2567 โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17793]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนกรกฎาคม 2567 – เดือนกันยายน 2567

กิจกรรมที่ 1 การดำเนินงานร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก

คลินิกเทคโนโลยี ได้จัดทำข้อเสนอโครงการ ในเดือนกรกฎาคม 2567 ในแผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการ ด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (RD Facility Boost Up Platform) ประจำปีงบประมาณ 2567 การวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำพริก ของผู้ประกอบการ จังหวัดจันทบุรี เพื่อเสนอขอรับงบประมาณจาก อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำพริกทางด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ถูกต้อง ตามข้อกำหนดของกฎหมาย ให้กับกลุ่มน้ำพริกลูกรัง หนองอ้อ หมู่ 9 บ้านหนองอ้อล่าง ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 100,000 บาท

โดยกิจกรรมประกอบด้วย การวิเคราะห์คุณภาพ ทางด้านเคมี กายภาพ และจุลินทรีย์ เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมคุณภาพให้ น้ำพริกมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำการเก็บรักษาตัวอย่างน้ำพริก จำนวน 3 – 5 ชนิด ที่อุณหภูมิห้อง เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดย ระหว่างการเก็บรักษา การวัดค่าสี่ ความหืน pH ความชื้น ยีสต์และราเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด เชื้อโคลิฟอร์ม และ E.coli (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข) โดยทำการตรวจสอบวันที่ 1 7 14 21 และ 28 ของเดือนที่ หนึ่ง และวันที่ 10 20 และ 30 ของเดือนที่สอง โดยใช้ห้องปฏิบัติการกลาง ของศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

ผลลัพธ์ (Outcome) 1. ผู้ประกอบการแปรรูปน้ำพริก ได้ผลการวิเคราะห์คุณภาพด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ 2. ได้ผลการวิเคราะห์คุณภาพด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์น้ำพริก ที่อยู่ในเกณฑ์ ข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3. ผู้ประกอบการแปรรูปน้ำพริก ได้ข้อมูลของฉลากโภชนาการ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการยื่นขอรับ รองมาตรฐานในอนาคต

ไตรมาสที่ 4 เดือนกรกฎาคม กันยายน 2567 ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำพริกลูกรังสูตรเดิม และพัฒนาน้ำพริกปลาย่างสูตรใหม่ แล้วนำมาวิเคราะห์ความชื้น ยีสต์และราเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด เชื้อโคลิฟอร์ม และ E.coli (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข) โดยทำการตรวจสอบวันที่ 1 7 14 21 วัน ซึ่งหลังจากนี้ (ต.ค. 67 – 31 ธ.ค. 67) จะทำการวิเคราะห์ วันที่ 28 ของเดือนที่ หนึ่ง และวันที่ 10 20 และ 30 ของเดือนที่สอง พร้อมอายุการเก็บรักษา ตามลำดับต่อไป และออกผลรับรองการวิเคราะห์ ให้กลุ่มน้ำพริกลูกรัง หนองอ้อ โดย ห้องปฏิบัติการกลาง ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก เพื่อเป็นแนวทางหรือมาตรฐานการผลิต สำหรับการขอรับรองมาตรฐาน อย. ต่อไปในอนาคต

**งบประมาณ โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันนออก มหาวิทยาลัยบูรพา



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 28/09/2567 [17793]
3000 0
4 [17805]

 รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนกรกฎาคม 2567 – เดือนกันยายน 2567

 กิจกรรมที่ 9 ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากซูเปอร์ฟู้ด (Super food – Super Product)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ได้ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากซูเปอร์ฟู้ด (Super food – Super Product) ภายใต้โครงการการยกระดับธุรกิจ SMEs ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่มีความเป็นเลิศและยั่งยืนสู่สากล โดยส่งเสริมการพัฒนาและต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อาหารจากซูเปอร์ฟู้ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารฟังก์ชัน หรือ Functional Food จึงให้การสนับสนุนการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีเคมีชีวภาพหรือกระบวนการทางเคมีชีวภาพในการสังเคราะห์สารหรือนำสารสำคัญจากซูเปอร์ฟู้ด มาเป็นส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พร้อมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ซูเปอร์ฟู้ด รวมถึงบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือให้เป็นกลไกสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจในการลงทุนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในพื้นที่ดำเนินการจังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรี ได้แก่

1. บริษัท พีเคโกโก้แอนด์ช็อกโกแลต จำกัด โดย นายสุพักร์ ตั๊นวิเศษ ที่อยู่ 189 หมู่ที่ 3 ตำบลเขาซก อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนา คือ กรานูลา&โกโก้นิบส์

2. บริษัททีแอนด์ที ดริ้งค์ จำกัด โดยนายวสันต์ รื่นรมย์ ที่อยู่ 67/2 หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยยาง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนา คือ ซุปทุเรียน&รังนก

พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากซูเปอร์ฟู้ด (Super food – Super Product) มีดังนี้

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี หัวหน้าโครงการ พัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์

2. นายคฑาวุธ  สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ดำเนินการด้านการฟรีสดราย วัตถุดิบ และเครื่องมือแปรรูปที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต

3. นางสาวจันจิรา  จินโนรส ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการศูนย์วิจัย พัฒนาสูตรซุปทุเรียนรังนก และโกโก้นิบส์

4. นางสาวสิริวิมล  วรรณโครตร ตำแหน่ง นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดำเนินการผลิต

การประเมินผลความพึงพอใจ การจัดทำสรุปรายงาน และการบันทึกข้อมูล

          จากการดำเนินกิจกรรมกับทั้ง 2 กิจการ และได้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจในการรับบริการพบว่า ผู้ประกอบการบริษัท พีเคโกโก้แอนด์ช็อกโกแลต จำกัด มีคะแนนภาพรวม 4.5 คะแนน และอยากให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดความหลากหลายในอนาคต สามารถนำความรู้ไปใช้ต่อยอดธุรกิจได้เป็นอย่างดี ส่วนประเมินผลลัพธ์ ทำให้เกิดรายได้เพิ่มและมูลค่าผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นรวมกัน ร้อยละ 20 หรือมูลค่าทางเศรษฐกิจ 4,500,000 บาท/ปี

       ผู้ประกอบการ บริษัท ทีแอนด์ที ดริ้งค์ จำกัด มีคะแนนภาพรวม 4.67 คะแนน และอยากให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดความหลากหลายในอนาคต สามารถนำความรู้ไปใช้ต่อยอดธุรกิจได้เป็นอย่างดี ส่วนประเมินผลลัพธ์ ทำให้การลดลงของของเสีย เกิดรายได้เพิ่ม และมูลค่าผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นรวมกัน ร้อยละ 20 หรือมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1,990,000 บาท/ปี

**งบประมาณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 28/09/2567 [17805]
0 2
4 [17803]

 รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนกรกฎาคม 2567 – เดือนกันยายน 2567

 กิจกรรมที่ 8 ให้คำปรึกษาด้านการการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย

          สำนักงานเกษตรฉะเชิงเทรา ได้ขอรับการถ่ายทอดความรู้และศึกษาดูงานการยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงและการตลาด ภายใต้การดำเนินโครงการพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัยและส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างมูลค้าเพิ่ม ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในวันที่ 22 สิงหาคม 2567 มีผู้เข้ารับบริการคือ เกษตรกรผู้ปลูกและแปรรูปมะม่วง โดยมีผู้ดำเนินมีกิจกรรม ดังนี้

       1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี บรรยายการพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตรและบรรจุภัณฑ์เพื่อลดการสูญเสีย และ การยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูป

2. นายคฑาวุธ  สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ดำเนินการนำเสนอการทำงานของเครื่องมือ เครื่องจักร ในกระบวนการผลิต ในช่วงการศึกษาดูงาน

3. นางสาวสิริวิมล  วรรณโครตร ตำแหน่ง นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดำเนินการสาธิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วง

มีผู้เข้ารับบริการ และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 คน

**งบประมาณ สำนักงานเกษตรฉะเชิงเทรา (พัฒนาผลิตภัณฑ์ ,ค่าใช้สอย) ,คลินิกเทคโนโลยี (ค่าใช้สอย) ,ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก (ค่าตอบแทน)

 



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 28/09/2567 [17803]
2000 20
4 [17802]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนกรกฎาคม 2567 – เดือนกันยายน 2567

กิจกรรมที่ 7 บริการข้อมูลเทคโนโลยี ด้านการวิจัยและพัฒนา

       สำนักบริการวิชาการ มีกำหนดจัดการประชุมเครือข่ายยกร่างข้อเสนอโครงการจัดตั้งอุทยาน วิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 8 – 9 สิงหาคม ๒๕๖๗ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เพื่อบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันและรวมทรัพยากร ได้แก่ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมืออุปกรณ์

ห้องปฏิบัติการสำหรับให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของภาคตะวันออก โดยระหว่างการจัดประชุม ได้มีการเข้าศึกษาดูงานด้านบริการวิชาการ ห้องปฏิบัติการ และโรงงานแปรรูปสมุนไพรต้นแบบ

ของศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก ในวันที่ 8 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00 – 11.00 น.  มีผู้บริหารศูนย์วิจัย เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัย คอยแนะนำให้ความรู้และตอบข้อซีกถามกับตัวแทน จากมหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก

และมหาวิทยาลัยราชนครินทร์ มีผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเข้าร่วมศึกษาดูงาน ดังนี้

1. ดร.ทนงศักดิ์  เทพสนธิ   ตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออก

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณะ  ช่องศรี   ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชนครินทร์

3. นางสาวณัชชา  ปั้นทอง      ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยบูรพา

4. นางสาวณัฐญา  เจริญพันธ์   ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยบูรพา

และมีผู้แทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ให้การต้อนรับ ดังนี้

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาภาพร บุญมี   ตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี

3. นายคฑาวุธ  สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี

4. นายพันศักดิ์  สุทธิสวัสดิ์  ตำแหน่ง ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI)

5. นายสหรัฐ   ศรีครินทร์  ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ

6. นางสาวกนกวรรณ  คงสวน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการโครงการหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม

       จากการเข้าศึกษาดูงานของหน่วยงานภายนอก ทำให้สามารถขยายผลความเชี่ยวชาญ ด้านห้องปฏิบัติการ โรงงานแปรรูปสมุนไพร และหลักสูตรการจัดอบรม ความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอด

ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก และคลินิกเทคโนโลยี โดยมหาวิทยาลัยบูรพา จะนำเทคโนโลยีที่มีความพร้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ไปประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย ให้มารับบริการ หรือขอรับความต้องการ ให้ตรงประเด็นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับผู้ประกอบการ ชุมชน SMEs และหน่วยงานเอกชลได้ ในอนาคต



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 28/09/2567 [17802]
0 10
4 [17801]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนกรกฎาคม 2567 – เดือนกันยายน 2567

กิจกรรมที่ 6 ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์

          สืบเนื่องจากการดำเนินโครงการ การให้คำปรึกษา ในการประชุมหารือการเสริมสร้างทักษะอาชีพ เพื่อนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันภายในชุมชน (การวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่ม “น้ำพริกลูกรัง”) ในวันพุธที่ 26 มิถุนายน 2567 ณ วัดหนองอ้อ ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี ต่อมา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยหน่วยงานศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก และคลินิกเทคโนโลยี ได้พัฒนาสูตรน้ำพริกลูกรังใหม่ และน้ำพริกลูกรังปลาแห้ง ให้เป็นไปตามแนวทางในด้าน การพัฒนาด้านความสม่ำเสมอของคุณภาพ (พัฒนารสชาติ ให้กลมกล่อม) การยืดอายุการเก็บรักษา (ลดค่า aw ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ไม่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย) และการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ใหม่ ให้ทันสมัย และเหมาะสำหรับการซื้อบริโภคไว้รับประทานต่อมื้อ และมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

1. อบรมเพื่อสร้างความเข้าใจขั้นตอนการควบคุมคุณภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์

2. ทดสอบผลิตภัณฑ์เดิมด้านจุลินทรีย์ และกายภาพ

- พัฒนากระบวนการผลิตสูตรเดิม

- พัฒนาผลิตภัณฑ์สูตรใหม่

3. เชิญสมาชิกทดสอบชิมและเลือกสูตร และอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกกลุ่มแปรรูปน้ำพริกลูกรัง ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก

วิทยากรให้ความรู้ โดย

                     1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ให้ความรู้ด้านกระบวนการผลิตและอบรมมาตรฐาน GMP และ แสดงความคิดเห็นกับการเลือกสูตรและทิศทางการควบคุมคุณภาพ

2. นางสาวจันจิรา  จินโนรส ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการศูนย์วิจัยบรรยายหัวข้อการพัฒนาสูตรน้ำพริก และกระบวนการลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ พร้อมสาธิต

3. นางสาวสิริวิมล  วรรณโครตร ตำแหน่ง นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดำเนินสาธิตขั้นตอนวิธีการอปรรูปน้ำพริก ตามหลัก GMP

5. ออกแบบฉลากน้ำพริกทั้งสองสูตร

มีผู้เข้ารับบริการ และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 คน

**งบประมาณ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี (ให้ความรู้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์) ,คลินิกเทคโนโลยี (ค่าตอบแทน และใช้สอย) ,ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก (ห้องปฏิบัติการ ห้องพัฒนาผลิตภัณฑ์)



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 28/09/2567 [17801]
4600 15
4 [17799]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนกรกฎาคม 2567 – เดือนกันยายน 2567

กิจกรรมที่ 5 การเข้าร่วมงานกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้กำหนด จัดการประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการใช้ ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรม และชุมชน นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน ในวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.30 น. ภายในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย อย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) ณ ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมดังนี้

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาภาพร บุญมี   ตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้แทนอธิการบดี เข้ารับโล่ SRI ENGAGEMENT NETWORK ในงานประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall ในวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 – 13.00 น. ณ เวทีกลาง ชั้น G

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมแนวทางการดำเนินงานเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี และโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า ชุมชน (คูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ ห้องประชุม 211 ชั้น 2 เวลา 14.00 – 16.30 น.

3. นายคฑาวุธ  สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมแนวทางการดำเนินงานเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี และโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า ชุมชน (คูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ ห้องประชุม 211 ชั้น 2 เวลา 14.00 – 16.30 น.

4. นายพันศักดิ์  สุทธิสวัสดิ์  ตำแหน่ง ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI)

5. นายสหรัฐ  ศรีครินทร์  ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ

6. นางสาวกนกวรรณ  คงสวน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการโครงการหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม

เข้าร่วมจัดนิทรรศการภายในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย อย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) ณ ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 28/09/2567 [17799]
6000 0
4 [17798]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนกรกฎาคม 2567 – เดือนกันยายน 2567

กิจกรรมที่ 4 ให้คำปรึกษาการถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมทางการเกษตร

ด้วยกรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ได้ขอความอนุเคราะห์มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพรรณี จังหวัดจันทบุรี โดยศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก ในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรผู้นำในหัวข้อ "การตรวจวิเคราะห์ความแก่อ่อน ของทุเรียนด้วยเทคนิด NIR (FT- NIR Spectroscopy)" และหัวข้อ "การตรวจวิเคราะห์น้ำและดินเพื่อการเกษตร" วันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสิบค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี     

การดำเนินการของกิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 

1. เสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรผู้นำ โดยสามารถบูรณาการ ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร และมหาวิทยาลัย

2. การเชื่อมโยงการถ่ายทอดความรู้/เทคโนโลยี/นวัตกรรมการเกษตร จากสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาถ่ายทอดสู่เกษตรกรตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

3. เพื่อบ่มเพาะเกษตรกรเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นผู้ประกอบการ

4. เพื่อให้เกษตรกรได้รับความรู้และสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม

วิทยากรที่บรรยายให้ความรู้ ให้คำปรึกษา

   1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี บรรยายเรื่อง การตรวจวิเคราะห์ความแก่อ่อนของทุเรียนด้วยเทคนิด NIR (FT- NIR Spectroscopy)

       2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทิศา  ชัยกุล  ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักทรัพย์สินและรายได้

และอาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร บรรยายเรื่อง การตรวจวิเคราะห์น้ำและดินเพื่อการเกษตร

3. นายคฑาวุธ  สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ดำเนินการนำเสนอการทำงานของเครื่องมือ เครื่องจักร ในกระบวนการผลิต 

ในช่วงการศึกษาดูงาน มีผู้เข้ารับบริการและตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 11 คน

 



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 28/09/2567 [17798]
3000 11
4 [17796]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนกรกฎาคม 2567 – เดือนกันยายน 2567 

กิจกรรมที่ 3 ให้คำปรึกษาการถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมทางการเกษตร

          สืบเนื่องจาก กิจกรรมวันที่ 26 มิถุนายน 2567 ด้านบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ร่วมกันระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ กับมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี ดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ Startup ให้กับนักเรียน นักศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างองค์ความรู้ด้านการเป็นผู้ประกอบการ ให้นักเรียน นักศึกษามีประสบการณ์ทางธุรกิจ สร้างรายได้ และสามารถออกสู่ตลาดแรงงานได้ภายหลังจบการศึกษา นั้น

             หลังการประชุมหารือร่วมกัน ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ กทม. ได้สนับสนุนงบประมาณ การดำเนินงาน โครงการขับเคลื่อนความร่วมมือการพัฒนาและส่งเสริมบ่มเพาะผู้ประกอบการ ซึ่งศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดือนรุ่ง  เบญจมาศ รับผิดชอบการดำเนินโครงการใน กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ในจัดอบรมเชิงปฏิบัติการบ่มเพาะผู้ประกอบการ ให้กับนักเรียนนักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ จำนวน 9 ท่าน และมีอาจารย์ผู้ควบคุม จำนวน 3 ท่าน ในวันที่ 1 ,2 ,8 ,9 ,15 กรกฎาคม 2567 ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก การหลักการดำเนินงาน ดังนี้

         1. ติดต่อประสานงานวิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ นักศึกษา วิทยากร และผู้ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

       2. สถานที่ในการจัดโครงการ โดยใช้ห้องวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก

       3. ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างผู้ประกอบการอาหาร เครื่องดื่ม โดยมีขั้นตอนตามโมเดล 4I ดังนี้

1)Inspiration สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ประกอบการ

2) Ideation กระตุ้นผู้ร่วมโครงการให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบธุรกิจ

3) Incubation บ่มเพาะผู้ร่วมโครงการด้วยองค์ความรู้ต่างๆ

4) Innovation in Entrepreneurship สร้าง prototype ที่เป็นนวัตกรรมพร้อมนำเสนอแผนธุรกิจ

       4. ดำเนินการให้คำปรึกษาเพื่อเข้าร่วมโครงการอาชีวะสร้างสรรค์ แปรผันสู่ธุรกิจ (Coaching to RRR) จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ น้ำชะมวงม็อกเทล และน้ำมะปี๊ดม็อกเทล

                 1) ให้ความรู้ต้านมาตรฐานการผลิต อย. GMP

2) การอบรมเชิงปฏิบัติการ การแปรรูป

3) การจัดกระบวนการเรียนรู้และการสาธิต การพัฒนานวัตกรรมเครื่องดื่ม จากชะมวงและมะปี๊ด ในวันที่ 24 สิงหาคม 2567 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ จังหวัดจันทบุรี (ดำเนินงานโดย คลินิกเทคโนโลยี และศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก)

4) ผลิตผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต้นแบบ เพื่อการสร้างผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มมืออาชีพ

5) การจัดทำแผนธุรกิจ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ

นายพันศักดิ์  สุทธิสวัสดิ์ ตำแหน่ง ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI)

นายสหรัฐ ศรีครินทร์  ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ

5. สรุปผลการดำเนินงาน

 **งบประมาณ ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ กทม.



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 28/09/2567 [17796]
5000 12
4 [17795]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนกรกฎาคม 2567 – เดือนกันยายน 2567

กิจกรรมที่ 2 การดำเนินงานร่วมกับ สป.อว. และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก

          มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย อย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) ระดับภูมิภาค ภาคกลาง-ภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 11 – 13 กรกฎาคม 2567 ณ หอประชุมธำรงบัวศรี มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงศักยภาพ และความพร้อมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

         มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการแสดงเทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ซึงมีหลักสูตรการผลิตเครื่องสำอาง ของหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม และเทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอด จากหน่วยงานคลินิกเทคโนโลยี ไปเข้าร่วมจัดนิทรรศการในวันและเวลา ดังกล่าว



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 28/09/2567 [17795]
3000 0
4 [17806]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนกรกฎาคม 2567 – เดือนกันยายน 2567

กิจกรรมที่ 10 ให้คำปรึกษาด้านการตรวจวิเคราห์ฉลากโภชนาการ น้ำสำรองผสมหล่อฮั๊งก๊วย

          วันที่ 26 กันยายน 2567 ณ สำนักงานคลินิกเทคโนโลยี กิจกรรมสืบเนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้การดำเนินงาน เครือข่าย C-UBI ภาคตะวันออก หน่วย UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้ดำเนิน การบ่มเพาะผู้ประกอบการ Start-up Companiesให้กับผู้ประกอบการ แบรนด์ : “การองฮิ” ของนางสาว เพ็ญพิชชา พิพัฒน์ชัยกิจ เพื่อพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้ได้มาตรฐาน ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์ วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก  มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยมีนายพันศักดิ์  สุทธิสวัสดิ์  ตำแหน่ง ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) นายสหรัฐ   ศรีครินทร์  ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ และนางสาวกนกวรรณ  คงสวน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการโครงการหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม ได้มาขอรับคำปรึกษา เรื่องการปรับปรุงสูตรน้ำสำรอง กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และนายคฑาวุธ  สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี  นั้น

เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นายพันศักดิ์  สุทธิสวัสดิ์  ตำแหน่ง ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ได้มาขอรับคำปรึกษาด้านการตรวจวิเคราะห์ฉลากโภชนาการ (Nutrition Labeling) กับงานคลินิกเทคโนโลยี โดยมีนายคฑาวุธ สว่างดี เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ให้คำปรึกษา ด้านการขอรับรองมาตรฐานของ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก ผลิตภัณฑ์น้ำสำรองผสมหล่อฮั๊งก๊วย ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อสร้างมาตรฐาน ให้มีความมั่นใจและน่าเชื่อถือ แก่ผู้บริโภคในอนาคต 

 



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 28/09/2567 [17806]
0 1
3 [17089]

ไตรมาสที่ 3 เดือนเมษายน 2567 - มิถุนายน 2567 ประจำปีงบประมาณ 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีผู้มารับบริการทั้งสิ้น 216 คน แบ่งเป็นบริการให้คำปรึกษา จำนวน 192 คน และบริการข้อมูลเทคโนโลยี จำนวน 14 คน มีความพึงพอใจร้อยละ 94.40 ดังข้อมูลต่อไปนี้

1. ความเหมาะสมของสถานที่ในการจัดกิจกรรมฝึกอบรม                                  คิดเป็นร้อยละ    92.00

2. ความเหมาะสมของอาหารและเครื่องดื่มที่ให้บริการในระหว่างการฝึกอบรม  คิดเป็นร้อยละ    90.00

3. ความเหมาะสมของระยะเวลาในการฝึกอบรม                                                คิดเป็นร้อยละ    94.00

4. ความเหมาะสมของหัวข้อในการฝึกอบรม                                                     คิดเป็นร้อยละ    94.00

5. การให้บริการและการอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่                               คิดเป็นร้อยละ    94.00

6. ความรู้ความสามารถของวิทยากร                                                                 คิดเป็นร้อยละ    94.00

7. ประโยชน์ที่ได้จากการนำองค์ความรู้ในการฝึกอบรมครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้       คิดเป็นร้อยละ    94.00

8. ความพึงพอใจของท่านต่อกิจกรรมในภาพรวม                                               คิดเป็นร้อยละ    98.00

9. ความรู้และความเข้าใจของท่านในหัวข้อที่อบรมก่อนการเข้าฝึกอบรม          คิดเป็นร้อยละ    96.00

10. ความรู้และความเข้าใจของท่านในหัวข้อที่อบรมหลังการเข้าฝึกอบรม         คิดเป็นร้อยละ    98.00

                                                                                                ค่าเฉลี่ยรวม      คิดเป็นร้อยละ    94.40

รายชื่อผู้รับบริการ ไตรมาสที่ 3 เดือนเมษายน 2567 - มิถุนายน 2567 ประจำปีงบประมาณ 2567

/online/cmo/filemanager/652/files/รายชื่อผู้รับบริการ ไตรมาส 3 - 2567.xls



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 05/07/2567 [17089]
62250 0
3 [17046]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนเมษายน 2567 - มิถุนายน 2567

กิจกรรมที่ 7 หารือแนวทางการพัฒนา

          ด้วย วิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ มีโครงการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ Startup ให้กับนักเรียน นักศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างองค์ความรู้ด้านการเป็นผู้ประกอบการ ให้นักเรียน นักศึกษามีประสบการณ์ทางธุรกิจ สร้างรายได้ และสามารถออกสู่ตลาดแรงงานได้ภายหลังจบการศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ นำโดย นานวีรชาติ  กุลสิทธิ์ ตำแหน่ง  ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ และธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ กทม. ได้เข้าหารือแนวทางการพัฒนาดังกล่าวกับ

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ นำโดย

              1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก

              2. นายคฑาวุธ สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี

และหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง นำโดย

              1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาภาพร บุญมี   ตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี กำกับดูแลงานพัฒนาท้องถิ่น และอุทยาวิทยาศาสตร์

2. นายพันศักดิ์  สุทธิสวัสดิ์  ตำแหน่ง ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI)

3. นายสหรัฐ  ศรีครินทร์  ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ

4.นางสาวกนกวรรณ  คงสวน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการโครงการหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม

       ในวันที่ 26 มิถุนายน 2567 เวลา 14.00 – 16.00 น. ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เรื่องการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักเรียน นักศึกษา โดยเน้นการใช้พืชพรรณ สมุนไพร ในท้องถิ่นมาพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมและการเรียนรู้ เพื่อสร้างผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ให้กับวิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ ในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียน พร้อมงบประมาณในการดำเนินการ

       เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความต่อเนื่อง และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ จึงทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ร่วมกันระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ กับมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี โดยความร่วมมือนี้จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ ได้มีทักษะความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการเรียนการสอนสมัยใหม่ ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ซึ่งสามารถสร้างประสบการณ์ตรง เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป

       จากที่หารือ สามารถสรุปแผนงานด้านกานพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ จะส่งนักเรียนนักศึกษามาเข้าร่วมเรียนรู้และฝึกทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์จากศูนย์วิจัย และคลินิกเทคโนโลยี(การใช้เครื่องมือ) ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง (หรือจนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ) โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นนักเรียน จำนวน 9 คน และอาจารย์ผู้ควบคุมดูแล จำนวน 3 คน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าประกวดโครงการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ Startup ให้กับนักเรียน ต่อไป



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 05/07/2567 [17046]
1000 0
3 [17044]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 3ประจำปีงบประมาณ 2567เดือนเมษายน 2567 - มิถุนายน 2567

กิจกรรมที่ 6 ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์

          ด้วยกรมการศาสนา มีนโยบายส่งเสริมให้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา วันอาทิตย์ มีความพร้อมในการนำทุนและทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ มาสร้างอัตลักษณ์ เพื่อพัฒนาอาชีพ ในชุมชน (ส่งเสริม ๑ ครอบครัว 1 ทักษะ Soft power (1 OFOS) และสร้างรายได้แก่ประชาชน ภายในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดจันทบุรี โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี จึงได้กำหนดจัดกิจกรรมอบรมการเสริมสร้างทักษะอาชีพ ภายใต้โครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดจันทบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567โดยได้ประสานงานผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และคณะ ไปเป็นวิทยากรในการให้คำปรึกษา ในการประชุมหารือการเสริมสร้างทักษะอาชีพ เพื่อนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันภายในชุมชน (การวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่ม “น้ำพริกลูกรัง”) ในวันพุธที่ 26มิถุนายน 2567 ณ วัดหนองอ้อ ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี มีผู้เข้ารับบริการจำนวน 19 คน

          สรุปผลการวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มแปรรูปน้ำพริกลูกรัง ระหว่างทีมงานจากมหาวิทยาลัย และสมาชิกของกลุ่ม สรุปผลได้ดังนี้

          ปัญหาที่พบ

คุณภาพของน้ำพริกที่ผลิตออกมา มีคุณภาพ และรสชาติ ไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากติดปัญหาเรื่องสถานที่ผลิต เพราะการผลิตในปัญจุบัน ผู้นำกลุ่มจะแบ่งไปให้สมาชิกทำการแปรรูปน้ำพริกกันที่บ้าน

          แนวทางการพัฒนา /โจทย์การทำงาน

          1.  พัฒนาด้านความสม่ำเสมอของคุณภาพ

                   - พัฒนารสชาติ ให้กลมกล่อม

                   - พัฒนาด้านสีของน้ำพริก ให้มีสีแดงน่ารับประทาน

                   - พัฒนาด้านเนื้อสัมผัส ให้มีความเหนียวและเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน และมีความแห้งกว่าสูตรเดิม

          2. การยืดอายุการเก็บรักษา

                     - กลุ่มอยากให้น้ำพริกเก็บได้นานมากกว่า 3 เดือน

          3. การปรับปรุงบรรจุภัณฑ์

                   - กลุ่มเห็นชอบให้ ทีมงานจากมหาวิทยาลัย เลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ของผลิตภัณฑ์น้ำพริกลูกรัง แต่เน้นฉลากเฉดสีม่วง



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 04/07/2567 [17044]
1000 19
3 [17043]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนเมษายน 2567 - มิถุนายน 2567

กิจกรรมที่ 5 บริการข้อมูลเทคโนโลยี ด้านการวิจัยและพัฒนา

          หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) มีกำหนดจัดการประชุมตรวจติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน เครือข่ายภาคตะวันออก ประจำปีงบประมาณ 2566 รอบ 18 เดือน ระหว่างวันที่ 18 - 20 มิถุนายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี นั้น

          ช่วงเวลาการดำเนินกิจกรรม วันที่ 19 มิถุนายน 2567 เวลา10.00 – 12.00 น. ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ดังรายนามต่อไปนี้

              1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาภาพร บุญมี   ตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี กำกับดูแลงานพัฒนาท้องถิ่น และอุทยาวิทยาศาสตร์

              2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทธินันท์  โสดวิถี  ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ

3. นายพันศักดิ์  สุทธิสวัสดิ์  ตำแหน่ง ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI)

4. นายสหรัฐ  ศรีครินทร์  ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ

               5. นางสาวกนกวรรณ  คงสวน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการโครงการหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณพ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม

ได้นำคณะกรรมการจาก มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ และมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 14 ท่าน เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานด้านห้องปฏิบัติการ การทำงานร่วมกับชุมชน ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก  มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี เป็นตัวแทนต้อนรับ และนำเสนอการดำเนินงานด้านห้องปฏิบัติการ และการบริการวิชาการสู่ชุมชน

          จากการเข้าศึกษาดูงานของหน่วยงานภายนอก ทำให้สามารถขยายผลความเชี่ยวชาญ ด้านห้องปฏิบัติการ โรงงานแปรรูปสมุนไพร และหลักสูตรการจัดอบรม ความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอด ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก และคลินิกเทคโนโลยี โดยมหาวิทยาลัยบูรพา จะนำเทคโนโลยีที่มีความพร้อมของ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ไปประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ประกอบการ ที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย ให้มารับบริการ หรือขอรับความต้องการ ให้ตรงประเด็น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับผู้ประกอบการ ชุมชน SMEs และหน่วยงานเอกชลได้ ในอนาคต



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 04/07/2567 [17043]
1000 14
3 [17042]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2567เดือนเมษายน 2567 - มิถุนายน 2567

กิจกรรมที่ 4 ให้คำปรึกษาการผลิตน้ำปลาจากหอยพอก

          วิทยาลัยชุมชนตราด ได้เชิญวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ไปเป็นวิทยากรให้ความรู้ เรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหอยพอก ภายใต้โครงการบริการให้คปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2567 ของวิทยาลัยชุมชนตราด ซึ่งมหาวิทยาลัยมองหมายให้

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี

2. นายคฑาวุธ สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี

3. นางสาวกรรณิการ์แสงภู่ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ

4. นางสาวสิริวิมล  วรรณโคตร ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์

         ไปเป็นวิทยากรอบรม ในวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ณ ชุมชนบ้านท่าระแนะ หมู่ที่ 6 ตำบลหนองคันทรง อำเภอเมือง จังหวัดตราด ซึ่งชุมชนบ้านท่าระแนะ เป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ริมคลอง เรียกกันว่าคลองเจ๊ก ที่อยู่ในพื้นที่ป่าชายเลนอายุเก่าแก่กว่า 200 ปี ต้นไม้แต่ละต้นมีขนาดใหญ่ เป็นผืนป่าชายเลนขนาดใหญ่เนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงคอยหล่อเลี้ยงชีวิตของคนในชุมชนมายาวนาน ซึ่งความโดดเด่นในความเก่าแก่ ความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน บ้านท่าระแนะทำให้เกิดลักษณะพื้นที่ที่เป็นเอกลักษณ์ มีเสน่ห์สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว

         ซึ่งคลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยชุมชนตราด ได้ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหอยพอกให้เป็นผลิตภัณฑ์น้ำปลา กับทีมวิทยากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จึงเกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำปลาจากหอยพอกขึ้น ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนก่อนหน้านี้ จนได้ผลิตภัณฑ์น้ำปลาจากหอยพอก และนำมาสู่การบริการให้คำปรึกษา ให้กับสมาชิกของกลุ่มชุมชนบ้านท่าระแนะ จังหวัดตราด มีผู้เข้ารับบริการให้คำปรึกษา จำนวน 16 ราย

         หลังจากการอบรม จะมีการติดตามผล เรื่องผลิตภัณฑ์น้ำปลาจากหอยพอก ที่สมาชิกของชุมชนได้ทำการแปรรูประหว่างการอบรม และเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ทำการชุมชนบ้านท่าระแนะ เรื่องระยะเวลาการหมัก การตากแดดประมาณเดือนละ 2 ครั้งเพื่อเร่งการย่อยสลาย และการปนเบื้อนเชื้อหรือไม่ (งบประมาณคลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยชุมชนตราด)      



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 04/07/2567 [17042]
0 16
3 [17037]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 3ประจำปีงบประมาณ 2567เดือนเมษายน 2567 - มิถุนายน 2567

กิจกรรมที่ 3 ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์

          เครือข่าย C-UBI ภาคตะวันออก หน่วย UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้ดำเนินการบ่มเพาะผู้ประกอบการ Start-up Companiesให้กับผู้ประกอบการ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ชื่อผลิตภัณฑ์/ธุรกิจ/แบรนด์ :  “การองฮิ”

2. ประเภทกลุ่มธุรกิจ :  การเกษตรและการแปรรูปทางการเกษตร

3. ชื่อผู้ประกอบการ : นางสาว เพ็ญพิชชา พิพัฒน์ชัยกิจ

4. ที่อยู่ปัจจุบัน : 37/26 ม.7 ต.เกาะขวาง อ.เมือง จ.จันทบุรี

5. โทรศัพท์ : 092 6934278

6. การใช้บริการบ่มเพาะ เครือข่าย C-UBI ภาคตะวันออก หน่วย UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี : (ระบุเป็นข้อๆ ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ)

    6.1 พัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้ได้มาตรฐาน

    6.2 ออกแบบและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

    6.3 การส่งเสริมการตลาด และองค์ความรู้ด้านธุรกิจ

    ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก  มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี นายพันศักดิ์  สุทธิสวัสดิ์  ตำแหน่ง ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) นายสหรัฐ  ศรีครินทร์  ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ และนางสาวกนกวรรณ  คงสวน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการโครงการหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม ได้มาขอรับคำปรึกษา เรื่องการปรับปรุงสูตรน้ำสำรอง กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และนายคฑาวุธ สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เนื่องจากสูตรเดิมที่ผู้ประกอบการดำเนินการผลิตอยู่ เนื้อสำรองมีความอิ่มน้ำ และเทออกจากขวดยากในระหว่างการบริโภค หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจจึงเข้ามาปรึกษาการพัฒนาปรับปรุงสูตรเพิ่มโดยที่ใช้นำตาลทดแทน น้ำตาลหล่อฮังก้วย (Monk fruit sweetener) เป็นสารสกัดจากธรรมชาติและไม่มีแคลอรี่ เป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนดูแลสุขภาพ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถทานง่าย และเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอีกอย่างหนึ่ง เป็นที่ต้องการของตลาดเทรนด์สุขภาพเป็นอย่างยาวนาน

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ได้มอบหมายให้ นายคฑาวุธ สว่างดี ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำสำรองพร้อมดื่ม จากน้ำตาลหล่อฮังก้วย ให้กับหน่วยบ่มเพาะวิสากิจ เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบสำหรับถ่ายทอดให้ผู้ประกอบการ ในโครงการการบ่มเพาะผู้ประกอบการ Start-up Companiesในขั้นต่อไป จนได้ผลิตภัณฑ์น้ำสำรองพร้อมดื่มบรรจุขวดแล้ว ที่ผู้ประกอบการและหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มีความพึงพอใจที่ผ่านการฆ่าเชื้อ โดยใช้เครื่องฆ่าเชื้อภายใต้แรงดัน (retort) สามารถเก็บรับษาได้นานที่อุณหภูมิห้อง  ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 04/07/2567 [17037]
2000 1
3 [17035]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 3ประจำปีงบประมาณ 2567เดือนเมษายน 2567 - มิถุนายน 2567

กิจกรรมที่ 2 การเข้าร่วมประชุมการทบทวนแผนปฏิบัติการ

          ด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในระดับภูมิภาค” ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ตั้งแต่วันที่ 8 – 9  พฤษภาคม 2567 ณ โรงเเรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร มีตัวแทนมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และผู้แทนคลินิกเทคโนโลยีเข้าร่วม ดังนี้

          1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาภาพร บุญมี   ตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี เป็นตัวแทนเข้าร่วม อว.ส่วนหน้าจังหวัด

          2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี เป็นตัวแทนเข้าร่วม เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี (Clinic Technology)

          3. นายคฑาวุธ  สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เป็นตัวแทนเข้าร่วม เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี (Clinic Technology)

          วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ช่วงเวลาระหว่าง 16.30 – 18.00น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี  ได้รับเชิญขึ้นอภิปราย เรื่อง “Show & Share success การพัฒนางานด้าน ววน. ในพื้นที่” โดยนำเสนอผลการดำเนินโครงการ บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ให้กับ ผู้บริหาร ผู้แทน เจ้าหน้าที่ และผู้เข้าร่วมประชุม ในระดับภูมิภาค ภาคกลางและตะวันออก



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 04/07/2567 [17035]
5000 0
3 [17004]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนเมษายน 2567 - มิถุนายน 2567

กิจกรรมที่ 1 โครงการวิเคราะห์คุณภาพสินค้าเกษตร (ตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งเนื้อทุเรียนก่อนตัด)

    ด้วยทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและนำรายได้เข้าสู่จังหวัดจันทบุรีปีละหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งการซื้อขายทุเรียนแต่ละฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา พบว่ามีการตัดทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) คละปนออกมาและนำเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในคุณภาพทุเรียนจังหวัดจันทบุรี ทั้งในและต่างประเทศ จังหวัดจันทบุรี ได้มีมาตรการควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ โดยกำหนดให้เกษตรกรผู้ที่จะขาย และมือตัดที่จะตัดทุเรียนนั้น มีการตรวจก่อน เพื่อควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ ออกสู่ตลาด ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตรวจก่อนตัด (ตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียนก่อนตัด) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานและชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจตรวจก่อนตัด เพื่อควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาด ในฤดูกาลผลิต ปี พ.ศ. 2567

   เพื่อเป็นการอำนวยสะดวก และการบริการประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ ในช่วงระระเวลาการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก,คลินิกเทคโนโลยี สำนักบริการวิชาการ, และคณะเทคโนโลยีการเกษตร เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมด้านสถานที่ เครื่องมือ และบุคคลากร และงบประมาณ ด้านการวิเคราะห์หาความแก่อ่อนของทุเรียน ในช่วงประกาศการเก็บเกี่ยวตามประกาศของจังหวัด มหาวิทยาลัยจึงเปิดศูนย์รับวิเคราะห์ผลผลิตทางการเกษตร ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก

มหาวิทยาลัยมีวิธีการดำเนินงานภายในโครงการ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

          จุดที่ 1 กรองทุเรียนก่อนลงทะเบียน คือ ถ้าผ่า เจาะ ป้ายยา ขั้วแห้ง  ไม่รับตรวจ  เจ้าหน้าที่ประจำจุด นางสาวสุวนันท์  เนื่องแนวน้อย

          จุดที่ 2 จุดลงทะเบียนและลงรหัสที่ลูก โดยใช้ใบ GAP (ไม่หมดอายุ) และสำเนาบัตรประชาชนผู้ส่งตรวจ เจ้าหน้าที่ประจำจุด นางสาวสิริวิมล  วรรณโคตร

          จุดที่ 3 จุดผ่าลูก การผ่าให้ได้เนื้อกลางลูกมากที่สุด และใส่เนื้อในตะกร้าที่มีรหัสตรงกับลูก  เจ้าหน้าที่ประจำจุด นางสาวนวลพรรณ ผลพูล ,นางผสม  เฟื่องภักดิ์ และเจ้าหน้าที่ส่วนกลางของมหาวิทยาลัย วันละ 2 คน ผลัดเปลี่ยนเวรการผ่า 

          จุดที่ 4 การวัดค่าด้วยเครื่อง NIR  สแกน 6-12 ซ้ำ จนกว่าจะได้ค่าที่นิ่ง และไม่ error  เจ้าหน้าที่ประจำจุด นางสาวกรรณิการ์  แสงภู่  และนายสพล  ภู่ใหม่

          จุดที่ 5 การรายงานผลผ่านระบบ   เจ้าหน้าที่ประจำจุด นายคฑาวุธ  สว่างดี เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี

          จุดที่ 6 รับใบรายงาน ต้องตรวจชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ในใบรายงานให้ตรงกับข้อมูลแปลงที่นำมาตรวจ  เจ้าหน้าที่ประจำจุด นางสาวสิริวิมล  วรรณโคตร

รายชื่ออาจารย์และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จากคณะเทคโนโลยีการเกษตร ระหว่างวันที่ 17เมษายน 2567 – 20 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก  มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ       ตำแหน่ง ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรพร  สวัสดิการ               ตำแหน่ง รองศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก

3. รองศาสตราจารย์ ดร.วริศชนม์  นิลนนท์          อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพร  สังข์สุวรรณ              อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กุลพร  พุทธมี                  อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สุทิศา  ชัยกุล               หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยาดรุ้ง  สุวรรณรัตน์     หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรวิทย์  รัศมี             อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิกันยา  ประทุมยศ        อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพรรณ  สุขุมพินิจ     อาจารย์สาขาวิชาเกษตรศาสตร์

11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงรัตน์  สวัสดิ์มงคล        อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรชัย  เหลืองวารี            อาจารย์สาขาวิชาเกษตรศาสตร์

13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารยา  แดงโรจน์             อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

14. อาจารย์ ดร.สรวีย์  ธัญญมาดา                    อาจารย์สาขาวิชาเกษตรศาสตร์

15. อาจารย์ขนิษฐา  รัตน์ประโคน                    อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

16. อาจารย์นภาพรรณ  หนิมพานิช                   อาจารย์สาขาวิชาเกษตรศาสตร์

        ผลการดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 17เมษายน 2567 – 20 พฤษภาคม 2567 มีเกษตรกรเจ้าของสวน ,มือตัดอิสระ และเจ้าของล้ง นำทุเรียนมาตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งเนื้อทุเรียนก่อนตัด จำนวน 156 คน จำนวนตัวอย่าง (ทุเรียน) 235 ตัวอย่าง สามารถสรุปการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน จุดบริการตรวจก่อนตัดมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ประจำปี 2567ด้วยเทคนิค NIR (FT- NIR Spectroscopy) ดังรายละเอียดภาพด้านล่าง



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 04/07/2567 [17004]
10000 156
2 [16491]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566

          1. คลินิกเทคโนโลยี สำนักบริการวิชาการ เข้าร่วมงาน ”ตลาดนัดงานวิชาการสัปดาห์ วิทยาศาสตร์” ที่จัดโดยหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ระว่างวันที่ 18 - 19 ธันวาคม 2566 ณ พื้นที่บริเวณ ทางเดิน Cover-way ด้านหลังกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เพื่อบริการด้านวิชาการ ให้กับผู้ร่วมงาน สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิดวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต สิ่งแวดล้อม และสังคม BCG เรียน เล่น งาน อาชีพ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          2. ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้ดำเนินงานด้านบริการวิชาการ วิจัยลพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดสอบสินค้าเกษตรและอาหาร รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ประกอบการ ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเทคโนโลยี และยกระดับมาตรฐาน ผลผลิตทางการเกษตรให้ ชาวบ้าน เกษตรกร ชุมชน วิสาหกิจ SMEs หน่วยงานราชการ และเอกชล โดยมีคลินิกเทคโนโลยี เป็นสื่อกลางในการประสานงาน การจัดการอบรม และวิทยากร ในการดำเนินโครงการต่างๆ นั้น ซึ่งกิจกรรมในไตรมาศที่ 1 ประจำปี 2567 ได้มีการจัดหลักสูตรการอบรมขึ้นมา ตามความต้องการของผู้ประกอบการ จำนวน 3 หลักสูตร ดังนี้    

              2.1 หลักสูตร การผลิตเครื่องดื่มเชิงธุรกิจ วันที่ 13 ธ.ค. 66  มีผู้เข้าร่วมจำนวน 19 คน

              2.2 หลักสูตร การผลิตอาหารเสริมเพื่อธุรกิจ (แคปซูล) และการหมักคอมบูชาเพื่อสุขภาพและความงาม ในวันที่ 19 ธ.ค. 66        มีผู้เข้าร่วมจำนวน 17 คน

              2.3 หลักสูตร การวิเคราะห์ธาตุอาหารใบทุเรียน เพื่อพยากรณ์ผลผลิต ในวันที่ 20 ธ.ค. 66  มีผู้เข้าร่วมจำนวน 12 คน

ด้านการแปรรูปอาหารและเครื่องดื่มเพื่อธุรกิจ มีวิทยากร ดังนี้

- ผศ.ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ       - ผศ.จิพร  สวัสดิการ                     - รศ.ดร.วริศชนม์  นิลนนท์              - ผศ.กุลพร  พุทธมี                  - ผศ.สุพร  สังข์สุวรรณ์               - อาจารย์ขนิษฐา  รัตน์ประโคน            - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์                

- นายคฑาวุธ  สว่างดี                - นางสาวสุวนันท์ เนื่องแนวน้อย     - นางสาวจันจิรา  จินโนรส               - นางสาวปารณีย์  สร้อยสรี         - นางสาวกรรณิการ์  แสงภู่         - นางสาวนัดกานต์  สมบูรณ์ธรรม

การวิเคราะห์ธาตุอาหารใบทุเรียน เพื่อพยากรณ์ผลผลิต มีวิทยากร ดังนี้

          - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิกันยา ประทุมยศ               - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เลิศชัย จิตร์อารี             - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทิศา ชัยกุล

ผู้ประสานงาน นางสาวสิริวิมล  วรรณโคตร

          องค์ความรู้ที่ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับคือ แนวทางแก้ปัญหาทางธุรกิจ, องค์ความรู้ที่ประยุกต์ใช้ได้จริง, เทคนิคและเคล็ดลับที่เกี่ยวข้องกับเกษตรและอาหาร, สูตรที่พร้อมผลิตและจำหน่าย และกระบวนการผลิตที่เหมาะสม

ไตรมาส 1 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีผู้มารับบริการให้คำปรึกษา จำนวน 48 คน มีความพึงพอใจร้อยละ 84.83 ดังข้อมูลต่อไปนี้

 

1. ความเหมาะสมของสถานที่ในการจัดกิจกรรมฝึกอบรม                               คิดเป็นร้อยละ    95.00

2. ความเหมาะสมของอาหารและเครื่องดื่มที่ให้บริการในระหว่างการฝึกอบรม  คิดเป็นร้อยละ    90.00

3. ความเหมาะสมของระยะเวลาในการฝึกอบรม                                            คิดเป็นร้อยละ    63.33

4. ความเหมาะสมของหัวข้อในการฝึกอบรม                                                  คิดเป็นร้อยละ    88.33

5. การให้บริการและการอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่                              คิดเป็นร้อยละ    93.33

6. ความรู้ความสามารถของวิทยากร                                                              คิดเป็นร้อยละ    96.67

7. ประโยชน์ที่ได้จากการนำองค์ความรู้ในการฝึกอบรมครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้       คิดเป็นร้อยละ    88.33

8. ความพึงพอใจของท่านต่อกิจกรรมในภาพรวม                                            คิดเป็นร้อยละ    90.00

9. ความรู้และความเข้าใจของท่านในหัวข้อที่อบรมก่อนการเข้าฝึกอบรม         คิดเป็นร้อยละ    61.67

10. ความรู้และความเข้าใจของท่านในหัวข้อที่อบรมหลังการเข้าฝึกอบรม        คิดเป็นร้อยละ    81.67

                                                                                          ค่าเฉลี่ยรวม      คิดเป็นร้อยละ    84.83



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 04/04/2567 [16491]
20000 48
2 [16493]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนมกราคม 2567 – มีนาคม 2567

1. ตามที่ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีกำหนดการเข้าเยี่ยมชมและ นำเสนอภาพรวมของอุทยานวิทยาศาสตร์ ภายใต้กิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก (RSP First Miles) โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอภาพรวม การดำเนินแผนงานต่าง ๆ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแต่ละแผนงานภายใต้การเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ ขั้น 2อาคารศูนย์การเรียนรู้การเงินและการลงทุน ธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีผู้แทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เข้าร่วมดังนี้

         1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาภาพร บุญมี   ตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี กำกับและดูแลงานอุทยานวิทยาศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัย

          2. นายพันศักดิ์  สุทธิสวัสดิ์ ตำแหน่ง ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ เป็นตัวแทนเข้าร่วม เครือข่ายหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator: UBI)

          3. นายคฑาวุธ  สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เป็นตัวแทนเข้าร่วม เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี (Clinic Technology) 

          4. นางสาวกนกวรรณ  คงสวน ตำแหน่ง ผู้จัดการหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อสุขภาพและความงาม

          โดย ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม นำเสนอภาพรวมของอุทยานวิทยาศาสตร์ นำเสนอภาพรวมการเชื่อมโยง และส่งต่อผู้ประกอบการ ภายใต้โครงการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (นิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) และโครงการยกระดับความพร้อมของเทคโนโลยีฯ /และโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นฯ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาภาพร บุญมี ตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี กำกับและดูแลงานอุทยานวิทยาศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัย ได้สอบถามประเด็นในที่ประชุม เรื่องการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัย ว่าจะมีแนวทางการดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อการพัฒนารูปแบบความร่วมมือ กลไกการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และหน่วยงานภาคีในพื้นที่ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพย์สินทางปัญญา และการใช้ประโยชน์ จากวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแบบมีส่วนร่วมในเชิงพาณิชย์และสังคม ต่อไปในอนาคต

 

2. โรงเรียนเตรียมศึกษานายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 – 3 เข้าเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารและพืชสมุนไพร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี  ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร ภาคตะวันออก เทคโนโลยีการเกษตร คณะคลินิกเทคโนโลยี ได้ดำเนินการดังนี้

      1. บริการข้อมูลเทคโนโลยี คือแจกเอกสารแผนพับเทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอด และองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสินค้าเกษตร อันจะนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของนักเรียน  บรรยายให้ความรู้โดย ผศ.ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ

     2. การบริการให้คำปรึกษา ประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

          2.1 SHAKE & ENJOY เรียนรู้การแปรรูปเครื่องดื่มจากสมุนไพร (ไซเดอร์กระวาน)

          วิทยากร          1. ผศ.จิพร  สวัสดิการ

                  2. อาจารย์ขนิษฐา  รัตน์ประโคน

                  3. นางสาวสุวนันท์ เนื่องแนวน้อย

          2.2 HERBS & BEAUTY เรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปเครื่องดื่มสมุนไพรชนิดผง เพื่อความงามและการบำรุง (ผง Shake สมุนไพรจากกระวาน)

          วิทยากร          1. ผศ.สุพร  สังข์สุวรรณ์

                               2. นายคฑาวุธ  สว่างดี

                               3. นางสาวจันจิรา  จินโนรส

                              4. นางสาวปารณีย์  สร้อยสรี

          2.3 ห้องปฏิบัติการ (การวิเคราะห์หาสารต้านอนุมูลอิสระจากกระวาน)

          วิทยากร          1. รศ.ดร.วริศชนม์  นิลนนท์

   2. ผศ.กุลพร  พุทธมี

                               3. นางสาวกรรณิการ์  แสงภู่

                               4. นางสาวนัดกานต์  สมบูรณ์ธรรม

          2.4 ผลิตภัณฑ์ แปรรูปอาหาร (ผลิตภัณฑ์จากผลัม)

          วิทยากร          1. ผศ.ดร.หยาดรุ้ง  สุวรรณรัตน์    (การแปรรูป)

                               2. ผศ.ดร.พรพรรณ  สุขุมพินิจ     (การเลี้ยงผลัม)

                               3. นายจิตติภัทร์  จาตุภัทร์

มีผู้เข้าร่วมจำนวน 42 คน

 

3. คลินิกเทคโนโลยี สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก ศูนย์บริการวิชาการเทคโนโลยี วิจัยนวัตกรรม และฝึกอบรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ในการเข้าศึกษาดูงาน หน่วยงานคลินิกเทคโนโลยี สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เพื่อยกระดับและพัฒนาการบริหารงาน การเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ทักษะใหม่ๆ และแนวคิดในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรศูนย์บริการวิชาการเทคโนโลยี วิจัยนวัตกรรม และฝึกอบรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร ภาคตะวันออก

มีผู้เข้าศึกษาดูงานจาก คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 8 ท่าน คือ

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภชัย แก้วจันทร์    ตำแหน่งรองคณบดี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพัตรา วะยะลุน

  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาณุเมศวร์ สุขศรีศิริวัชร

  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงศ์ไกร วรรณตรง

  5. นายพงศกร เดชศิริ

  6. นายวัชระ แหวนเงิน

  7. นายภานุวัฒน์ ธรรมเจริญ

  8. นางสาวนลินี พฤฒิพันธ์พิศทธิ์

และทีมบริหารจากคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ดังนี้

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทธินันท์   โสตวิถี             ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ

  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ       ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี

  3. อาจารย์สามารถ    จันทนา                              รองผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ

  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรพร    สวัสดิการ              คณะกรรมการ

  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงรัตน์  สวัสดิ์มงคล         คณะกรรมการ

  6. อาจารย์ขนิษฐา     รัตน์ประโคน                      คณะกรรมการ

  7. นายพันธุ์ศักดิ์   สุทธิสวัสดิ์                              ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ

  8. นางสาวณัฐยาน์     ถวิลวงษ์                            รักษาการหัวหน้าสำนักงาน สำนักบริการวิชาการ

  9. นายคฑาวุธ  สว่างดี                                        เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี

        ในระหว่างการศึกษาดูงาน ศูนย์บริการวิชาการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้สอบถาม โครงสร้างองค์กร การบริหารงานภายใน ขั้นตอน กระบวนการทำงาน การยื่นขอข้อเสนอโครงการ และแนวคิดการดำเนินงานร่วมกับชุมชนให้ยั่งยืน กับคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยมีทีมบริหารนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทธินันท์   โสตวิถี ได้ตอบคำถามพร้อมแลกเปลี่ยนแนวคิดการทำงานร่วมกัน   

 

ไตรมาส 1 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนมกราคม 2567 – มีนาคม 2567คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีผู้มารับบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลนี จำนวน 50 คน มีความพึงพอใจร้อยละ 84.25 ดังข้อมูลต่อไปนี้

1. ความเหมาะสมของสถานที่ในการจัดกิจกรรมฝึกอบรม                               คิดเป็นร้อยละ    100.00

2. ความเหมาะสมของอาหารและเครื่องดื่มที่ให้บริการในระหว่างการฝึกอบรม  คิดเป็นร้อยละ    95.00

3. ความเหมาะสมของระยะเวลาในการฝึกอบรม                                           คิดเป็นร้อยละ    80.00

4. ความเหมาะสมของหัวข้อในการฝึกอบรม                                                 คิดเป็นร้อยละ    92.50

5. การให้บริการและการอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่                             คิดเป็นร้อยละ    92.50

6. ความรู้ความสามารถของวิทยากร                                                             คิดเป็นร้อยละ    95.00

7. ประโยชน์ที่ได้จากการนำองค์ความรู้ในการฝึกอบรมครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้      คิดเป็นร้อยละ    80.00

8. ความพึงพอใจของท่านต่อกิจกรรมในภาพรวม                                           คิดเป็นร้อยละ    90.00

9. ความรู้และความเข้าใจของท่านในหัวข้อที่อบรมก่อนการเข้าฝึกอบรม          คิดเป็นร้อยละ    42.50

10. ความรู้และความเข้าใจของท่านในหัวข้อที่อบรมหลังการเข้าฝึกอบรม        คิดเป็นร้อยละ    75.00

                                                                                        ค่าเฉลี่ยรวม      คิดเป็นร้อยละ    84.25



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 04/04/2567 [16493]
62250 50