2567 โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีแก่ชุมชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17778]

วันที่ 5 เมษายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ลงพื้นที่ วิสาหกิจชุมชนใบตองคลองกระจง ต.คลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เพื่อให้บริการให้คำปรึกษาการนำยางกล้วยมาใช้ในงานเพ้นท์ต่อยอดจากผ้าพิมพ์ลายจากพืช ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้กับกลุ่มวิสาหกิจฯ 



รายงานโดย นายพีรเดช  จวบศักดิ์ วันที่รายงาน 27/09/2567 [17778]
0 5
4 [17777]

วันที่ 3 เมษายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญ ลงพื้นที่รับบริการให้คำปรึกษากับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมร่ำรวย ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ในเรื่องการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตต่อไร่มากที่สุดและเรื่องการแปรรูปเปลือกปูนา เปลือกกุ้งที่เหลือใช้จากการแปรรูป โดยผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะมีการวางแผนการจัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับคนในพื้นที่ต่อไป



รายงานโดย นายพีรเดช  จวบศักดิ์ วันที่รายงาน 27/09/2567 [17777]
0 3
4 [17776]

ในวันที่ 4 เมษายน 2567 ศูนย์วิจัยและบริการทางวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดอบรมบริการวิชาการการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงและแหนแดงเพื่อการเกษตร และการใช้ไคโตซานเพื่อเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตและต้านทานโรคพืช ณ กลุ่มเกษตรกรส้มแม่สิน ต.แม่สิน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย  คลินิกเทคโนโลยี นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์โกวิทย์ น้อยโคตร ผู้จัดการคลินิกฯ ได้เข้าร่วมจัดอบรม และจัดกิจกรรมให้คำปรึกษากับเกษตรกรที่เข้าร่วมอบรม



รายงานโดย นายพีรเดช  จวบศักดิ์ วันที่รายงาน 27/09/2567 [17776]
0 40
4 [17443]

รายงานการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่โครงการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- เดือนมีนาคม 2567

   จัดทำเพจ Facebook คลินิกเทคโนโลยี เพื่อใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง และอัพเดทข้อมูลต่าง ๆ

   จัดทำแผ่นพับสื่อประชาสัมพันธ์คลินิกเทคโนโลยี

   อัพเดทข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ

   ลงพื้นประชาสัมพันธ์คลินิกเทคโนโลยี ณ องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ในระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2567 และรับคำร้องขอรับบริการจากผู้ที่สนใจรับบริการให้คำปรึกษากับคลินิกเทคโนโลยี พร้อมประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญในการลงพื่นที่ตรวจสอบและแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้กับผู้ขอรับบริการ

   ติดต่อประสานงาน อว.ส่วนหน้าภาคเหนือ และเกษตรกรสวนส้มแม่สิน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เพื่อลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษากับเกษตรกรสวนส้มแม่สิน

   ติดต่อประสานงานกับกลุ่มใบตองแห้ง ต.คลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เพื่อเข้าศึกษาดูงานและบริการให้คำปรึกษา

   ติดต่อประสานงานกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมร่ำรวย ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ พร้อมผู้เชี่ยวชาญในการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบคำขอรับบริการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมร่ำรวยที่ได้แจ้งคำขอรับบริการมา

- เดือนเมษายน 2567 

   วันที่ 3 เมษายน 2567 ลงพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมร่ำรวย ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ พร้อมกับผู้จัดการคลินิก ผู้เชี่ยวชาญ และทีมอาจารย์นักวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงในการรับฟังปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเปลือกปู เปลือกกุ้งเหลือใช้ โดยผู้เชี่ยวชาญได้มีการแนะนำให้ทำเป็นสารกระตุ้นไคโตซาน รวมถึงการแก้ปัญหาในเบื้องต้น พร้อมทั้งวางแผนกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่อง สารกระตุ้นไคโตซานจากเปลือกปู เปลือกกุ้งเหลือใช้ให้กับเกษตรกรของกลุ่มฯอีกด้วย

   วันที่ 4 เมษายน 2567 ลงพื้นที่กลุ่มเกษตรกรสวนส้มแม่สิน ต.แม่สิน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย พร้อมกับผู้จัดการคลินิกฯ ผู้เชี่ยวชาญ และทีมอาจารย์นักวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อให้บริการรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตของส้มแม่สิน รวมทั้งการพัฒนาส้มแม่สินให้มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในสวนส้มแม่สิน โดยมีเกษตรกรสวนส้มแม่สินให้ความสนใจเป็นอย่างมาก 

   วันที่ 5 เมษายน 2567 ลงพื้นที่กลุ่มใบตองแห้ง ต.คลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย พร้อมกับผู้จัดการคลินิกฯ ผู้เชี่ยวชาญ และทีมอาจารย์นักวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อศึกษาดูงาน พร้อมทั้งบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ภาชนะ และอุปกรณ์ต่าง ๆ จากใบตอง และการนำยางกล้วยมาพัฒนาเป็นงานเพ้นท์และต่อยอดผ้าพิมพ์ลายจากพืช โดยผู้เชี่ยวชาญได้มีการแนะนำในเบื้องต้นแล้ว

- เดือนพฤษภาคม 2567

   วันที่ 8-9 พฤษภาคม 2567 เข้าร่วมประชุมการประชุม การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ด้าน ววน. ในระดับภูมิภาค พื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประจำปี 2567 ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร

   ประสานงานในการนัดประชุม ผอ.คลินิกฯ ผู้จัดการคลินิก ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เกี่ยวของ ในการวางแผนการดำเนินงานคลินิกฯ และการลงพื้นที่ให้บริการในครั้งต่อไป จัดทำสรุปวาระการประชุม

   ประสานงานกับ เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเข้าร่วมการประชุมในพื้นที่ภาคเหนือ ช่วงเดือน มิถุนายน 2567

- เดือนมิถุนายน 2567

   ติดต่อประสานงานกับเกษตรกรสวนส้มแม่สิน ต.แม่สิน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เพื่อนำคณะผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่สำรวจสวนส้ม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและดำเนินการหาแนวทางในการพัฒนาสวนส้มให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีสวนส้มเกษตรกรที่ได้ยื่นคำร้องขอรับบริการ ได้แก่ สวนส้มคุณฤดีรัตน์ หอมชื่น สวนส้มคุณสุขสันต์ บุญเหลือ สวนส้มคุณชวนชม พวงคำ สวนส้มคุณบุญลือ กุสาวดี สวนส้มคุณบุญเลิศ เรือนมูล สวนส้มคุณเพียง ทิวา สวนส้มคุณพรนภัส ยอดเพ็ชร และสวนส้มคุณชุติมนต์ ปลาบ๊อก

   ระหว่างวันที่ 5-8 มิถุนายน 2567 ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พื้นที่ภาคเหนือ ในวันที่ 6-7 มิถุนายน 2567 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)

   แลกเปลี่ยนพูดคุยกับผู้แทนคลินิกเทคโนโลยี และ อว.ส่วนหน้า มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลย์สงคราม ในการดำเนินงาน และการลงพื้นที่สวนส้มแม่สิน จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นพื้นที่ในการดูแลของ อว.ส่วนหน้าภาคเหนือ

   ติดตามผู้จัดการคลินิกฯ และคณะผู้เชี่ยวชาญ ลงพื้นที่บ้านคุณสมยศ คงดวล ได้ส่งคำขอรับบริการเรื่องการพัฒนาระบบถ่ายโอนความร้อนจากเตาเผาถ่านชีวภาพไปใช้ในเครื่องอบข้าว เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้เก็บข้อมูล และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

   วันที่ 10 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) องค์การส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่น (JSPS) สมาคมศิษย์เก่าเจเอสพีเอส (ประเทศไทย) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (แผนงานท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย) ศูนย์วิจัยและบริการทางวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์หฤษฎ์ นิ่มรักษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตผ้าพิมพ์ลายจากสีธรรมชาติ Eco print เป็นวิทยากรจัดอบรม การผลิตผ้าพิมพ์ลายจากสีธรรมชาติ Eco print ให้กับชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและยังสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพให้กับชุมชนเมืองเก่าสุโขทัยได้อีกด้วย

   จัดทำสรุปรายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พื้นที่ภาคเหนือวันที่ 6 – 7 มิถุนายน 2567 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) เสนอให้กับผู้อำนวยการคลินิกได้รับทราบ

   ประสานงานกับคุณรัตนภรณ์ ศรีจิตรเพชร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรม ร่ำรวย (กลุ่มปูนา) ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ โดยคลินิกเทคโนโลยีมีโครงการจะลงพื้นที่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีในพื้นที่ เพื่อสำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของเทคโนโลยีที่ต้องการและวันเวลาที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้

- เดือนกรกฎาคม 2567

   ติดต่อประสานงานกับตัวแทนวิสาหกิจเกษตรกรรมร่ำรวย ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เพื่อประสานงานจัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่อง การประยุกต์ใช้เชื้อแบคทีเรียสังเคราะห์แสงและแหนแดงเพื่อการเกษตร และกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่อง การแปรรูปเปลือกปูเพื่อเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตและป้องกันโรคศัตรูพืช ระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม 2567

   ประสานงานคณะกรรมการคลินิกเทคโนโลยีเพื่อประชุมการปฏิบัติงาน ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมเล็ก SCL103 อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

          - จัดทำวาระการประชุม / เอกสารประกอบการประชุม

          - จัดการสำรองห้องประชุมเพื่อใช้ในการประชุม

          - จดบันทึกรายละเอียดการประชุม

          - จัดทำสรุปการประชุม

   อัพเดทข้อมูลรายงานความก้าวหน้าโครงการไตรมาส 3 เข้าสู่ระบบ CMO และอัพเดทข้อมูลออนไลน์ใน Facebook page

   ประสานงานติดต่อการเข้าร่วมงาน รับโล่ SRI Engagement Network สำหรับหน่วยงานที่ร่วมดำเนินภารกิจเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและเครือข่ายความร่วมมือ ในวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 ณ เวทีกลางในงาน อว.แฟร์ ชั้น Gศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ 

   เข้าร่วมงานประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall ในวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 ภายในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ ในงาน อว.แฟร์ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ 

- เดือนสิงหาคม 2567

   ติดต่อประสานงานกับตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมร่ำรวย ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เพื่อประสานงานจัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่อง การประยุกต์ใช้เชื้อแบคทีเรียสังเคราะห์แสงและแหนแดงเพื่อการเกษตร และกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่อง การแปรรูปเปลือกปูเพื่อเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตและป้องกันโรคศัตรูพืช ระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม 2567

   จัดเตรียม เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ และ เอกสารประกอบการจัดกิจกรรมอบรม แบบประเมินการเข้าร่วมกิจกรรม และเอกสารอื่นๆที่ใช้ในการจัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การประยุกต์ใช้เชื้อแบคทีเรียสังเคราะห์แสงและแหนแดงเพื่อการเกษตร และกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่อง การแปรรูปเปลือกปูเพื่อเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตและป้องกันโรคศัตรูพืช ระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม 2567

    วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงและแหนแดงเพื่อการเกษตร ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมร่ำรวย ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ถ่ายทอดโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์หฤษฎ์ นิ่มรักษา ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรชีวภาพประจำคลินิกฯ ในการนี้ ยังมีกิจกรรมสาธิตและฝึกปฏิบัติให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ทดลองขยายเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงด้วยตนเอง พร้อมทั้งแนะนำการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์แหนแดงให้กับผู้เข้าร่วมอบรมอีกด้วย

   วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง นำโดย ผู้ช่วยศาตราจารย์โกวิทย์ น้อยโคตร ผู้จัดการคลินิกฯ จัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การแปรรูปเปลือกปูเพื่อเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตและป้องกันโรคศัตรูพืช ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมร่ำรวย ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ถ่ายทอดโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สัญญา กุดั่น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ทั้งภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติโดยสาธิตวิธีการในการต่างๆให้กับผู้เข้าร่วมอีกด้วย

   ดำเนินการประสานงานติดต่อกับสวนผลไม้สามพี่น้อง บ้านปากสิน ตำบลแม่สิน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เพื่อจัดโครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้กับกลุ่มเกษตรกรสวนส้มแปลงใหญ่แม่สิน และ กลุ่มอื่น ๆ ที่สนใจ

 

   



รายงานโดย นายพีรเดช  จวบศักดิ์ วันที่รายงาน 18/09/2567 [17443]
90000 0
4 [17412]

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์โกวิทย์ น้อยโคตร ผู้จัดการคลินิกฯ ได้จัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงและแหนแดงเพื่อเพิ่มผลผลิตส้มแม่สิน ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกส้มแม่สิน ณ สวนผลไม้สามพี่น้อง บ้านปากสิน ต.แม่สิน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์หฤษฎ์ นิ่มรักษา ผู้เชี่ยวชาญประจำคลินิกฯ เป็นวิทยากรอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี รายละเอียดการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้แก่

- การประยุกต์ใช้เชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้ดี และยังสามารถใช้ในการเลี้ยงสัตว์ ทำให้สัตว์มีการเจริญเติบโตที่ได้ดี นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการบำบัดกลิ่นในฟาร์มและบำบัดน้ำเสียได้อีกด้วย ในการนี้วิทยากรยังได้สาธิตวิธีการขยายเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง วิธีการใช้เชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงและให้กับผู้เข้าร่วมการอบรมได้ฝึกปฏิบัติการขยายเชื้อด้วยตนเอง

- การใช้แหนแดงเพื่อการเกษตร ซึ่งแหนแดงเปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยในโตรเจนทางชีวภาพผ่านกระบวนการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ แหนแดงจึงเป็นแหล่งไนโตรเจนที่ดีสำหรับการเกษตร ในการนี้วิทยากรให้แนะนำวิธีการเพาะเลี้ยงแหนแดงให้ได้คุณภาพ พร้อมทั้งวิธีการใช้งานแหนแดงรวมถึงแจกสูตรปุ๋ยชีวภาพจากแหนแดงให้กับผู้เข้าอบรมได้นำไปประยุกต์ใช้ได้อีกด้วย

ในการนี้ คุณชุติมนต์ ปลาบ๊อก เจ้าของสวนผลไม้สามพี่น้อง ได้เปิดพื้นที่สวนส้มให้กับผู้เข้าร่วมอบรมได้ศึกษาเรียนรู้ หลังจากที่คุณชุติมนต์นั้นได้นำองค์ความรู้เรื่องจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ได้อบรมมาแล้วนั้น นำมาใช้จนทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ต้นส้มมีคุณภาพที่ดีขึ้น มีใส้เดือนดินกลับมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก 



รายงานโดย นายพีรเดช  จวบศักดิ์ วันที่รายงาน 16/09/2567 [17412]
15870 53
4 [17410]

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2567 สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุโขทัย ได้จัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบการผลิตการเพิ่มมูลค่าและการตลาดสินค้าเกษตรคุณภาพ ภายใต้ BCG Model สินค้าส้มเขียวหวาน (ส้มแม่สิน) ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามอำนาจของรองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) กิจกรรมส่งเสริมการผลิตส้มเขียวหวานแม่สินไบโอด้วยกระบวนการชีววิถี ซึ่งได้ขอความอนุเคราะห์วิทยากรจากคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหงในการบรรยายในหัวข้อดังกล่าว โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์หฤษฎ์ นิ่มรักษา บรรยายให้ความรู้ในเรื่อง การประยุกต์ใช้วิธีการทางชีวภาพในสวนส้มเขียวหวานแม่สิน และผู้ช่วยศาสตราจารย์สัญญา กุดั่น บรรยายให้ความรู้เรื่อง การใช้สารชีวภาพในสวนส้มเขียวหวานแม่สิน และมีผู้ช่วยศาสตราจารย์โกวิทย์ น้อยโคตร ผู้จัดการคลินิกฯและนางสาวสันทนา นาคะพงศ์ เป็นผู้ช่วยในการบรรยาย โดยบรรยายให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรปลูกส้มในตำบลแม่สิน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 



รายงานโดย นายพีรเดช  จวบศักดิ์ วันที่รายงาน 16/09/2567 [17410]
0 90
4 [17215]

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง นำโดย ผู้ช่วยศาตราจารย์โกวิทย์ น้อยโคตร ผู้จัดการคลินิกฯ จัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การแปรรูปเปลือกปูเพื่อเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตและป้องกันโรคศัตรูพืช ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมร่ำรวย ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ถ่ายทอดโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สัญญา กุดั่น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ทั้งภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติโดยสาธิตวิธีการในการต่างๆให้กับผู้เข้าร่วมอีกด้วย

https://www.facebook.com/share/p/TX6Urd24HugHTDX6/



รายงานโดย นายพีรเดช  จวบศักดิ์ วันที่รายงาน 16/08/2567 [17215]
12800 30
4 [17214]

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงและแหนแดงเพื่อการเกษตร ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมร่ำรวย ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ถ่ายทอดโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์หฤษฎ์ นิ่มรักษา ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรชีวภาพประจำคลินิกฯ ในการนี้ ยังมีกิจกรรมสาธิตและฝึกปฏิบัติให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ทดลองขยายเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงด้วยตนเอง พร้อมทั้งแนะนำการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์แหนแดงให้กับผู้เข้าร่วมอบรมอีกด้วย

https://www.facebook.com/share/p/ud9taRbGL91wHAWG/



รายงานโดย นายพีรเดช  จวบศักดิ์ วันที่รายงาน 16/08/2567 [17214]
11820 30
3 [16895]

วันที่ 6-7 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง นำโดยผู้จัดการคลินิกฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์โกวิทย์ น้อยโคตร พร้อมด้วย นายชาตรี นิลน้ำเพชร ผู้ประสานงานโครงการ และเจ้าหน้าที่คลินิกฯ ได้เข้าร่วมการประชุม "การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้าน ววน. ในระดับภูมิภาค" ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชุนพื้นที่ภาคเหนือ ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) การนี้ยังได้มีโอกาสพูดคุยกับตัวแทนคลินิกเทคโนโลยี อว.ส่วนหน้า จากมหาวิทยาลัยพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก เพื่อแลกเปลี่ยน ปรึกษา และหาแนวทางการทำงานร่วมกันในเขตพื้นที่จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของ อว.ส่วนหน้าพื้นที่ภาคเหนือ



รายงานโดย น.ส.สันทนา นาคะพงศ์ วันที่รายงาน 02/07/2567 [16895]
9084 3
3 [16846]

วันที่ 9 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง นำโดยผู้ช่วยศาสตราจาย์โกวิทย์ น้อยโคตร ผู้จัดการคลินิกและคณะผู้เชี่ยวชาญ ลงพื้นที่บ้านคุณสมยศ คงดวล ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.สุโขทัย หลังจากได้รับคำขอรับบริการเรื่อง การพัฒนาระบบถ่ายโอนความร้อนจากเตาเผาถ่านชีวภาพไปใช้ในเครื่องอบข้าว การนี้ทีมผู้เชี่ยวชาญได้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว

https://www.facebook.com/share/p/MXXGoACsVx9Tdxvx/



รายงานโดย น.ส.สันทนา นาคะพงศ์ วันที่รายงาน 28/06/2567 [16846]
0 1
3 [16843]

ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีหนังสือ ที่ กษ 0212/ว 3449 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2567 แจ้งเรื่อง การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด (พ .ศ.2566-2570) ฉบับทบทวน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2569 ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด มีหน้าที่ใน การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ศึกษาแนวทางและดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด (พ.ศ. 2566-2570) ตามคู่มือการปฏิบัติงานการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและ สหกรณ์ของจังหวัดที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการปรับปรุงแนวทางการจัดทำ แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด และเพื่อให้การจัดทำแผนพัฒนา การเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2569 ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์และยุทธศาสตร์ทุก ระดับตลอดจนทิศทางนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และให้สำนักงานเกษตรและ สหกรณ์จังหวัดใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ของจังหวัด ดังนั้น สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุโขทัย จึงได้จัดประชุม เชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดสุโขทัย (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ.2569 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับ ฟังปัญหา ความต้องการ ศักยภาพ ความคาดหวัง ของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วน เสียด้านการเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดสุโขทัย รวมทั้งเปิดโอกาสให้ได้แสดงความ คิดเห็น ร่วมตัดสินใจ รับผลการตัดสินใจ และปรึกษาหารือร่วมกันในการจัดทำ แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดสุโขทัย การนี้ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.โกวิทย์ น้อยโคตร ผู้จัดการคลินิกฯ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ชาตรี นิลน้ำเพชร เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว



รายงานโดย น.ส.สันทนา นาคะพงศ์ วันที่รายงาน 27/06/2567 [16843]
0 0
3 [16821]

วันที่ 10 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) องค์การส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่น (JSPS) สมาคมศิษย์เก่าเจเอสพีเอส (ประเทศไทย) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (แผนงานท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย) ศูนย์วิจัยและบริการทางวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์หฤษฎ์ นิ่มรักษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตผ้าพิมพ์ลายจากสีธรรมชาติ Eco print เป็นวิทยากรจัดอบรม การผลิตผ้าพิมพ์ลายจากสีธรรมชาติ Eco print ให้กับชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและยังสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพให้กับชุมชนเมืองเก่าสุโขทัยได้อีกด้วย

https://web.facebook.com/share/p/ZpTn6s1ufneggASZ/



รายงานโดย น.ส.สันทนา นาคะพงศ์ วันที่รายงาน 23/06/2567 [16821]
0 30
3 [16820]

วันที่ 11 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โกวิทย์ น้อยโคตร ผู้จัดการคลินิกฯ พร้อมด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่สวนส้มเกษตรกร ต.แม่สิน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ประกอบด้วย สวนส้มคุณฤดีรัตน์ หอมชื่น สวนส้มคุณสุขสันต์ บุญเหลือ สวนส้มคุณชวนชม พวงคำ สวนส้มบุญลือ กุสาวดี สวนส้มคุณบุญเลิศ เรือนมูล สวนส้มคุณเพียง ทิวา สวนส้มคุณพรนภัส ยอดเพ็ชร และสวนส้มคุณชุติมน ปลาบ๊อก ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญได้เก็บรวบรวมข้อมูล พร้อมทั้งให้บริการคำแนะนำเบื้องต้นแก่เกษตรกร ในการพัฒนาดูแลคุณภาพต้นส้มและการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น

https://web.facebook.com/share/p/SqEJ64qhovG21Zib/

https://drive.google.com/drive/folders/1SXueVXeCKErfLPt45MBUKjt9G8AvVdMX?usp=sharing



รายงานโดย น.ส.สันทนา นาคะพงศ์ วันที่รายงาน 23/06/2567 [16820]
0 7