2567 นวัตกรรมการแปรรูปกระเทียมดำโดยการใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17775]

กิจกรรมที่ 5

          1.การส่งตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติกระเทียมดำที่ผลิตได้

          2.การส่งตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติกระเทียมดำที่จำหน่ายในตลาด

การดำเนินการขั้นตอนต่อไป

  1. ทดสอบระบบโดยใช้กระเทียมสายน้ำแร่ ขนาดจัมโบ้ของ ต.เมืองแปง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอนเป็นตัวทดสอบการทำงานตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 2 ครั้ง
  2. รอผลตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติกระเทียมดำที่ผลิตได้ และ กระเทียมดำที่จำหน่ายในตลาด เพื่อปรับกระบวนการผลิต
  3. การถ่ายทอดเทคโนโลยี

 



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 27/09/2567 [17775]
36454 12
4 [17774]

กิจกรรมที่

        วันที่23 กรกฎาคม 2567 ผศ.ดร.สุรชัย ณรัฐ จันทร์ศรี อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดำเนินการทดสอบการทำงานของตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ การปรับใช้ความร้อนในกระบวนการผลิตกระเทียมดำโดยใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบที่เหมาะสม ทดสอบใช้กระเทียมจีน โดยเปิดตู้ตรวจสอบทุก2 วัน

 

  

กำหนดการทดสอบจากคู่เทียบในตลาดทั่วไป จาก เนื้อสัมผัส และรสชาติ โดยยังไม่ต้องตรวจหาสารสำคัญ จนกว่าการอบจะมีความเสถียร

จากการทดสอบระบบจำนวน 3 ครั้ง โดยใช้กระเทียมจีน เป็นตัวทดสอบการทำงานตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์

ครั้งที่ 1 ผลการทดสอบ อยู่ในช่วงฤดูฝน การอบจึงใช้กระแสไฟฟ้าทดแทนสลับพลังงานแสงอาทิตย์

ผลที่ได้: เนื้อกระเทียมเริ่มมีการเปลี่ยนจนเป็นสีดำในวันที่ 12 สีของกระเทียมที่เข้าตู้อบที่ได้ในแต่ละถาด ไม่เท่ากัน และบางถาดเนื้อเปลี่ยนเป็นสีดำ และไหม้ เนื่องจากการจ่ายความร้อนในตู้อบสูงเกินไป  

ครั้งที่ 2 ผลการทดสอบ อยู่ในช่วงฤดูฝน การอบจึงใช้กระแสไฟฟ้าทดแทนสลับพลังงานแสงอาทิตย์มีการปรับลดอุณหภูมิลงมา อุณหภูมิของถาดล่างสุดจะรับความร้อนมากกว่าถาดอื่นเนื่องจากเป็นการจ่ายความร้อนจากล่างขึ้นไปด้านบน จึงปรับเป็นการเวียนสลับถาดให้รับความร้อนเท่ากับทุกถาด

ผลที่ได้ : เนื้อกระเทียมดำมีลักษณะแห้ง เนื้อกระเทียมมีความเหนียว และยังไม่มีรสหวาน เมื่อนำไปอบไล่ความชื้น และวางไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิเหมาะสม เนื้อกระเทียมเริ่มแห้งและมีรสหวาน

ครั้งที่ 3 ผลการทดสอบ อยู่ในช่วงฤดูฝน การอบจึงใช้กระแสไฟฟ้าทดแทนสลับพลังงานแสงอาทิตย์ ดำเนินการแบบเดียวกับครั้งที่ 2

ผลที่ได้ : เนื้อกระเทียมดำที่ได้เมื่อเทียบกับคู่เทียบตัวอย่างในตลาดใกล้เคียงกัน ผลที่ได้มีกลิ่นกระเทียมน้อยลง เนื้อกระเทียมดำมีลักษณะแห้ง เหนียว และยังไม่มีรสหวาน เมื่อนำไปอบไล่ความชื้น และวางไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิเหมาะสม เนื้อกระเทียมเริ่มแห้ง มีความเหนียว และมีรสหวาน

จากการทดสอบระบบจำนวน 2 ครั้ง โดยใช้กระเทียมโทน ต.เมืองแปง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอนเป็นตัวทดสอบการทำงานตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์

ครั้งที่ 1 ผลการทดสอบ อยู่ในช่วงฤดูฝน การอบจึงใช้กระแสไฟฟ้าทดแทนสลับพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้การเวียนสลับถาดให้รับความร้อนเท่ากับทุกถาด

ผลที่ได้: เนื้อกระเทียมเริ่มมีการเปลี่ยนจนเป็นสีดำในวันที่ 9 ถาดล่างสุดเนื้อกระเทียมดำมีลักษณะแห้ง ไหม้ มีรสขม ถาดอื่นๆมีความชื้นสูงและเนื้อและไม่เปนรูปทรง

ครั้งที่ 2 ผลการทดสอบ อยู่ในช่วงฤดูฝน การอบจึงใช้กระแสไฟฟ้าทดแทนสลับพลังงานแสงอาทิตย์มีการปรับลดอุณหภูมิ ลงมาใช้การเวียนสลับถาดให้รับความร้อนเท่ากับทุกถาด

ผลที่ได้: เนื้อกระเทียมดำถาดที่ 4 มีลักษณะแห้ง เนื้อกระเทียมมีความเหนียว และยังไม่มีรสหวาน ถาดอื่นๆ มีความชื้นสูง เมื่อนำไปอบไล่ความชื้น และวางไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิเหมาะสม เนื้อกระเทียมเริ่มแห้งและมีรสหวาน



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 27/09/2567 [17774]
8829 7
4 [17771]

กิจกรรมที่

         วันที่ 17 มิถุนายน 2567 ผศ.ดร.สุรชัย ณรัฐ จันทร์ศรี อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และผศ.ดร.หยาดฝน ทะนงการกิจ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมด้วยนางสาวสกุลรัตน์คำเจริญ ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมวางแผนการทดสอบระบบ ปรับปรุงกระบวนการผลิตในส่วนของการใช้พลังงานทดแทน และทดสอบการผลิตกระเทียมดำ ให้สอดคล้องกับกำหนดการตรวจวิเคราะห์ กระเทียมดำในห้องทดลอง เพื่อหาการเกิดของสารสำคัญ



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 27/09/2567 [17771]
0 3
4 [17770]

กิจกรรมที่ 2 ออกแบบ และผลิตตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ 

          วันที่ 4 มิถุนายน 2567 ผศ.ดร.สุรชัย ณรัฐ จันทร์ศรี อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดำเนินการออกแบบ และผลิตตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์การปรับใช้ความร้อนในกระบวนการผลิตกระเทียมดำโดยใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบที่เหมาะสม

 



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 27/09/2567 [17770]
37620 6
4 [17768]

กิจกรรมที่ 1 การลงพื้นที่ เก็บข้อมูลเบื้องต้นก่อนเริ่มโครงการ

        วันที่ 2 พฤษภาคม 2567นางสาวสกุลรัตน์  คำเจริญ ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเบื้องต้นการปลูกกระเทียม การจัดเก็บกระเทียม และการแปรรูปกระเทียมดำ พร้อมทั้งนำตัวอย่างกระเทีมดำที่กลุ่มวิสาหกิจผลิตได้มาวิเคราะห์คุณสมบัติเปรียบเทียบกับของพื้นที่อื่น

 



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 27/09/2567 [17768]
18000 5