญหาโรคพืช เช่น โรคโคนเน่า และโรคเน่าระดับดินของกล้าพืช เป็นต้น

จำนวนผู้รับบริการ : ผู้นำ/ตัวแทนชุมชน ตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และ ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ปัญหา / อุปสรรค : ช่วงได้รับอนุมัติงบประมาณดำเนินโครงการเป็นช่วงที่ชุมชนยังไม่เริ่มทำนา
แนวทางการแก้ไข : คณะกรรมการสำรวจพื้นที่อีกครั้งก่อนดำเนินโครงการเพื่อให้ทราบปัญหาของพื้นที่ที่ชัดเจน และดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้ลองฝึกทดลองทำด้วยตนเองเพื่อให้สามารถนำผลจากการอบรมไปใช้ปฏิบัติจริงได้
 



รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 26/09/2567 [17700]
37750 50