ข้อมูลบริการให้คำปรึกษา รายละเอียดผู้รับบริการ
QR Code
ชื่อผู้รับเรื่อง
นางสาวดวงฤทัย แก้วคำ
ชื่อผู้ถาม
นางสาวศิวะพร นาคเกิด
ที่อยู่
246 หมู่ที่ 12 ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
จังหวัด
สมุทรปราการ
เรื่องที่ถาม
แม่อํานวย ปลาสลิดบางบ่อ ต้องการยืดอายุอาหารให้เก็บได้นานที่สุด ต้องการต่อยอดผลิตภัณฑ์ปลาสลิดทอดให้เป็นข้าวเกรียบปลาสลิด ซึ่งยังไม่มีวิธีทำที่เป็นมาตรฐาน และยังไม่มีบรรจุภัณฑ์
วันที่ถาม
01/04/2568
เทคโนโลยี
ไม่พบข้อมูลเทคโนโลยี
หน่วยงานดำเนินการ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ผลการให้คำปรึกษา
- ดร.เปรมระพี อุยมาวีรหิรัญ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ให้คำปรึกษาในการพัฒนาสูตรและออกแบบกระบวนการผลิตข้าวเกรียบปลาสลิด เนื่องจากข้าวเกรียบที่ผลิตใช้ปลาสลิดทอดเป็นวัตถุดิบจึงทำให้ผลิตภัณฑ์มีการพองตัวหลังทอดไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อลักษณะเนื้อสัมผัสและลักษณะปรากฎของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพคงที่
โดยอาจเติมสารไฮโดรคอลลอยด์ เช่น CMC ในส่วนผสมเพื่อเพิ่มการยึดเกาะและการพองตัว ควบคุมความชื้นของข้าวเกรียบหลังอบให้เหมาะสมโดยต้องไม่เกินร้อยละ 12 ซึ่งมีผลต่อการพองตัวของข้าวเกรียบหลังทอดแบบน้ำมันท่วม โดยควบคุมคุณภาพข้าวเกรียบปลาสลิด หลังการผลิตและระหว่างการเก็บรักษา อ้างอิงมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
ข้าวเกรียบ ดังนี้ 1. ข้าวเกรียบต้องเป็นแผ่นบางกรอบ มีการพองตัวดีและสม่ำเสมอ 2. ไม่มีกลิ่นอับและกลิ่นหืน 3. ข้าวเกรียบพร้อมบริโภค ความชื้นไม่เกินร้อยละ 4 4. จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ไม่เกิน 1x104 โคโลนี ต่อ ตัวอย่าง 1 กรัม 5. จำนวนเชื้อรา ไม่เกิน 100 โคโลนี ต่อตัวอย่าง 1 กรัม ด้านบรรจุภัณฑ์ควรเลือกวัสดุและออกแบบรูปทรงที่เหมาะสมของบรรจุภัณฑ์ รวมถึงฉลากที่ใช้แสดงข้อมูลของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสม รวมถึงฉลากเดิมยังไม่ตอบโจทย์ในเรื่องของการส่งเสริมการขาย ไม่มีจุดเด่น และไม่น่าสนใจ มีรูปแบบคล้ายกับข้าวเกรียบทั่วไปที่มีการจำหน่ายในท้องตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ควรพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์ที่เน้นความคุ้มค่าของการลดต้นทุนสำหรับกระบวนการผลิต รองรับประโยชน์ในเรื่องของการใช้งาน การเปิด-ปิด ความสะดวกสบายและปกป้องผลิตภัณฑ์สำหรับการขนส่ง การจัดเก็บ โดยใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีวัสดุและรูปแบบการบรรจุ คือ 1. การใช้บรรจุภัณฑ์ในถุงของถุงซิปล็อคพลาสติกใสชนิดโพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงแบบก้นตั้ง ผนึกถุงด้วยเครื่องซีลร้อน เพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชันหรือการเหม็นหืน และยังคงทำให้ผู้บริโภคมองเห็นผลิตภัณฑ์ มีน้ำหนักเบา มีพื้นที่ในการแสดงรายละเอียดหรือติดฉลาก หรือจัดพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ท (Offset printing) อีกทั้งยังสามารถลดพื้นที่จัดเก็บและขนส่งได้สะดวก 2. การใช้กล่องกระดาษเป็นบรรจุชั้นนอก โดยมีบรรจุเดิมที่เป็นถุงพลาสติกใสห่อหุ้มข้าวเกรียบชั้นแรก ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีรูปทรงสวยงามไม่แตกเสียหาย มีพื้นที่ในการแสดงรายละเอียดหรือติดฉลาก หรือจัดพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ท อีกทั้งยังสามารถลดพื้นที่จัดเก็บและขนส่งได้สะดวก