ข้อมูลบริการให้คำปรึกษา รายละเอียดผู้รับบริการ
QR Code
ชื่อผู้รับเรื่อง
นายสราวุธ ศรีงาม
ชื่อผู้ถาม
นายวอเรียน สีดามา
ที่อยู่
250 หมู่ที่ 1 บ้านดอกไม้ ตำบลดอกไม้ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัด
ร้อยเอ็ด
เรื่องที่ถาม
การสาธิตการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า การสาธิตการปรุงดินสำหรับการปลูกผักสวนครัว การสร้างโรงเรียนที่เหมาะสำหรับการเพาะเห็ดฟาง
วันที่ถาม
02/04/2568
เทคโนโลยี
ไม่พบข้อมูลเทคโนโลยี
หน่วยงานดำเนินการ
มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ผลการให้คำปรึกษา
ผลการดำเนินงาน
การลงพื้นที่ให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีแก่ วิสาหกิจชุมชนเห็ดฟางบ้านดอกไม้ ในครั้งนี้ ดำเนินการโดย คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยการให้คำแนะนำและสาธิตกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า และ การปรุงดินสำหรับปลูกผักสวนครัว ตลอดจนแนวทาง การออกแบบและสร้างโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดฟาง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
- การให้คำปรึกษาและสาธิตกระบวนการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
สมาชิกกลุ่มสามารถเรียนรู้และเข้าใจ ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ เช่น การใช้ฟางข้าว ผักตบชวา และหัวเชื้อเห็ดฟาง ได้รับความรู้เกี่ยวกับ เทคนิคการบรรจุหัวเชื้อลงตะกร้า และ วิธีดูแลเห็ดฟางให้เจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปทดลองปฏิบัติจริง และพัฒนาเป็นแหล่งผลิตเห็ดฟางเพื่อจำหน่ายในชุมชน
- การสาธิตและฝึกปฏิบัติการปรุงดินสำหรับปลูกผักสวนครัว
กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับ การใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น แกลบดิบ แกลบเผา
ปุ๋ยหมัก และต้นกล้วย เรียนรู้วิธีการปรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืช เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตและลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี สมาชิกสามารถนำไปปรับใช้ในแปลงปลูกผักของตนเอง และพัฒนาเป็นกิจกรรมเสริมรายได้
- คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง
ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ หลักการออกแบบโรงเรือน ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของชุมชนเข้าใจแนวทาง การเลือกใช้วัสดุและโครงสร้างที่ประหยัดต้นทุน แต่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้ดีสามารถนำไปวางแผนก่อสร้างโรงเรือนที่ได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มผลผลิตและยืดอายุการเพาะเห็ดให้ต่อเนื่อง
จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเห็ดฟางบ้านดอกไม้ มีความสนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี สมาชิกกลุ่มสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดและพัฒนาแนวทางการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการปรับปรุงกระบวนการเพาะเห็ดฟางและการจัดการดินสำหรับปลูกพืช ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กว้างขวางขึ้น