เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

ข้อมูลบริการให้คำปรึกษา รายละเอียดผู้รับบริการ

QR Code
ชื่อผู้รับเรื่อง
นางสาวดวงฤทัย แก้วคำ
ชื่อผู้ถาม
นายอทิวัต รอดคลองตัน
ที่อยู่
10 หมู่ที่ 3 ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
จังหวัด
สมุทรปราการ
เรื่องที่ถาม
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านรักษ์สุขภาพ ณ บางน้ำผึ้ง ต้องการปรับปรุงกระบวนการสกัดสารสมุนไพรไม่ให้มีแบคทีเรียปนเปื้อนในการผลิตสินค้าเจลอาบน้ำตำลึง ปรับสูตรใหม่ให้มีความง่ายกว่าสูตรเดิม สะดวกรวดเร็ว ลดเวลาการผลิต ทำเจลอาบน้ำให้มีประสิทธิภาพบํารุงผิว โดยเน้นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สารสกัดใบตำลึง น้ำผึ้งชันโรง ฯลฯ สูตรเดิมใช้เวลาตั้งแต่สกัดสารจนได้เจลอาบน้ำใช้เวลา 15 วัน และมีอายุการเก็บรักษาไม่เกิน 1-2 เดือน จึงต้องการสูตรใหม่ที่ใช้เวลาสั้นลง มีอายุการเก็บรักษามากกว่า 6 เดือน
วันที่ถาม
01/04/2568
เทคโนโลยี
ไม่พบข้อมูลเทคโนโลยี
หน่วยงานดำเนินการ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ผลการให้คำปรึกษา
- อาจารย์อัญชนา ขัตติยะวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้คำปรึกษาในการพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ คือ สารสกัดใบตำลึงให้มีความบริสุทธิ์ปราศจากเชื้อแบคทีเรีย โดยแบบเดิมใช้ใบสดแล้วสกัดด้วย Ethyl Alcohol 70 % คาดว่าน้ำที่มีในใบตำลึงสดอาจทำให้ประสิทธิภาพในการสกัด และฆ่าเชื้อแบคทีเรียลดลง จึงส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียได้ จึงควรใช้ Ethyl Alcohol 95 % ในขั้นตอนการสกัดใบตำลึง ทำการเปรียบเทียบการสกัดโดยใช้ใบสด และการใช้ใบแห้ง แล้วเปรียบเทียบการสกัดทั้ง 2 แบบ ว่าแบบไหนได้สารสกัดที่ปราศจากเชื้อแบคทีเรียได้มากกว่ากัน โดยทดสอบในห้องปฏิบัติการ ปัจจัยที่ควบคุมให้คงที่คือการชั่งปริมาณวัตถุดิบคือใบตำลึง และการตวง ( Ethyl Alcohol) ที่ใช้ในการสกัดสาร และทำการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตเจลอาบน้ำตำลึงสูตรใหม่ให้มีความง่ายกว่าสูตรเดิมสะดวกรวดเร็ว โดยลดขั้นตอน และลดเวลาการผลิต เน้นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สารสกัดใบตำลึง สารโพรโพลิส น้ำผึ้งชันโรง ฯลฯ และสารสำคัญที่เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวคือ Essential Oil สูตรใหม่จะใช้เวลาตั้งแต่สกัดสารจนได้เจลอาบน้ำใช้ระยะเวลาเพียง 7 วัน เป็นการลดระยะเวลาในการผลิต และมีอายุในการเก็บรักษามากกว่า 6 เดือน เนื่องจากใส่สารฆ่าเชื้อจากธรรมชาติ





สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
Science Research and Innovation Promotion and Utilization Division
Designed & Developed by Ekapong Musikacharoen
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th