2567 BUU Sakaeo academic service การบริการให้คำปรึกษาเทคโนโลยีสู่ชุมชน   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17392]

 

กิจกรรมที่ 7

โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และศึกษาคุณภาพพืชสมุนไพรในท้องถิ่น

        โครงการนี้มีความสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปสมุนไพรในบ้านทับประดู่ ตำบลท่าเกวียน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้มากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์โครงการ มีดังต่อไปนี้

1.     เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ปลูกในท้องถิ่นให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น

2.     เพื่อศึกษาคุณภาพและสารสำคัญในพืชสมุนไพรในท้องถิ่นของบ้านทับประดู่ ตำบลท่าเกวียน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

3.     เพื่อเพิ่มศักยภาพและความรู้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปสมุนไพรในการพัฒนาและจัดการผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน

4.     เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์สมุนไพรในท้องถิ่น โดยการเสริมสร้างคุณภาพและความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์

ความสำคัญของโครงการ

  • การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น: การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แล้วอย่างยั่งยืน ซึ่งยังช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่น
  • การเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้: การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตของเกษตรกร ทำให้สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนจากการแปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพร
  • การสร้างความรู้และทักษะใหม่ ๆ ให้กับชุมชน: การศึกษาคุณภาพและสารสำคัญในสมุนไพรช่วยให้ชุมชนมีความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น
  • การพัฒนาตลาดและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต: ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีคุณภาพและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถขยายตลาดได้มากขึ้น เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนโดยรวม

 

ผู้เข้าร่วมโครงการคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปสมุนไพรบ้านทับประดู่

ต. ท่าเกวียน อ. วัฒนานคร จ. สระแก้ว จำนวน 18 คน



รายงานโดย ผศ.ดร.ศิริประภา แจ้งกรณ์ วันที่รายงาน 13/09/2567 [17392]
50000 18
4 [17237]

 

กิจกรรมที่ 6

โครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

 

          โครงการนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรและผู้ประกอบการในจังหวัดสระแก้ว ด้วยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรผ่านกระบวนการแปรรูปที่มีคุณภาพ

การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของชุมชน โดยการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่น สร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ

          การอบรมนี้จะช่วยให้เกษตรกรและผู้ประกอบการมีทักษะและความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูป เป็นการสร้างอาชีพที่ยั่งยืนและเพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ลดการสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร

การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์สามารถแข่งขันในตลาดได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคในระยะยาว

 

โดยมีวัตถุประสงค์โครงการ ดังต่อไปนี้

1.      เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการในจังหวัดสระแก้ว

2.      เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรผ่านการแปรรูปที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

3.      เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยการสร้างอาชีพและรายได้เสริมให้กับชุมชน

4.      เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในด้านการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูป

ผู้เข้าร่วมโครงการ คือ ประชาชนทั่วไป เกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 26 คน

 



รายงานโดย ผศ.ดร.ศิริประภา แจ้งกรณ์ วันที่รายงาน 26/08/2567 [17237]
42000 26
3 [16814]

 

กิจกรรมที่ 5

โครงการ การส่งเสริมนวัตกรรมการผลิตเพื่อการยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น จังหวัดสระแก้ว

 

โครงการ "การส่งเสริมนวัตกรรมการผลิตเพื่อการยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น จังหวัดสระแก้ว" จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการนำเอานวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา โครงการนี้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาคุณภาพสินค้า การตลาด และการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

การดำเนินโครงการประกอบด้วยหลายกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การจัดอบรมและสัมมนาเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะทางนวัตกรรม การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการผลิตในท้องถิ่น การจัดหาทุนและทรัพยากรสำหรับการนำเสนอนวัตกรรมเข้าสู่กระบวนการผลิต รวมถึงการสร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ โครงการยังมุ่งเน้นการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เพื่อให้การพัฒนาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสระแก้วเป็นไปอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในระยะยาว

ด้วยการนำเสนอนวัตกรรมและการสนับสนุนที่เป็นระบบ โครงการนี้คาดหวังว่าจะสามารถยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสระแก้วให้มีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสร้างความยั่งยืนและเสถียรภาพให้กับชุมชนในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

 

ดังนั้น เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว โดยโครงการให้บริการด้านเทคโนโลยี BUU Sakaeo Academic Serviceนำโดย คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ได้ดำเนินการจัดโครงการ การส่งเสริมนวัตกรรมการผลิตเพื่อการยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น ณ หมู่บ้านโคกเพร็ก ตำบลทรัพเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครกิตติ์ พัฒนาสัมพันธ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริประภา แจ้งกรณ์ วิทยากร จากคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว และ อาจารย์วุฒิวัฒน์ อนันต์พุฒิเมธ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ประธานสาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดสระแก้ว ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน หมู่บ้านโคกเพร็ก ตำบลทรัพเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมการผลิตเพื่อการยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น

 

กลุ่มเป้าหมายผู้มาขอรับบริการ คือ กลุ่มผู้รับข้อมูลจากการประชาสัมพันธ์ : สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และประชาชนผู้ที่สนใจ  จำนวน 52 คน

 

 



รายงานโดย ผศ.ดร.ศิริประภา แจ้งกรณ์ วันที่รายงาน 19/06/2567 [16814]
34000 52
3 [16812]

 

กิจกรรมที่ 4

โครงการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีแก่กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต

 

ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีไม่เพียงแต่ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพ ความปลอดภัย และการเชื่อมโยงกับสังคม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในชีวิตของผู้สูงอายุมีความหลากหลาย ตั้งแต่อุปกรณ์ช่วยเหลือทางการแพทย์ แอปพลิเคชันสุขภาพ ไปจนถึงการใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุมีข้อดีหลายประการ เช่น การติดตามและตรวจสอบสุขภาพอย่างต่อเนื่องผ่านอุปกรณ์สวมใส่ การใช้แอปพลิเคชันเพื่อจัดการยาและการนัดหมายแพทย์ รวมถึงการใช้เครื่องมือสื่อสารออนไลน์เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนฝูง นอกจากนี้ เทคโนโลยียังช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้กับผู้สูงอายุ ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์และการเข้าถึงข้อมูลที่มีประโยชน์

แม้ว่าจะมีข้อดีมากมาย แต่การนำเทคโนโลยีมาใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุก็ยังมีความท้าทาย เช่น ความไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล และปัญหาด้านการเข้าถึงอุปกรณ์และอินเทอร์เน็ต การให้การศึกษาและการสนับสนุนในการใช้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ ในสังคมที่ผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น การปรับตัวและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุไม่เพียงแต่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขา แต่ยังเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่เทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นในการดูแลสุขภาพและการดำรงชีวิตของทุกคน

 

ดังนั้น เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว โดยโครงการให้บริการด้านเทคโนโลยี BUU Sakaeo Academic Serviceนำโดย คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว จัดโครงการการให้ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีแก่กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต ครั้งที่ 6 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุวัฒนานคร องค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครกิตติ์ พัฒนาสัมพันธ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริประภา แจ้งกรณ์ จากคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว และ คุณเทอดพงษ์ บุญสร้าง ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ ร่วมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งด้านกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และการดูแลพัฒนาตนเองในกลุ่มผู้สูงอายุได้ต่อไปได้ในอนาคต

 

กลุ่มผู้รับบริการ

-  กลุ่มนักเรียนผู้สูงอายุตำบลวัฒนานคร           จำนวน 50 คน

-  บุคลากรโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวัฒนานคร      จำนวน 13 คน

 



รายงานโดย ผศ.ดร.ศิริประภา แจ้งกรณ์ วันที่รายงาน 19/06/2567 [16812]
30000 63
2 [16357]

 

กิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมนวัตกรรมการผลิตเพื่อการยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น

ในหัวข้อโครงการ การถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปูนาสายพันธุ์พระเทพด้วยระบบเลียนแบบธรรมชาติในกลุ่มวิสาหิกจชุมชนที่สนใจ จังหวัดสระแก้ว

 

หลักการและเหตุผลของการจัดโครงการ

          “ปูนา” เป็นอาหารธรรมชาติที่เป็นอัตลักษณ์กลมกลืนกับวัฒนธรรมการกินของชุมชนชนบทมาช้านาน ซึ่งในอดีตปูนากับนาข้าวเป็นของคู่กันและหาจับได้ง่ายตามท้องนาหลังฤดูเก็บเกี่ยว และจัดได้ว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนราคาถูกที่หาได้ง่ายในธรรมชาติ แต่เนื่องจากปัจจุบันการทำนาของเกษตรกรเริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีการใช้สารเคมีและยากำจัดศัตรูพืชมากขึ้นเพื่อการเพิ่มผลผลิต ทำให้ระบบนิเวศในนาข้าวเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของปูนาจนเกือบสูญพันธุ์ ทำให้ปูนาตามธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลงและหาได้ยาก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อศึกษาข้อมูลพบว่า ปูนา ก็ยังเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและขายกันอย่างแพร่หลายมาโดยตลอด และมีการนำเข้าปูนาจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าปูนาจากประเทศเมียนมาปริมาณสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ มีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เป็นปูที่หาได้จากในประเทศ

 

          โดยในปัจจุบันราคาปูนาอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 80-100 บาท จึงมีเกษตรกรสนใจหันมาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ปูนาในเชิงพาณิชย์เพื่อการค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนปูนาได้เป็นอย่างดี ในปี 2562 อาชีพการเลี้ยงปูนาถือเป็นอาชีพใหม่ที่มีแนวโน้มคนให้ความสนใจมากขึ้น (เน็ตประชารัฐ, 2565) เพราะสามารถทำได้เองที่บ้าน อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้มหาศาลให้แก่ผู้เลี้ยง คือการเลี้ยงปูนาเพื่อนำพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ไปจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจเลี้ยงปูนา และการนำไปแปรรูปเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สามารถสร้างมูลค่าให้ได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจาก ปูนา ถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียมชั้นดี เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่อยู่ในวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น มีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ มักพบในเมนูท้องถิ่นของชุมชนภาคเหนือ ภาคอีสาน และขยายไปยังชุมชนเมืองเกือบทั่วประเทศ ดังนั้น การเพาะเลี้ยงปูนาจึงเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะรักษาปูนาให้คงไว้อยู่คู่คนไทย นอกจากอนุรักษ์รักษาพันธุ์แล้วชาวบ้านและเกษตรกรยังมีรายได้เสริมนำมาใช้จ่ายเลี้ยงครอบครัวอีกด้วย

 

          ใน จังหวัดสระแก้ว มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก แต่ในปัจจุบันเกษตรกรพืชไร่ประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ จึงหันมาทำปศุสัตว์การเลี้ยงสัตว์ เช่น แพะ โค กระบือ แต่ก็ยังคงประสบปัญหาเกี่ยวกับปัจจัยด้านต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ที่มีผลมาจากราคาอาหารสัตว์ที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมไปถึงปัญหาเรื่องระบบการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและเรื่องโรคระบาด ส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านรายได้และความเป็นอยู่ที่แย่ลงตามไปด้วย โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งหากเกษตรกรมี “อาชีพทางเลือก” ที่สามารถทำผสมผสานร่วมกับการประกอบอาชีพหลักก็จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องรายได้ อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ดีขึ้นด้วย

 

ภาพการดำเนินโครงการ  https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1OCdBIGXl3O0xok30V5gPB-2eka9Ch56F

 

 



รายงานโดย ผศ.ดร.ศิริประภา แจ้งกรณ์ วันที่รายงาน 30/03/2567 [16357]
34000 40
1 [15976]

 

กิจกรรมที่ 1 โครงการ การประชาสัมพันธ์ศูนย์ให้คำปรึกษาและให้บริการวิชาการ ภายใต้เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

          ในปีปัจจุบัน การบริหารจัดการการให้บริการต่าง ๆ ภายในคลินิกเทคโนโลยีมีแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ BCG Economy Model ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆในการบริการให้คำปรึกษาและการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อชุมชนและผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน เช่น ด้านเกษตรและอาหารด้านพลังงานและวัสดุ ด้านสุขภาพ ด้านการท่องเที่ยวและบริการและด้านความยั่งยืนทา'ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อก่อให้เกิด การสร้างอาชีพ การเพิ่มรายได้ และการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งในการบริการองค์ความรู้สู่ชุมชนมุ่งเน้นการบูรณาในศาสตร์ที่สอดคล้องกับ BCG Economy Modelด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ, ลดมลพิษ, การบริหารจัดการขยะ,การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และแนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความยั่งยืน

          จากการให้บริการชุมชนผ่านกิจกรรมจากเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว เหล่านี้ ทำให้มหาวิทยาลัยเข้าใกล้กับชุมชนมากขึ้น เป็นที่พึ่งด้านวิชาการของประชาชน และเกิดความสัมพันธ์อันดีเยี่ยมในการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงการสร้างโอกาสให้คณาจารย์ นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษาได้ถ่ายทอดองค์ความรู้จากห้องเรียนสู้ชุมชน ผ่านกิจกรรมในโครงการบริการวิชาการภายใต้ชื่อของ “เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี”

          โครงการคลินิกเทคโนโลยี BUU Sakaeo academic service มีกิจกรรมการให้บริการคำปรึกษาตามองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยการประสานงานและการบริหารจัดการเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ชุมชน เพื่อสำรวจความต้องการในพื้นที่ให้บริการและวางแผนดำเนินการส่งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้น ๆ ลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งกิจกรรมหลักที่วางแผนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน มีคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เป็นองค์ความรู้สำคัญด้านการเรียนการสอน โดยแบ่งศาสตร์ความเชี่ยวชาญของบุคลากรในคลินิกเทคโนโลยี ได้ดังนี้

1. ด้านเทคโนโลยีชีวภาพประยุกต์ เทคโนโลยีชีวภาพ จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม

2. ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

3. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาซอฟต์แวร์ และ การจัดการระบบเครือข่าย

4. ด้านพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน และวิสาหกิจชุมชน

5. ด้านการจัดการพลังงานและการประยุกต์ใช้พลังงาน

6. ด้านการพัฒนาเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมผู้สูงอายุ

7. ด้านเทคโนโลยีการเกษตร เช่น ด้านพืช ด้านสัตว์ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร

 

ภาพการดำเนินโครงการ  https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1lRBYtxBikKfaVv38D8l9kwsc1BYPnnKv

 

กิจกรรมที่ 2 การลงพื้นที่พบกลุ่มผู้ประกอบการในท้องถิ่น เพื่อเตรียมถ่ายทอดองความรู้ในการให้บริการด้านเทคโนโลยีแก่ชุมชน

 

ทีมงานและผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและให้บริการวิชาการ ภายใต้เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ลงพื้นที่พบกลุ่มผู้ประกอบการในท้องถิ่น เพื่อเตรียมถ่ายทอดองความรู้ในการให้บริการด้านเทคโนโลยีในกลุ่มที่สนใจ และต้องการให้ช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการผลิต การส่งเสริมการตลาด และการตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

สถานการณ์ปัจจุบัน บริบทการดำรงชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเนื่องมาจากสภาพการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านทิศทางการพัฒนาประเทศที่มีกรอบนโยบายต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของการพัฒนาภาคเกษตรกรรม ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น จึงส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นต้องมีการ เรียนรู้ พัฒนา และปรับเปลี่ยนบริบทในการดำเนินชีวิตให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันด้วย ซึ่งประชาชนในจังหวัดสระแก้วส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก และมีพืชผลการเกษตรที่หลากหลาย รวมไปถึงมีผลิตภัณฑ์ที่ทำการแปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดมากมาย เช่น อ้อย มันสำปะหลัง แคนตาลูป ชมพู่ ลำไย และพืชสมุนไพร เป็นต้น เมื่อภายหลังจากที่จังหวัดได้ประกาศให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ก็เกิดการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมและการพัฒนาด้านเกษตรกรรมที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชน เกษตรกร รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกิดความต้องการองค์ความรู้ใหม่ๆ และเกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เดิมที่มีในพื้นที่เพื่อให้ประชาชน หน่วยงานต่าง ๆ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้เกิดการบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นตามมา นำไปสู่การสร้างแนวทางการพัฒนาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอาชีพของประชาชนในชุมชน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านการพัฒนาของจังหวัดสระแก้ว

ดังนั้นมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว จึงเป็นสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาซึ่งมีพันธกิจในการให้ความรู้และการจัดโครงการบริการวิชาการแก่ประชาชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้าง การพัฒนา และการต่อยอดองค์ความรู้อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อจังหวัดสระแก้ว ซึ่งโครงการให้คำปรึกษาด้านวิชาการภายใต้แผนงานการบริการในนามของโครงการคลินิกเทคโนโลยี BUU Sakaeo academic service นั้น ถือเป็นศูนย์กลางสำคัญที่คอยให้คำปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ประชาชน และเป็นที่พึ่งของชุมชนในด้านวิชาการ นอกเหนือไปจากนั้น ยังให้บริการแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสระแก้วด้วย

ภาพการดำเนินโครงการ  https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1lRBYtxBikKfaVv38D8l9kwsc1BYPnnKv

 



รายงานโดย ผศ.ดร.ศิริประภา แจ้งกรณ์ วันที่รายงาน 19/01/2567 [15976]
26250 66