2567 โครงการบริการคำปรึกษาข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครบวงจร   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17808]

งบประมาณในการบริหารจัดการโครงการ
- การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ
- การประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการและการชี้แจงการจัดทำสัญญา

- ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน

- ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์
- ค่าถ่ายเอกสาร 
- ค่าไปรษณีย์ 
- ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่คลินิก



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 28/09/2567 [17808]
66873 0
4 [17804]

วันที่ 14-16 กรกฎาคม 2567 อาจารย์ ดร. กฤษฎิ์พงศ์ ภาษิตวิไลธรรม คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ และผู้ประสานการทำงานร่วมกับ ศกร. พร้อมด้วย ตัวแทนคุณครู คุณกุลธิดา สุราภา คุณชวนพิศ แสนกาศ และคุณศิริ ถาวรวิจิตร เข้าร่วมกิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพครู สกร.ภาคเหนือ ด้วย อววน. ณ โรงแรมคุ้มภูคำ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้ในงาน ได้มีการร่วมกันพัฒนาแผนงานโครงการที่ตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ และการสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ร่วมกับครู สกร ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการคลินิก ปี 2568        



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 28/09/2567 [17804]
9558 5
4 [17800]

คลินิกเทคโนโลยี จัดบูธตั้งแสดงเพื่อประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์ของผู้เชี่ยวชาญคลินิก และการขอเข้ารับบริการ ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา คุณครู และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ภายใต้งานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2567 ระดับภูมิภาค ณ หอประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในช่วงวันที่ 18-20 สิงหาคม 2567



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 28/09/2567 [17800]
3494 30
4 [17794]

กิจกรรม  การถ่ายทอดองค์ความรู้ และทักษะการพัฒนาอาชีพ สู่การเป็นผู้ประกอบการ กลุ่มสมาชิกคริสตจักรท้องถิ่นภาคที่ 2 เชียงราย ณ ศูนย์พันธกิจคริสตจักรที่ 2 เชียงราย (บ้านห้วยปลากั้ง)  จังหวัดเชียงราย
สภาคริสตจักภาคที่ 2 เชียงราย สภาคริสตจักรในประเทศไทยเป็นตัวแทนสื่อกลางในการส่งเสริมให้ สมาชิกคริสตจักรในพื้นที่ได้มีโอกาสรับความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ การพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ประกอบการ การพัฒนาทักษะการทำบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการเรียนรู้ทักษะทางการตลาด ในการนี้ทางสภาคริตรจักรได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและองค์ความรู้ที่เหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จึงได้เรียนเชิญคลินิกเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่สมาชิกกลุ่ม       

ในการนี้ ทางคลินิกเทคโนโลยีได้ประสานผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจและการตลาด  อาจารย์รัชชานนท์  แย้มศรี  อาจารย์โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นวิทยากรในการบรรยาย และสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อกระตุ้นการพัฒนาทักษะของผู้ประกอบการของกลุ่มเป้าหมาย ในประเด็นต่างๆ จำนวน 3 หัวข้อ ได้แก่ (1) การพัฒนาแนวคิดแบบผู้ประกอบการ (2) การสร้างทักษะ และกลยุทธ์การเพิ่มยอดขายในตลาด (3) การเรียนรู้การออกแบบแพ็คเกจอย่างไรให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้จากสถาณการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงรายในช่วงต้นเดือนกันยายน จึงทำให้กำหนดการในการจัดงาน ในวันที่ 28 กันยายน 2567 ถูกเลื่อนกำหนดจัดไปเป็นวันที่ 23 ตุลาคม 2567 ซึ่งจะได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมตามแผนการที่วางไว้ต่อไป



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 28/09/2567 [17794]
20000 30
4 [17791]

วันที่ 3 กันยายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี นำโดยผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.จำรัส กลิ่นหนู รองอธิการบดี           อาจารย์ ดร.อรวรรณ วนะชีวิน ผู้ประสานงานโครงการคลินิกฯ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรหทัย พุทธวัน ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์ประเด็นความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ณ ชุนชนบ้านม่วงชุม ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ร่วมกับเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และสถาบันสารสนเทศน้ำกระทรวง​อว.

โดยในการประชุมมี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 3 กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจเพาะปลูกลำไย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะปลูกมะนาว และกลุ่มวิสาหกิจจักสานหวาย จากการวิเคราะห์โจทย์ความต้องการ พบว่าในปัจจุบันทางกลุ่มยังมีการขายผลผลิตในรูปแบบของการขายสดเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ทางชุมชนมีโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ยังไม่มีองค์ความรู้ในกระบวนการอบลำไยและผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ อย่างเหมาะสม ในส่วนนี้ได้มีการวางแผนในการให้ความรู้ในด้านกระบวนการอบ ในฤดูกาลถัดไป (ก.ค. - ส.ค. 68) และทางกลุ่มมีความพร้อมในการร่วมกันพัฒนาสินค้าแปรรูปของตนเองคลินิกเทคโนโลยีจึงได้มีการบริการในการพัฒนาสูตรเครื่องดื่มที่เหมาะสม และมีแผนในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อผลิตน้ำลำไย ไซรัปมะนาว และมะนาวน้ำผึ้งลำไย  บรรจุสำเร็จพร้อมฉลากผลิตภัณฑ์พร้อมขาย ต่อไป
https://www.facebook.com/share/p/f2zcEmPDdCpS8G8w/



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 28/09/2567 [17791]
48640 30
4 [17789]

วันที่ 4 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลีพรรณ รกิติกุล และอาจารย์ ดร.อรวรรณ วนะชีวิน ฝึกทักษะการประดิษฐ์ แป้งปั้น และเทียนหอมให้แก่ผู้ประกอบการ ร้านม่อนฮัก ณ เชียงแสน โดยทางผู้ประกอบการมีความประสงค์จะนำทักษะที่ได้ดังกล่าวไปใช้ในการเสริมสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ให้กับเด็ก และผู้ที่เข้ามารับบริการ ในศูนย์เรียนรู้ของตนเองต่อไป  



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 28/09/2567 [17789]
1800 3
4 [17782]

วิสาหกิจชุมชนข้าวปลอดสารพิษเป็นกลุ่มเพาะปลูกข้าวแปลงใหญ่ โดยมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 32 คน พื้นที่การเพาะปลูกทั้งหมด 478 ไร่ โดยมีผลผลิตประมาณ 200 ตัน/ปี โดยข้าวที่นิยมเพาะปลูกได้แก่ ข้าวเหนียวสายพันธุ์ กข.6 และข้าวหอมมะลิ 105 เนื่องจากมีกลิ่นหอม และเป็นที่ต้องการของตลาด ผลผลิตข้าวของกลุ่มได้รับรางวัลข้าวดีระดับจังหวัดต่อเนื่อง 2 ปี และได้รับรางวัลข้าวดีระดับประเทศ ในช่วงเวลานอกฤดู ทางกลุ่มมีความต้องการองค์ความรู้ ในการพัฒนาต่อยอดข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ ทางคลินิกเทคโนโลยี โดยอาจารย์ ดร.ธนายุทธ ช่างเรือนงาม อาจารย์ ดร. ดร. กฤษฎิ์พงศ์ ภาษิตวิไลธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้าน มาตรฐานการเกษตร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นิเวศ จีนะบุญเรือง วิทยากรจากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการจัดอบรมในหัวข้อ การให้องค์ความรู้การเริ่มธุรกิจแปรรูปข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวปลอดสารพิษ อ.พาน จ.เชียงราย ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างแนวคิดการทำธุรกิจแปรรูปจากข้าว และแสวงหาเเนวทางพัฒนาเศษข้าวจากกระบวนการบรรจุให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งนี้กลุ่มเกษตรกรมีความสนใจในการพัฒนาคราฟเบียร์ ในสูตรของตนเองร่วมกับผู้วิจัยของคลินิกในอนาคต

https://clinictech.crru.ac.th/index.php/page/news_detail/598c88a0-c2c1-4b77-83cd-d3e94e4dfd23



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 28/09/2567 [17782]
8060 13
4 [17781]

เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรทด จอมสวรรค์ และอาจารย์ ดร.ธนายุทธ ช่างเรือนงามร่วมออกประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโครงการคลินิก การรับให้บริการคำปรึกษา การจัดแสดงผลงานของคลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพราราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ครั้งที่ 3  ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอขุนตาล จ.เชียงราย  



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 28/09/2567 [17781]
2408 38
4 [17780]

อาจารย์ ดร.ธนายุทธ ช่างเรือนงาม คณะกรรมการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย/ หัวหน้าโครงการ ร้อยรักตี๋ฮ่อมลมจอย (ปี2พันรักตี๋ฮ่อมลมจอย) หนึ่งในโครงการคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณแพลตฟอร์ม BCE2567และ ผู้ร่วมดำเนินโครงการ       รองศาสตราจารย์ ดร.ฟ้ารุ่ง สุรินา บุญทิศ ได้ร่วมเดินทางไปกับตัวแทนของชุมชนเพื่อรับโล่ เป็นสถานที่ขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ซึ่งเป็นการยืนยันความพร้อมของสถานที่ในการเป็น “แหล่งท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ในประเทศไทย” ที่มีความพร้อมตามหลักเกณฑ์กำหนด เช่น คุณภาพท้องฟ้า การบริหารจัดการแสงสว่าง และความเหมาะสมของพื้นที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ เป็นที่แรกในจังหวัดเชียงราย โดยการดำเนินกิจกรรมของโครงการพันรักตี๋ฮ่อมลมจอย ได้ผลักดันทั้งการสร้างมัคคุเทศก์ชุมชนที่ประกอบด้วยสมาชิกในกลุ่ม เยาวชนและประชาชนใน หมู่บ้าน การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการดูดาว และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สร้างจุดเด่นให้กับ วิสาหกิจชุมชนเกษตรฮ่อมลมจอยอย่างต่อเนื่องสนใจรายละเอียดของแหล่งท่องเที่ยวฟ้ามืด ฮ่อมลมจอยเพิ่มเติมดูรายละเอียดได้ที่ -->  https://shorturl.at/ygUIJ

https://clinictech.crru.ac.th/index.php/page/news_detail/36ec5ce5-c28d-47c9-85b4-c7ffc12a595f



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 28/09/2567 [17780]
8695 4
4 [17742]

เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการคำปรึกษาจากวิชาคหกรรมศาสตร์ประยุกต์ คณะสังคมศาสตร์ และสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมออกงานแสดงนิทรรศการประสัมนพันธ์ และให้บริการคำปรึกษาร่วมกับเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีเขตภาคเหนือ ภายใต้งานการทำบันทึกลงนามความร่วมมือ เพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ณ บ้านเรียนรู้ย้อมห้อมและย้อมสีธรรมชาติ ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 27/09/2567 [17742]
16296 65