2567 การบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17785]

วันที่  23 - 24  กันยายน  2567 จัดอบรมโครงการหลักสูตร “การออกแบบและผลิตภัณฑ์รองเท้าแฟชั่นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพแม่บ้านเกษตรกรบ้านโนนกกข่า” ณ ศาลาวัดบ้านโนนกกข่า  ตำบล โนนปอแดง  อำเภอผาขาว  จังหวัดเลย  จำนวนสมาผู้เข้าร่วมอบรม    



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 28/09/2567 [17785]
13650 26
4 [17784]

 การให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป

1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านณัฐจิรา จังหวัดเลย  เรื่องที่ปรึกษาการพัฒนาวัตถุดิบเส้นไหมย้อมสีธรรมชาติ เตาชีวมวล และระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อผลิตผ้าไหมมัดหมี่ทอขิดยกดอกสลับคั่นลายหมี่สีธรรมชาติ พาสเทล ) การให้คำปรึกษา  1. ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจากเส้นไหมเปลือกนอกย้อมสีธรรมชาติสีพาเทล (ผ้าและเครื่องแต่งกาย) 2. ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจากเส้นไหมย้อมสีธรรมชาติให้ได้สีพาเทล (ผ้าและเครื่องแต่งกาย) 3. ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ทอขิดยกดอกสลับคั่นลายหมี่สีธรรมชาติ   พาสเทล (ผ้าและเครื่องแต่งกาย)จำนวนสมาชิก  15  คน

2.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกกก้านเหลือง จังหวัดเลย เรื่องที่ปรึกษา การพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ เครื่องจักรและบรรจุภัณฑ์ การให้คำปรึกษา1. การารพัฒนาและออกแบบเครื่องจักรเตาชีวมวลสำหรับย้อมสีธรรมชาติ ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีความเหมาะสมกับวิสาหกิจชุมชน 2. พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ ฝ้ายขาว ฝ้ายตุ่ย ฝ้ายย้อมสีธรรมชาติจากไม้มงคล เช่น ต้นก้านเหลือง ต้นมะยม ใบสัก ใบยอ ใบเพกาใบสีเสียด แก่นขนุน แก่นคูณ ดาวเรือง เป็นต้น 3. พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์จากเศษผ้าที่เหลือใช้จากการทอผ้า และเศษผ้าจากการแปรรูป  จำนวนสมาชิก  11  คน

3. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมืองหมู่ 12 จังหวัดเลย เรื่องที่ปรึกษา การพัฒนากระบวน  การผลิตวัตถุดิบและเครื่องจักร การให้คำปรึกษา 1. ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ลายนางหาญย้อมสีธรรมชาติ จำนวน 1 รูปแบบ (ผ้าและเครื่องแต่งกาย) 2. ผลิตภัณฑ์ผ้ารองจานและผ้าคาดโต๊ะ จำนวน 1 รูปแบบ (เครื่องใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึก)3. ผลิตภัณฑ์พรมเช็ดเท้า จำนวน 1 รูปแบบ (เครื่องใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึก)  จำนวนสมาชิก  12  คน

4. กลุ่มทอผ้าบ้านหินเกิ้งพัฒนา จังหวัดเลย เรื่องที่ปรึกษาการพัฒนากระบวนการผลิตและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อออกแบบเครื่องจักร การให้คำปรึกษา1. พัฒนากระบวนการตกแต่งร่มที่ย้อมด้วยสีเคมี ให้เป็นร่มสะท้อนน้ำ โดยเคลือบด้วยสารนาโนซิลิกอนไดออกไซด์(SiO2)เพื่อให้มีสมบัติด้านการสะท้อนน้ำ 2. พัฒนากระบวนการย้อมสีธรรมชาติสำหรับไหมมัดหมี่ โดยใช้วัตถุดิบสารให้สีที่หาได้ในท้องถิ่น ได้แก่ เปลือกปะดู่ ขมิ้น ใบสัก ใบหูกวาง ครั่ง โดยใช้สารช่วยติดสีเพิ่มความคงทนให้สีธรรมชาติ 3. ออกแบบและพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย โดยปริมาณการผลิตและน้ำเสีย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เน้นการย้อมสีธรรมชาติ ปริมาณน้ำที่ใช้การย้อม 30 ลิตรต่อครั้ง น้ำที่ใช้ในการล้าง หลังจากการย้อม 90 ลิตรต่อครั้ง ย้อมสีธรรมชาติประมาณ 8 ครั้งต่อเดือน  จำนวนสมาชิก  10  คน

5. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูคำ เรื่องที่ปรึกษา การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสดเสริมผงผัก จ.เลย การให้คำปรึกษา 1. ออกแบบและเลือกบรรจุภัณฑ์ที่รักษาสภาพผลิตภัณฑ์ได้ โดยบรรจุภัณฑ์ ที่ออกแบบไว้มี 2 แบบ ดังนี้ 1.1 บรรจุคุกกี้เนยสดเสริมผงผักแยกชิ้นในถุงพลาสติกใส PP ก่อนบรรจุลงกล่องกระดาษ 1.2 ใส่หัวกระดาษและถาดรองก้นถุง วางคุกกี้บนถาดกระดาษรองถุง PP ขยายข้าง 2. ออกแบบฉลากสําหรับคุกกี้เนยสดเสริมผงผักทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิด   จำนวนสมาชิก  23  คน 

6. กลุ่มทอผ้าไทเลยบ้านก้างปลา จังหวัดเลย เรื่องที่ปรึกษา การพัฒนากระบวนการผลิต และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูปชาย-หญิง  การให้คำปรึกษาเรื่อง 1. พัฒนากระบวนการผลิต เทคนิคการย้อมสีธรรมชาติ เทคนิคการทอยกขิด การเก็บขิดลายโบราณ การออกแบบลวดลายอัตลักษณ์ การทอด้วยดิ้นไหมเงินไหมทองผสมกับเส้นใยธรรมชาติ 2. พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ออกแบบผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูปชาย-หญิง จากผ้าทอลายขัดสีพื้นไม่ย้อมสี จากเส้นฝ้ายตุ่ย 3. พัฒนาระบบมาตรฐานผลักดันการยื่นขอมาตรฐาน มผช. ผ้ามัดหมี่ เสื้อสำเร็จรูปชาย-หญิงจากผ้าทอลายขัดสีพื้นไม่ย้อมสี 4. พัฒนาเครื่องจักรเตาชีวมวลและระบบบำบัดน้ำเสีย เครื่องตีเกลียว เครื่องค้นหมี่อัตโนมัติ 5. พัฒนาบรรจุภัณฑ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับรูปแบบการขายของกลุ่ม  จำนวนสมาชิก  30  คน

7.กลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านแสงภา จังหวัดเลย  เรื่องที่ปรึกษา การพัฒนากระบวนการผลิตและเครื่องคัดแยกขนาดเมล็ดแมคคาเดเมียเพื่อยกระดับการผลิตแมคคาเดเมียอบแห้ง  การให้คำปรึกษา1. พัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต ให้ความรู้หลักการผลิตที่ดี GHP กระบวนการผลิตที่ถูกสุขอนามัย GMPโดยสถานที่ผลิตอาหาร จะต้องเป็นสถานที่ที่ใช้ในการผลิตและการจัดการเกี่ยวกับอาหารตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การรับและจัดเก็บวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ จนถึงการแปรรูปเป็นสินค้า 2. พัฒนาและออกแบบเครื่องจักรให้มีการออกแบบและพัฒนาเครื่องแยกขนาดแมคคาเดเมีย ใช้ในการคัดขนาดกะลาแมคคาเดเมีย ขนาดต่างๆ เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการคัดขนาด แทนการคัดแยกแบบเดิมที่ใช้แรงงานจากคนและไม่มีขนาดที่เป็นมาตรฐาน เครื่องคัดแยกขนาดกะลาแมคคาเดเมีย  จำนวนวสมาชิก  55  คน

8. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรผู้ใช้น้ำบ้านน้อย จังหวัดเลย  เรื่องที่ปรึกษา  การพัฒนากระบวนการผลิตและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์มะพร้าวแก้วสูตรหวานน้อยสำหรับคนรักสุขภาพ  การให้คำปรึกษา 1. พัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต การยืดอายุมะพร้าวแก้ว โดยการเติมกลีเซอรอลในผลิตภัณฑ์ (เติม 5% ของน้ำหนัก) ทั้งนี้เนื่องมาจากกลีเซอรอลเป็นสารฮิวเมกแทนต์ซึ่งเป็นสารประกอบในกลุ่ม polyhydroxyl alcohol ที่มีหมู่ไฮดรอกซิลมาก ทำให้สามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนกับโมเลกุลของน้ำในส่วนผลิตภัณฑ์ได้ทำให้มีปริมาณน้ำอิสระลดลดลงหรือส่งผลให้มีค่าวอเทอร์แอกทิวิทิ (Water Activity)ลดลง ส่งผลให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น 2. พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์มะพร้าวแก้วสูตรใหม่หวานน้อย โดย กระบวนการผลิตมะพร้าวแก้ว สูตรเดิม เนื้อมะพร้าว 10 กิโลกรัม ต่อ น้ำตาล 4 กิโลกรัม แนวทางการพัฒนาของทีมที่ปรึกษา ในเนื้อมะพร้าว 10 กิโลกรัม ใช้น้ำตาลกระบวนการ 4 กิโลกรัม แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มะพร้าวแก้วสูตรหวานน้อย โดยการลดสัดส่วนของน้ำตาลเดิมลงด้วยการเพิ่มมอลโตเดกซ์ตรินที่สัดส่วนของน้ำตาลต่อมอลโตเดกซ์ตริน (กิโลกรัม:กิโลกรัม)   จำนวนวสมาชิก  10  คน

          



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 28/09/2567 [17784]
0 166
4 [17787]

เพิ่มเติมข้อมูล  กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่  ให้คำปรึกษาในเรื่องการผลิตน้ำอ้อยสด และธาตุอาหารในปุ๋ยหมักของกลุ่ม

ในวันที่  28  สิงหาคม  2567  คุณศุภชัย  อรพรหม  ต้องการคำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงไก่ไขในโรงเรือน โดยให้คำปรึกษา  ผศ.ศรุติวงศ์  บุญคง  ให้คำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงไก่ การสร้างโรงเรือน และการหาพันธุ์ไก่



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 28/09/2567 [17787]
0 1
4 [17524]

ในที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.30 น. ภายในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย อย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) ณ ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการใช้ ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรม และชุมชน นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน 



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 22/09/2567 [17524]
2600 1
4 [17523]

ในวันที่ 30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2567    ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในระดับภูมิภาค ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 22/09/2567 [17523]
4500 2
3 [17047]

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย นำโดย อาจารย์วิสุทธ์ กิจชัยนุกูล รองผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ผศ.เปรมชัย มูลหล้า อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม ดร.ภัทรานุช ผงสุข อาจารย์ประจำสาขาเคมี ดร.วิไลวรรณ สิมเชื้อ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี นายสมิง ศรีกา เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี และนายชานนท์ ปิ่นตระกูล พัฒนาการอำเภอผาขาว ลงพื้นที่ให้บริการคำปรึกษา จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มที่1 กลุ่มกลุ่มทอผ้าบ้านโนนกกข่า โดยให้คำปรึกษาใน 1.เรื่องการย้อมสีธรรมชาติให้สอนเทคนิคการย้อมสีให้คงทนสีไม่ตก 2.เรื่องการรูปผลิตภัณฑ์ให้แปรรูปเป็นรองและตัดเป็นเสื้อผ้าเพื่อเพิ่มมูลค้า 3.เรื่องแพคเกจจิ้งให้เป็นอัตลักษ์ของกลุ่ม 4.เรื่องการวางแผนทำการตลาดให้จัดหาสถานที่เปิดหน้าร้านขายและขายในออนไลด์ กลุ่มที่ 2 กลุ่มแปรรูปกล้วย ให้คำปรึกษาในเรื่องวิเคราะห์คุณภาพของกล้วยให้ส่งตรวจเซ็นทรัล แลป  3.กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่  ให้คำปรึกษาในเรื่องการผลิตน้ำอ้อยสดเพื่อเพิ่มมูลค้า  ค่าใช้จ่ายร่วมเงินเดือน  32000  บาท



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 05/07/2567 [17047]
32000 24
3 [16854]

ในวันที่  25  มิถุนายน  2567  คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย   ได้เข้าร่วมประชุมโครงการยกระดับผู้ประกอบการไทย SME  SMART UP 2024 : ปลูก SME  ให้เข้มแข็ง  ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเลย  ณ  ห้องชัยพฤกษ์  โรงแรมเลยพาเลซ  อำเภอเมืองเลย  จ.เลย  

ในวันที่  25  มิถุนายน  2567  คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย   ได้เข้าร่วมประชุม/สมนาเชิงปฏิบัติการ(Workshop)  ที่สุดของผลิตภัณฑ์  สู่ช่องทางการค้าดิจิทัล  2024  ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเลย  ณ  ห้องชัยพฤกษ์  โรงแรมเลยพาเลซ  อำเภอเมืองเลย  จ.เลย  

จากให้ปรึกษามีกลุ่มมาปรึกษา 

มีกลุ่มน้ำผึ้ง  8  คน  และกลุ่มวิสาหกิจทอผ้า  3  กลุ่ม  10  คน  รวมแล้ว  18  คน  

งบประมาณเงินเดือนผู้ประสานงาน  15000  บาท



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 29/06/2567 [16854]
15000 18
3 [16851]

คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย   ให้คำปรึกษาให้กลุ่มจึงได้ผลักดันกลุ่มและได้จัดส่งข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุน งบประมาณภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กลุ่มเป้าหมายจากโครงการ จำนวน 8 โครงการ ให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พิจารณาสนับสนุนงบประมาณดำเนินการโครงการได้รับงบประมาณ
จำนวน 5 โครงการ

1.  กลุ่มผ้าบ้านหินเกิงพัฒนา                          งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  167,000  บาท

2.  กลุ่มผ้าไทเลยบ้านก้างปลา                         งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  155,000  บาท

3.  กลุ่มสัมมาอาชีพบ้านแสงภา                        งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  167,000  บาท

4.  กลุ่มสตรีและเยาวชนสหกรณ์ผู้ใช้น้ำน้อย         งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  160,000  บาท

5.  วิสาหกิจชุมชนภูคำ                                 งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  145,000  บาท

ค่าใชจ่ายร่วมเงินเดือน  20000  บาท

รวมเป็นเงิน ๙๖๐,๐๐๐  บาท  (เก้าแสนหกหมื่นบาทถ้วน)



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 29/06/2567 [16851]
20000 84
2 [16434]

2.ให้คำปรึกษา ประชาชนทั่วไป กลุ่มโอทอป กลุ่มวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน นักศึกษา เกษตรกร และผู้ที่สนใจในพื้นที่จังหวัดเลยและหนองบัวลำภู

2.1 จากการลงพื้นที่ติดตามและให้ปรึกษา

กลุ่มทอผ้าบ้านลาด  ตั้งแต่ปี 2564-2565  ทางคลินิกเทคโนโลยีให้คำปรึกษาในเรื่องการย้อมจากย้อมสีเคมีเป็นสีธรรมชาติสามารถเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มรวม 240,000  บาท  ในปี 2565-2566  ทางคลินิกเทคโนโลยีให้คำปรึกษาในเรื่องลวดลายและการแปรรูปสามารถเพิ่มรายได้ให้กลุ่มรวม  250,000  บาท ในการวันที่ 26  มีนาคม  2567  ทางคลินิกเทคโนโลยีให้คำปรึกษาร่วมกับโรงงานมิตรภูหลวงและศูนย์ม่อนไหม จังกวัดเลย  ให้ปรึกษาการออนไลน์  การถ่ายภาพ  การเขียนคอนเทนต์  และการแปรรูป  งบประมาณที่  3,500 รวมเงินเดือน  33,500  บาท

2.2 ให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี กลุ่มวิสาหกิจชุมชน  จำนวน  10  กลุ่ม

ทางคลินิกเทคโนโลยี  หมาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้ให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลเทคโนโลยีกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 กลุ่มได้แก่ 1.วิสาหกิจชุมชนภูคำ  2.กลุ่มผ้าบ้านหินเกิงพัฒนา  3.กลุ่มผ้าไทเลยบ้านก้างปลา  4.กลุ่มสตรีและเยาวชนสหกรณ์ผู้ใช้น้ำน้อย  5.กลุ่มสัมมาอาชีพบ้านแสงภา  6.กลุ่มพัฒนาอาชีพหัตถกรรมหวายและผ้าทอ (บ้านนากระเซ็ง ท่าลี่)  7.กลุ่มทอผ้าบ้านลาด  8.วิสาหกิจชุมชนนาอ้อ  9.กลุ่มบ้านใหม่ศาลาเฟือง 10.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านวังอาบช้าง และได้ผลักดันข้อเสนอโครงการในโครงการคูปองวิทย์เพื่อ OTOP และส่งให้ สป.อว. เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (Pitching) ภายใต้โครงการผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 - 20 กุมภาพันธ์ 2567 ผ่านระบบประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meetings) โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนเพื่อคัดเลือกใบสมัครเข้าสู่กระบวนการพัฒนาข้อเสนอโครงการ  จำนวน  8  กลุ่ม  จากการประชุมฯ ดังกล่าว สป.อว. ขอส่งผลการคัดเลือกและข้อคิดเห็นจากกิจกรรมฯ และขอให้แจ้งที่ปรึกษาที่ผ่านการ Pitching ดำเนินการพัฒนาข้อเสนอโครงการ จำนวน  5  กลุ่ม 1.วิสาหกิจชุมชนภูคำ  2.กลุ่มผ้าบ้านหินเกิงพัฒนา  3.กลุ่มผ้าไทเลยบ้านก้างปลา  4.กลุ่มสตรีและเยาวชนสหกรณ์ผู้ใช้น้ำน้อย  5.กลุ่มสัมมาอาชีพบ้านแสงภา  ไม่ผ่านจำนวน  3  กลุ่ม  1.กลุ่มพัฒนาอาชีพหัตถกรรมหวายและผ้าทอ (บ้านนากระเซ็ง ท่าลี่)  2.กลุ่มทอผ้าบ้านลาด  3.วิสาหกิจชุมชนนาอ้อ

3.ผลักดันโครงการเข้าสู่แพลตฟอร์มต่างๆ ของกระทรวง จำนวนไม่น้อยกว่า  4  โครงการ

คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย   ได้จัดส่งข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุน งบประมาณภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กลุ่มเป้าหมายจากโครงการต่อเนื่อง ปีที่ 2 และ 3 จำนวน 5 โครงการ ให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พิจารณาสนับสนุนงบประมาณดำเนินการโครงการได้
จำนวน 3 โครงการ

1.วิสาหกิจชุมชนทอผ้า พื้นเมือง หมู่ 12   งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  160,000  บาท

2.วิสาหกิจชุมชน บ้านณัฐจิรา  งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  160,000  บาท

3.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอ ผ้าบ้านกกก้านเหลือง  งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  160,000  บาท

รวมเป็นเงิน 480,000 บาท (สี่แสนแปดหมื่นบาทถ้วน) 



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 03/04/2567 [16434]
33500 127
2 [16430]

1.ให้บริการข้อมูลแก่ประชาชนทั่วไป กลุ่มโอทอป กลุ่มวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน นักศึกษา เกษตรกร และผู้ที่สนใจในพื้นที่จังหวัดเลยและหนองบัวลำภู

ร่วมจัดงานนิทรรศการ  อำเภอเมืองเลย เปิดงาน “ดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย” ประจำปี 2567 โชว์ขบวนแห่ 14 อำเภอ อย่างยิ่งใหญ่ตระการตาสุดประทับใจ

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 18.30 น. นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานพิธีเปิดงาน “ดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย” ประจำปี 2567 อย่างยิ่งใหญ่อลังการ โชว์ขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรมจาก 14 อำเภอ โดยมี นางธารตะวัน จรูญพงศ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเลย นายบุญเติม เรณุมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายอนุพงศ์ คำภูแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายกิตติคุณ บุญคุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นางทรงศิริ แก้วคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเลย หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอทั้ง 14 อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักท่องเที่ยว พี่น้องประชาชน และสื่อมวลชน ร่วมงานเป็นจำนวนมาก

นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า การจัดงานดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย ได้มีการพัฒนาให้มีความน่าสนใจและก่อประโยชน์ให้กับพี่น้องชาวเลยมากยิ่งๆ ขึ้นไปทุกปี โดยการจัดงานในปีนี้ พี่น้องชาวจังหวัดเลยรวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะได้ชมการออกร้านของส่วนราชการและหน่วยงานเอกชน แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดเลย การแสดงแฟชั่นโชว์เลย เมืองแห่งผ้าฝ้าย การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งท้องที่ท้องถิ่นไทเลย การประกวดธิดาดอกฝ้ายบานฯ การประกวดแม่สาวลูกสวย การแสดงทางวัฒนธรรม การแข่งขันกีฬา และเพลิดเพลินกับมหรสพที่น่าสนใจอีกมากมายภายในงานฯ นอกจากจะได้เที่ยวชมงานและเลือกซื้อสินค้ามากมายแล้ว ยังจะได้ร่วมทำบุญทำกุศลกับร้านมัจฉากาชาดจังหวัดเลย ซึ่งถือเป็นการพักผ่อนที่ได้กุศลอีกด้วย

นายบุญเติม เรณุมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า จังหวัดเลยจัดงานกาชาดครั้งแรกในปี 2522 โดยตั้งชื่องานกาชาดตามพืชเศรษฐกิจของจังหวัด ได้แก่ ฝ้าย จึงใช้ชื่องานว่า “งานกาชาด ดอกฝ้ายบาน ที่เมืองเลย” และต่อมาในปี พ.ศ.2529 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “งานกาชาด ดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย” และในปี พ.ศ. 2557 ใช้ชื่อว่า “งานดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย” มาจนถึงปัจจุบัน โดยมี วัตถุประสงค์ในการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ประเพณี วัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด, เพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยวของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง, เพื่อจัดหารายได้ไว้ใช้จ่ายในกิจการสาธารณประโยชน์ สาธารณกุศล และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสของคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดเลย, เพื่อให้พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดเลย ได้พักผ่อนหย่อนใจหลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต และเพื่อให้ส่วนราชการ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาและสื่อมวลชนทุกแขนง ได้มีโอกาสแสดงออกซึ่งผลงานและแนวความคิดในการพัฒนาจังหวัดเลย ให้เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน ภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ผู้มาเที่ยวงานได้ชม

การจัดงานในครั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเทิดพระเกียรติ การส่งเสริมการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีกิจกรรมส่งเสริมการใส่ผ้าไทเลย การรณรงค์จังหวัดสะอาด ซึ่งได้รับความร่วมมือร่วมใจอย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ส่วนราชการ อำเภอทั้ง  14  อำเภอ สถาบันการศึกษาประกอบด้วยคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  อาชีวะศึกษาเลย  วิทยาลัยเทคนิคเลย   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลย

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยได้ร่วมการจัดนิทรรศการ นำผู้ประกอบการเข้าร่วมงาน และติดตามผลจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มที่ได้จำหน่ายของในงาน ประกอบด้วย

กุล่มทอผ้าไหมบ้านหนองน้ำใส  ขายผ้าตั้งแต่จัดงานจนถึงวันสุดท้าย  ได้เงิน  70,000  บาทถ้วนจำนวน  11 ผืนต้นทุนการผลิต  10,800  บาท  จำนวน  10 ผืน  การทอ  6  เดือน  ราคาขายผืนละ  3,000  -  6,000  บาท ขึ้นอยู่กับสีและลวดลาย 

ผลการดำเนินงานจำนวนผู้เข้าเยี่ยมการจัดนิทรรศการ   330  คน   งบประมาณ  15,000  บาท เงินเดือน  45,000  บาท  รวม  60,000 บาท

 



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 03/04/2567 [16430]
60000 330
1 [16026]

ลงพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจภูคำ  วันที่  24  พฤศจิกายน  2566  จำนวนสมาชิก  5   คน  ความต้องบริการให้คำปรึกษา  1.ความรู้หลักเกณฑ์วิธีการผลิตคุกกี้  2.ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์  3.ต้องการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม

ที่ปรึกษา ผศ.เตือนใจ  ศิริพาหนะกุล  ให้คำปรึกษาควนพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกีเนยสด เสริมผักผงให้คุกกี้มีสีสรรสวยงามตามธรรมชาติ  และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้นและเพิ่มมูลค่าทางการเกษตร ตลอดจนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์  ฉลากโภชนาการ  และมาตรฐาน  GMP  ทางคลิกเทคโนลโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยผลักดันโครงการเข้าสู่โครงการคูปองวิทย์เพื่อ  OTOP  ปี  2567



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 20/01/2567 [16026]
4500 5
1 [15953]

ในวันที่  19  พฤศจิกายน  2566   คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  ลงพื้นที่เรื่องระบบน้ำโซล่าเซลล์2 แรงหมู่บ้าน หอสูง 15 เมตร ใหกลุ่มหมู้บ้านติดตั้ง ระบบน้ำโซล่าเซลล์ 2 แรงหมู่บ้าน หอสูง 15 เมตร  ณ  บ้านใหม่ หมู่5 ตำบลนาซ่าว อำเภอเชียง คาน จังหวัดเลย และให้คำปรึกษาให้กับสมาชิกในชุมชน  ที่ปรึกษา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เปรมชัย  มูลหล้า 



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 19/01/2567 [15953]
38000 28