2567 โครงการให้บริการคำปรึกษาและบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม    0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17330]
วันที่ 20 มีนาคม 2567
คลินิกเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรานรี โดย รศ. ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา ผู้รักษาการแทนรองผู้อำนวยการเทคโนธานีฝ่ายปรับแปลง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี เข้าร่วมกิจกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคม "Earth Hour 2024 : ส่งเสริมพลังงานสะอาดในชุมชน" ณ สระหนองหัววัว หมู่ที่ 9 ต.นากลาง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัท แคนนอน ไฮ-เทค (ประเทศไทย) จำกัด กับหน่วยงานราชการและชุมชน เพื่อส่งเสริมการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากภาวะโลกร้อน โดยมีการซ่อมแซมและปรับปรุงระบบปั๊มน้ำจากพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ และให้ความรู้ในการใช้งานและการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม รวมทั้งให้ความรู้เรื่องวัน Earth Hour เป็นการสร้างจิตสำนักและเพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อนให้กับชุมชนด้วยการส่งเสริมการปลูกต้องไม้เพื่อลดการปล่อย CO2 ตามนโยบาาย Zero Net Emission


รายงานโดย น.ส.ลำดวน ศรีมาน วันที่รายงาน 06/09/2567 [17330]
5000 30
4 [17329]

วันที่ 15-17  มีนาคม 2567

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดย คลินิกเทคโนโลยีสุรนารี เข้าร่วมจัดนิทรรศการและให้คำปรึกษา ในงาน “เที่ยวเพลิน เดินชมโคกกรวด วันวาน ครั้งที่ 4   ” จัดโดยเทศบาลตำบลโคกกรวด  จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 15- 17  มีนาคม 2567  ณ ริม สถานีรถไฟโคกกรวด - ตลาดเก่าไทย-จีน โคกกรวด ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้ศักยภาพชุมชน โดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่าง ๆเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการจ้างงาน สร้างอาชีพ  สร้างรายได้ให้กับประชาชน และยังเป็นการให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีด้านการท่องเที่ยว โดยนายทองแม้น จรโคกกรวด นายกเทศบาลตำบลโคกกรวด กล่าวต้อนรับ นายวิจิตร กิจวิรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานในพิธีเปิด โดยมีผู้เข้ารับการบริการให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวนมาก ซึ่งทางเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีจะดำเนินการประสานผู้เชี่ยวชาญและลงพื้นที่ต่อไป



รายงานโดย น.ส.ลำดวน ศรีมาน วันที่รายงาน 06/09/2567 [17329]
3000 135
4 [17328]
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมกับ หน่วยบริการวิชาการ ปรับแปลงถ่ายทอดและพัฒนา เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จัดกิจกรรมให้บริการวิชาการผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น จำนวน 12 หลักสูตร กิจกรรมเสวนา Go Green จำนวน 10 เรื่อง และกิจกรรม Workshop สร้างอาชีพ จำนวน 10 กิจกรรม ภายใน“เกษตรสุรนารี ’67” เกษตรสร้างสรรค์ นวัตกรรมก้าวหน้า สู่การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน (Sustainable Agri-Innovation for BCG) วันที่ 12 - 21 มกราคม พ.ศ. 2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมาภายในงานจัดอบรมณ อาคารสุรพัฒน์ 1 และอาคารวิชาการ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 500 คน ได้แก่
1. อบรมการออกแบบและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ตามหลักวิศวกรรมสู่เชิงพาณิชย์ การจัดทาแผนธุรกิจเบื้องต้น/การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
2. อบรมหลักสูตร เก็บและรักษาตัวอย่างพรรณไม้
3. กิจกรรมเปิดแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตร, สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต
4. อบรมหลักสูตร สุขาภิบาลอาหารสาหรับผู้ประกอบกิจการ
5. อบรมการออกแบบและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ตามหลักวิศวกรรมสู่เชิงพาณิชย์ การจัดทาแผนธุรกิจเบื้องต้น/การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
6. อบรมหลักสูตร “ปุ๋ยสั่งตัดสาหรับมันสาปะหลังและอ้อย”
7. อบรมหลักสูตร "การบริหารจัดการข้อมูลระบบแผนที่ภาษี"
8. อบรมหลักสูตร สุขาภิบาลอาหารสาหรับผู้สัมผัสอาหาร
9. อบรมระบบน้าหยดสาหรับมันสาปะหลัง
10. อบรมการเลี้ยงและการจัดการฟาร์มไก่โคราช
11. การผลิตขยายเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช
12. อบรมการอ่านผล การตีความ ผลการทดสอบวัสดุก่อสร้าง
 
2 กิจกรรมเสวนา Go Green Go Organic ประกอบด้วย
1. "ทำนาอย่างไรช่วยลดโลกร้อน ทายากไหม ใครได้ประโยชน์ "How does AWD (alternative wet dry) rice cultivation help reduce global warming? Is it difficult? Who gains benefits?"
2. โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS" อุดหนุนค่าใช้จ่ายการพัฒนา SME แบบร่วมจ่าย (CO-PAYMENT) สัดส่วน 50 – 80 % วงเงินสูงสุด 200,000 บาท
3. หยุดโลกเดือด! ด้วยพลังสามัคคี
4. เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับการเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูง"
5. อีแต๊ก ตาย (ใน) บ่อ
6. แบคทีเรียตัวร้ายกับนายเกษตรกร
7. เรื่องกล้วย กล้วย ส่งออกญี่ปุ่น
8. โอกาสสินค้าเกษตรไทยในตลาดจีน
9. โอกาสรอดของมะพร้าวน้าหอมไทยในตลาดโลก
10. บอกเล่าประสบการณ์..การทาเกษตรแบบยั่งยืน
 
3. กิจกรรม Workshop สร้างอาชีพ จานวน 10 กิจกรรม 
1. Workshop : "เส้นทางแห่งความยั่งยืนของขยะ"
2. Workshop : กิจกรรมครอบครัวในงานวันเด็ก (ช่อกะเชอเฮอบาเรียม/ ผ้าพิมพ์สีจากธรรมชาติ/ งานปั้น)
3. Workshop : การวัดคาร์บอนในต้นไม้
4. Workshop : การทาสบู่จากวัตถุดิบทางการเกษตร (กุหลาบมอญอินทรีย์)
5. Workshop : "ร้อยสร้อยหิน & พวงกุญแจ“
6. Workshop : การทอผ้าซาโอริ (Saori)
7. Workshop : การปรุงชาสมุนไพร
8. Workshop : จัดสวนจิ๋วในขวดแก้ว
9. Workshop : การทาน้ายาเอนกประสงค์
10. Workshop : การปลูกต้นไม้ฟอกอากาศ
 
4. กิจกรรมการออกบูธแสดงและจัดจำหน่ายสินค้าชุมชุน และจากเครือข่ายเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน จากโครงการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 43 บูธ ยอดขายตลาด Go green Go Organic จานวน 1,189,643 บาท (โดยประมาณ)


รายงานโดย น.ส.ลำดวน ศรีมาน วันที่รายงาน 06/09/2567 [17328]
6000 500
4 [17322]

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567

          คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จัดประชุมทำแผนผลไม้และท่องเที่ยวเมืองโคราชสู่ตลาดเมืองนอก ครั้งที่ 1 ปักธงชัย (Korat Fruit & Tourism from Local to Global (KFTLG) Ep.1) Pakthongchai ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองเมืองปัก ชั้น 3 อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา โดมีนายธนเดช ศรีณรงค์ นายกเทศมนตรีเมืองเมืองปัก ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ อาจารย์ ดร.สุพรรณี จันทร์ภิรมณ์ กล่าวรายงาน และรองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา ผู้รักษาการแทนรองผู้อำนวยการเทคโนธานีฝ่ายปรับแปลง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีกล่าวเปิดการประชุม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดเตรียมแผนงาน โครงการพัฒนาให้พร้อมที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งทุนต่าง ๆ รวมถึงบรรจุในเอกสารข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ทันทีที่ได้รับงบประมาณ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ปักธงชัยอย่างยั่งยืน โดยมีกิจกรรม ชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดทำแผนฯ, ระดมสมองเพื่อสะท้อนปัญหาและความต้องการของพื้นที่ และลงพื้นที่เก็บข้อมูลสวนเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ละมุด และฝรั่ง ในพื้นที่บ้านกระเชาะราก ตำบลบ่อปลาทอง อำเภอปักธงชัยอีกด้วย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย หน่วยงานราชการ ผู้บริหารและคณกรรมการเทศบาลเมืองเมืองปัก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้ามน้ำหอม ละมุด และฝรั่ง จำนวน 90 คน



รายงานโดย น.ส.ลำดวน ศรีมาน วันที่รายงาน 06/09/2567 [17322]
15000 90
4 [17313]

ค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน 1 คน (ตำแหน่งผู้ประสานงาน/เลขานุการคลินิกเทคโนโลยี) ระยะเวลา 12 เดือน ๆ ละ 12,500 บาท (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567)



รายงานโดย น.ส.ลำดวน ศรีมาน วันที่รายงาน 06/09/2567 [17313]
150000 1
4 [17326]
วันที่ 21 สิงหาคม 2567
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมกับ หน่วยปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี นำโดย อ. ดร.ศิริลักษณ์ ชุมเขียว หัวหน้าหน่วยพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน และนางสาวลำดวน ศรีมาน หัวหน้าหน่วยปรับแปลงเทคโนโลยีเพื่อสังคม เทคโนธานี นำทีมคณาจารย์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้แก่ รศ. ดร.พรรณลดา ติตตะบุตร สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ผศ. ดร.ประเสริฐ เอ่งฉ้วน สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต ผศ. ดร.พัชรินทร์ ราโช สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม รศ. ดร.ตติยา ตรงสถิตกุล สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์ พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองนครราชสีมา เกษตรตำบล ,ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดนครราชสีมา และสำนักงานเกษตรอำเภอเสิงสาง ร่วมลงพื้นพบเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองเพื่อส่งออกต่างประเทศ ในเขตพื้นที่ ต.สุขไพบูลย์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา เพื่อรับโจทย์และสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องการผลิต วิธีการขนส่ง การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การจัดการของเสียทางการเกษตร รวมถึงปัญหาด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไปออกแบบแนวทางและวิธีการดำเนินโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG ให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป


รายงานโดย น.ส.ลำดวน ศรีมาน วันที่รายงาน 06/09/2567 [17326]
3000 10
4 [17325]

คลินิกเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ให้คำปรึกษาแก่ชุมชนและผู้ประกอบการ ที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การปรับแปลง ถ่ายทอดเทคโนโลยี 
ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และการพัฒนาองค์กร โดยผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำปรึกษาและแนะนำเบื้องต้นให้กับผู้ประกอบการเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป ได้แก่
- พัฒนาการทำ น้ำซอสปรุงรส สุกี้ 
ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
- การแปรรูปสินค้าเพิ่มเพิ่มมูลค่า
- การยืดอายุผลิตภัณฑ์
- การวิเคราะห์และทดสอบข้อมูลโภชนาการ
- การรับรองมาตฐาน
-การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์



รายงานโดย น.ส.ลำดวน ศรีมาน วันที่รายงาน 06/09/2567 [17325]
5000 50
4 [17321]
วันที่ 17 กรกฎาคม 2567
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา จัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติกิจกรรมหลัก ยกระดับการผลิตด้วยการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ กิจกรรมย่อย ขับเคลื่อน BCG (Bio – Circular – Green Economy) สู่การสร้างผลิตภัณฑ์เกษตรมูลค่าสูง ครั้งที่ 2 ณ สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้แนวทางการพัฒนาด้านการเกษตรด้วย BCG Model การบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายธีระวัฒน์ วิไลรัตน์ ประธานบริหาร บริษัท ไร่สายชล 101 ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) และเทคนิคการเล่าเรื่องและการโปรโมทผลิตภัณฑ์ (Storytelling) นอกจากนี้ยังมีการคัดเลือก 10 สุดยอดผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าร่วม Pitching ชิงรางวัลต่อไป โดยมีเป้าหมายผู้เข้าร่วมอบรมจาก 32 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา อำเภอละ 10 ราย รวมทั้งสิ้น 320 ราย ประกอบด้วย ผู้แทนของกลุ่มเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร เช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร กลุ่มส่งเสริมการเกษตรรูปแบบแปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชน ทั้งนี้ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีให้การสนับสนุนวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและสถานที่จัดอบรม


รายงานโดย น.ส.ลำดวน ศรีมาน วันที่รายงาน 06/09/2567 [17321]
5000 320
4 [17314]
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567
คลินิกเทคโนโลยี มทส.หน่วยปรับแปลงเทคโนโลยีเพื่อสังคม จัดอบรมหลักสูตร "การยกระดับการผลิตมะพร้าวน้ำหอม BCG เพื่อเพิ่มรายได้และเตรียมความพร้อมสำหรับส่งออกไปจีน" ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอปักธงชัย จ.นครราชสีมา โดยได้รับเกียรติจาก นางกิ่งดาว นิตยไพบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอปักธงชัย กล่าวต้อนรับ กล่าวรายงานโดย อาจารย์ ดร.สุพรรณี จันทร์ภิรมณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเทคโนธานี ฝ่ายบริการวิชาการและพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม และกล่าวเปิดโดย พันจ่าเอก บัลลังก์ หมอกกระโทก ปลัดอำเภอปักธงชัย ปลัดอำเภอปักธงชัย กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรม ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมอำเภอปักธงชัยและอำเภอใกล้เคียง
โดยมีหัวข้อการอบรม ดังนี้
- ทำไมต้องเป็นมะพร้าวน้ำหอม ทำไมต้อง BCG และทำไมต้องไปจีน
- ตลาดท้องถิ่น ตลาดริมทาง แบรนด์มะพร้าวน้ำหอมโคราช เครือข่าย และ Startup เพื่อความยั่งยืนของมะพร้าวน้ำหอมปักธงชัยโดย นายสถาพร ซ้อนสุข เจ้าของล้านนาออร์แกนิคฟาร์มและนักวิจัยอิสระด้านเกษตรเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน
- ปลูกมะพร้าวน้ำหอมอย่างไรจึงจะหอมและหวานโดนใจ
- การจัดการโรค-แมลงของมะพร้าวน้ำหอมแบบผสมผสานโดยไม่ใช้สารเคมี โดย ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) ดร.นันทกร บุญเกิด สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- การขยายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดย นาย ชลธร โพธิ์แก้ว หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


รายงานโดย น.ส.ลำดวน ศรีมาน วันที่รายงาน 06/09/2567 [17314]
10000 40
4 [17331]
วันที่ 27 มีนาคม 2567
คลินิกเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา ผู้รักษาการแทนรองผู้อำนวยการเทคโนธานีฝ่ายปรับแปลง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี พร้อมด้วย อาจารย์ ดร. สุพรรณี จันทร์ภิรมณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเทคโนธานีฝ่ายบริการวิชาการและพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากศูนย์บริการวิชาการเทคโนโลยี วิจัยนวัตกรรม และฝึกอบรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุภชัย แก้วจันทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการวิชาการเทคโนโลยีฯ ในการศึกษาดูงานการให้บริการของเทคโนธานี เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ทักษะและแนวคิดใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงาน รวมไปถึงกระบวนการฝึกอบรมบุคลากร และแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและประเทศอย่างเป็นรูปธรรม


รายงานโดย น.ส.ลำดวน ศรีมาน วันที่รายงาน 06/09/2567 [17331]
3000 15
4 [17319]

คลินิกเทคโนโลยี มทส. หน่วยปรับแปลงเทคโนโลยีเพื่อสังคม จัดกิจกรรม Roadshow ประชาสัมพันธ์การให้บริการของคลินิกเทคโนโลยี มทส. ให้กับสำนักวิชาต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้แก่ สำนักวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และ สำนักวิชาศาสตร์และศิลป์ดิจิทัล และแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย



รายงานโดย น.ส.ลำดวน ศรีมาน วันที่รายงาน 06/09/2567 [17319]
0 20
4 [17316]
วันที่ 15 มีนาคม 2567
คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมกับเทศบาลตำบลขามทะเลสอ จัดอบรมหลักสูตร "Eco Print ศิลปะบนผืนผ้า" ภายใต้โครงการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพให้กับประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ อาคารเอนกประสงค์เทศบาลตำบลขามทะเลสอ อ.ขามทะเลสอ จ.นครราชสีมา โดยได้รับเกียรติจาก นายมาโนช มะลิขาว นายกเทศมนตรีตำบลขามทะเลสอ เป็นประธานเปิดการอบรม และมีคุณศิริมาศ เยียะสูงเนิน ร้านใบเพกาผ้าย้อมโคลน เป็นวิทยากร ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างอาชีพให้กับกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้สนใจทั่วไป โดยเน้นการนำใบไม้ และดอกไม้ที่มีในท้องถิ่น เช่น ใบมะม่วง ใบสัก ใบหูกวาง ใบยูคาลิปตัส ใบละหุง ใบโพธิ์ เป็นต้น มาใช้สำหรับการย้อมสีลงบนผ้า ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 50 คน


รายงานโดย น.ส.ลำดวน ศรีมาน วันที่รายงาน 06/09/2567 [17316]
15000 50
3 [17091]

วันที่ 24 มิถุนายน 2567
คลินิกเทคโนโลยี มทส. ร่วมกับ เกษตรจังหวัดนครราชสีมา อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ยกระดับการผลิต ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ขับเคลื่อน BCG สู่การสร้างผลิตภัณฑ์เกษตรมูลค่าสูง แก่เกษตรกร 32 อำเภอ  เพื่อยกระดับการผลิตด้วยการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ กิจกรรมย่อย ขับเคลื่อน BCG (Bio – Circular – Green Economy) สู่การสร้างผลิตภัณฑ์เกษตรมูลค่าสูง ได้รับเกียรติจาก นางสมพิศ ทองดีนอก เกษตรจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดการอบรม และ รศ. ดร. วรวัฒน์ มีวาสนา ผู้รักษาการแทนรองผู้อำนวยการเทคโนธานี ฝ่ายปรับแปลง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารร่วมให้การต้อนรับ เพื่อยกระดับสินค้าสินค้าเกษตรให้มีมูลค่า โดยใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รวมถึงการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เกษตรกรลดรายจ่าย มีเพิ่มรายได้เพิ่มขึ้น เกิดความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยเป้าหมายผู้เข้าร่วมอบรมมาจาก 32 อำเภอ ของจังหวัดนครราชสีมา  



รายงานโดย น.ส.ลำดวน ศรีมาน วันที่รายงาน 05/07/2567 [17091]
15000 100