2567 การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17702]

คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับ มหาวิทยาลัย โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ชุมชนกลุ่มผู้ผลิตและภาคีเครือข่าย สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ และให้คำปรึกษาแก่พื้นที่ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร มีชุมชนที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ตำบลด่านสวี ซึ่งมีการเปิดเป็นโฮมสเตย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการท่องเที่ยวในรูปแบบการชมวิถีชีวิต การทำประมงพื้นบ้าน โดยเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางทะเล (Marin Ecotourism) ความต้องการของชุมชน คือ เส้นทางการท่องเที่ยวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวชและความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตในชุมชน เนื่องจากสภาพแวดล้อมของชุมชนยังคงมีความสมบูรณ์อยู่เป็นอย่างมาก และยังต้องการองค์ความรู้ทางวิชาการในการบริหารจัดการโฮมเตย์ เพื่อให้ได้ซึ่งมาตรฐานของโฮมสเตย์ 



รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 26/09/2567 [17702]
10915 15
4 [17694]

คลีนิกเทคโนโลยี ร่วมกับ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ลงพื้นที่อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง เพื่อสำรวจประเด็นปัญหาและให้คำปรึกษาแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ พบว่ามี 2 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ต้องการรับคำปรึกษา คือ 1. กลุ่มพลังเป็ดสุขสำราญ  ต้องการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เต้าส้อโดยไม่ใช้สารกกันบูด และต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ กระบวนการพัฒนาการผลิตภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาจะต้องกวนไส้ขนมให้มีปริมาณความชื้นน้อยลงและการอบผลิตภัณฑ์ต้องอบให้สุกและมีค่า Aw น้อยกว่า 0.85 2. กลุ่มแปรรูปอาหารทะเลบ้านทะเลนอก ต้องการยืดอายุผลิตภัณฑ์ให้เก็บรักษาไว้นานขึ้นจากเดิมที่เก็บไว้ได้แค่ 3-7 วัน กระบวนการพัฒนาเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาโดยเพิ่มขั้นตอนการนึ่งหลังจากตัดแต่งวัตถุดิบและมีการให้ความร้อนที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณน้ำให้ค่า Aw น้อยกว่า 0.85

   


รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 26/09/2567 [17694]
0 32
4 [17689]

คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ออกหน่วยบริการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายทางเลือกใหม่ที่ให้โปรตีนสูงสำหรับเป็นอาหารสัตว์ วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ณ ศาลาเอนกประสงค์ ต.ตะกุกใต้ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี พบว่า ผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพรโรงเรียนบ้านโพธิ์พนา นักเรียนมีความต้องการองค์ความรู้ด้านการผลิตที่ได้มาตรฐาน และการผลิตสินค้าที่ถูกหลักอนามัยนอกจากนี้ผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานรักษ์โลกของโรงเรียนวัดโพธิ์น้อย นักเรียนต้องการองค์ความรู้ในการออกแบบสินค้าให้เป็นที่น่าสนใจและยังไม่มีโลโก้สินค้า

  


รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 26/09/2567 [17689]
6071 26
4 [17687]

คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่สำรวจความต้องการและให้คำปรึกษาแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าในพื้นที่ยังมีวัตถุดิบในท้องถิ่นอีกมากมาย เช่น กุ้งหลวง (กุ้งแม่น้ำ) หอยกัน ปูดำ และผลิตภัณฑ์จากตาลโตนดท่าฉาง ไม่ใช่แค่กะปิขัดน้ำเพียงอย่างเดียว แต่ทางกลุ่มยังขาดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาแปรรูปวัตถุดิบในท้องถิ่น โดยนำมาพัฒนาเป็นเมนูอาหารพื้นถิ่นที่ใช้วัตถุดิบดังกล่าวให้เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น เพื่อต่อยอดการแปรรูปกะปิขัดน้ำของพื้นที่ตำบลท่าเคยสู่การสร้างการรับรู้และการสร้างเอกลักษณ์ของชุมชนให้เป็นที่จดจำ และการยกระดับมูลค่าของผลิตภัณฑ์ต่อไป



รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 26/09/2567 [17687]
1272 30
4 [17685]

ลงพื้นที่สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ และวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกับมหาวิทยาลัย โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ชุมชนกลุ่มผู้ผลิตและภาคีเครือข่าย ในพื้นที่ตำบลขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เกษตรกรเลี้ยงปลากินพืชในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความต้องการพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงปลาเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงปลากินพืช  และจากการประสานงานผ่านหน่วยงานกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าในพื้นที่อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปริมาณปูม้าในธรรมชาติลดน้อยลง จึงมีการจัดตั้งธนาคารปูม้าขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราการรอดของประชากรปูม้า แต่อัตราการรอดของประชากรปูม้าในธนาคารปูม้าลดน้อยลงจึงมีความต้องการองค์ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับการเพาะฟักลูกปูม้า 



รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 26/09/2567 [17685]
3260 36
4 [17604]

ไตรมาสที่ 4 

คลินิคเทคโนโลยี ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารตำบลท่าเคย โดยดำเนินการในกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการเก็บรักษาและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งของผลิตภัณฑ์ซอสกะปิ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนากระบวนการเก็บรักษาและบรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง ในวันที่ 22 กันยายน 2567 ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมซอสกะปิจะเป็นแบบบรรจุขวดซึ่งในกระบวนการขนส่งมีโอกาสทำให้ขวดแตกได้ และการบรรจุในขวดแก้วซึ่งเป็นขวดที่ค่อนข้างมาน้ำหนักส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งแพงขึ้นด้วย การถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งนี้มีการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากขวดแก้วเป็นซองอลูมิเนียมฟลอยที่มีความหนาอย่างน้อย 200 ไมครอน และฆ่าเชื้อด้วยกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ทำให้สาสมารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น



รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 24/09/2567 [17604]
12012 30
4 [17603]

ไตรมาสที่ 3 

การประชุมส่งเสริมการทำงานและทบทวนแผนการปฏิบัติงานแก่บุคลากรดำเนินงาน 



รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 24/09/2567 [17603]
7720 3
4 [17598]
ไตรมาสที่ 4 การให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 256ึ7 กิจกรรมการประสานงานและบริหารจัดการเครือข่าย - ค่าจ้างเหมาบุคคลธรรมดา ช่วยงานวุฒิปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาใกล้เคียง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 – กันยายน 2567 จำนวน 11 เดือน × 15,000 บาท เป็นเงิน 165,000 บาท

รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 24/09/2567 [17598]
165000 1
4 [17596]

ไตรมาสที่ 2

วันที่ 30 มกราคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพื้นที่เทศบาลตำบลคลองชะอุ่น และร่วมปรึกษาหารือกับ นายไพฑูรณ์ คงเดิม นายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่น และ นายปกิต ทนุผล ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่น พบว่า ผลิตภัณฑ์จักสานจากย่านงด พบปัญหาด้านการเหลาย่านงดที่เป็นเส้นที่เท่าๆ กัน ผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทอง มีความต้องการองค์ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมสร้างการรับรู้ให้แก่ผลิตภัณฑ์จากย่านงดในงาน University Project : SRU Soft Power วันที่ 10 - 11 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล สุราษฎร์ธานี



รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 24/09/2567 [17596]
0 18
2 [16645]

รายงานผลการดำเนินงานโครงการ

การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

(ไตรมาส 2)

ภายใต้แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี

(Technology Consulting Service : TCS)

 

 

 

 

โดย

คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

 

     ในปีงบประมาณ 2567 คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีแผนที่จะดำเนินการบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูล เทคโนโลยีในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดใกล้เคียง โดยครอบคลุมประเด็นที่เชี่ยวชาญคือ (1) เทคโนโลยีด้าน อาหาร ได้แก่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การยกระดับและแปรรูปผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงการผลิต (2) เทคโนโลยีการผลิต อาหารต้นทุนต่ำเพื่อเลี้ยงโค เป็ด ไก่ไข่ สุกร และแพะ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (3) การผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อ ใช้ในครัวเรือน (4) การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปลูกพืชอินทรีย์แบบปลอดสารพิษในครัวเรือน (5) การแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดธรรมชาติและพืชสมุนไพร (6) เทคโนโลยีการผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ตามฤดูกาล ในการดำเนินการโครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีจะร่วมกับคณะหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย อว.ส่วนหน้าและภาคีเครือข่ายส่วนราชการต่างๆในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยลงพื้นที่เพื่อสำรวจ ปัญหาความต้องการและรับฟังปัญหาของชุมชน และนำความต้องการที่ได้รับมาสังเคราะห์เพื่อหาโจทย์ เทคโนโลยี/องค์ความรู้และแนวทางในการแก้ไข เช่นการลงพื้นที่ให้คำปรึกษา การอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งนี้ ยังมีการดำเนินงานโดยบูรณาการร่วมกับงานบริการวิชาการของคณะและมหาวิทยาลัยควบคู่ไปด้วย คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัย   ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินกิจกรรมการบริการให้คำปรึกษาและการให้บริการข้อมูลเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ดังนี้

  1. กิจกรรมการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีทั้งในและนอกสถานที่

ประเด็น
ขอรับบริการ

ผู้ขอรับบริการ

วันที่
ขอรับบริการ

การให้คำปรึกษา

ผู้ให้บริการคำปรึกษา

หมายเหตุ

1. น้ำพริกกะลามีอายุการเก็บสั้น  สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้นาน 3 วัน และเก็บในตู้เย็นได้นาน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นน้ำพริกะลาจะเสีย เนื่องจากการเจริญของเชื้อรา ส่งผลให้น้ำพริกไม่มาสามารถส่งไปจําหน่ายในที่ไกล ๆ ได้

 

 

กลุ่มแปรรูปอาหารทะเลบ้านทะเลนอก อำเภอสุขสำราญ

(สนธยา ผดุงชาติ)

19 หมู่ 1 บ้านทะเลนอก ต.กำพวน อ. สุขสาราญ จ.ระนอ

25 ม.ค. 67

ด้วยกระบวนการผลิตน้ำพริกกะลาเป็นตามภูมิปัญญาดั้งเดิม คือการนำวัตถุดิบต่างๆ (พริก กระเทียม หอม ขมิ้น ตะไคร้ และพริกไทย) มาล้างทําความสะอาด ตัดแต่ง และตําให้เข้ากัน ปรุงรสจจากนั้นนำน้ำพริกที่ได้มาแผ่บางๆ บนกะลาที่ทําความสะอาดแล้ว ย่างเตาถ่านประมาณ 15 นาที รอให้เย็น แล้วห่อหุ้มกะลาด้วยแผ่นฟิล์มพลาสติกยืดเพื่อรอจําหน่ายต่อไป โดยกระบวนการผลิตนํา้พริกกะลาในบางกระบวนการนั้นสามารถปรับปรุงเพื่อให้กระบวนการผลิตถูกสุขอนามัยและสามารถยืดอายุการเก็บน้ำพริกกะลาได้  

ผศ.ดร.พราวตา จันทโร

ผศ.ดร.อุราภรณ์ เรืองวัชรินทร์

ลงพื้นที่ร่วมกับกิจกรรมการเตรียมความพร้อมพัฒนาข้อเสนอโครงการภายใต้ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” จังหวัดระนอง

2. ต้องการยืดอายุการเก็บขนมเปี๊ยะเต้าส้อไข่เค็ม เนื่องจากที่ผลิตปัจจุบันไม่ใส่สารกันบูดเก็บได้นาน 6 วัน ณ อุณหภูมิ ห้องหลังจากนั้นจะขึ้นรา

กลุ่มพลังเป็ดสุขสาราญ

(ประไพ เรืองฤทธ)ิ์

160 หมู่ที่ 1 ถนนเพชรเกษม ต.นาคา อ.สุขสาราญ

จ.ระนอง

25 ม.ค. 67

ควรพัฒนา​และ​ออกแบบ​กระบวน การ​ผลิต​เต้าส้อให้ลด​ปริมาณ​ความชื้น​ในส่วน​ผสม​วัตถุดิบ​ให้​ตํ่าลง​ได้ เช่น​การก​วน​ไส้ถั่วให้​มี​ปริมาณ​ความชื้น​น้อย​ลง​และร่วม​กับ​การ​ใช้​บรรจุ​ภัณฑ์​ที่​มี​การ​ควบคุมการ​ซึม​ผ่าน​ของ​ไอ​นํ้าและ​การ​ใช้​ซอง​วัตถุ​ดูด​ซับ​ออก​ซิ​เจนนอกจาก​นี้ในขั้นตอนการผลิตควรมี​การ​ควบ​คุม​คน​สถาน​ที่ วัตถุ​ดิบ​อุป​กร​ณ์ กระบวนการ​ผลิต เพื่อ​ทําให้​อาหาร​ปลอด​ภัย​ก็​จะ​ทำให้สามารถเก็บ​รักษา​ได้นาน​ขึ้น​และ​สอดคล้อง​กับ​มาตร​ฐาน ​อย.

อาจารย์รวง​นลิน​เทพ​นวล

ดร.สุพรรณิการ์    ศรีบัวทอง

ดร.อรุโณทัย
เจือมณี

3. การแปรรูปกล้วยหอมทองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

 

นางจิราพร สงวนพันธ์ ประธานกลุ่มพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านคลองชะอุ่น หมู่ที่ 2 บ้านแสนสุข หมู่ที่ 7 บ้านบางเตยและ หมู่ที่ 13 บ้านบางหลุด

12 มี.ค. 67                    ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ       สุราษฎร์ธานี

การพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทอง เช่น

การทำแป้งกล้วยหอมทองผสมสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา  หรือผลิตภัณฑ์ทางเครื่องสำอางเช่นโลชั่น ครีมบำรุงผิว

รวมทั้งทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ

ดร.สมปราชญ์      วุฒิจันทร์

ผศ.ดร.นรา
พงษ์พานิช

ผศ.ดร.ชลิดา เลื่อมใสสุข

อาจารย์คมกฤษณ์

ศรีพันธ์

นายสุรพงศ์
ปานเจริญ

Walk in

4. คุณค่าทางโภชนาการของผึ้งโพรงที่ได้จากการเลี้ยง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์

นายณรงค์ ทรายอ่อน ประธานกลุ่ม พื้นที่ หมู่ที่ 4 บ้านคลองหัวช้าง

วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ และสารอาหารต่าง ๆ ร่วมลงพื้นที่เพื่อทำการเก็บตัวอย่างน้ำผึ้งโพรง

Walk in

5. ปริมาณสารสำคัญที่มีในเห็ดขอนขาวที่ได้จากก้อนเชื้อกับตามธรรมชาติ

 

นางสาวสุนิศา เกตุแดง ประธานกลุ่ม พื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านทับคริสต์

ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ สารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางยา และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ในตัวอย่างเห็ดขอนขาวทั้งที่เจริญ เติบโตจากก้อนเชื้อ และที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เพื่อพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่อไป

Walk in

6. เส้นตอกย่านงดที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์มีขนาดไม่สม่ำเสมอ ไม่ได้มาตรฐาน  

 

 

นางปรารถนา สุดสาย ประธานกลุ่ม พื้นที่ หมู่ที่ 2 บ้านแสนสุข

ออกแบบและพัฒนาเครื่องเหลาตอก เพื่อได้เส้นตอกที่มีขนาดมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งทดสอบคุณสมบัติความเหนียว เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ ที่เพิ่มมูลค่ามากขึ้น

รวมทั้งควรจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการจักสานตำบลคลองชะอุ่น เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์

 

 

 

 

ไฟล์รายงานควาามก้าวผลการดำเนินงานโครงการ



รายงานโดย นางสาวกัญญารัตน์   แสงสุวรรณ(จนท.) วันที่รายงาน 05/04/2567 [16645]
15000 24