ทำความเข้า Services Blueprint ของ กปว. ด้วย Miro (web application)  289

คำสำคัญ : กลไก  บริการ  Blueprint  Oneroute  

จากการประชุมกองในวันที่ 20 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการกล่าวถึงบทบาทหน้าที่และโครงการ ของกลุ่มงานต่างๆ ภายใน กปว.
และเพื่อสรุปทำความเข้าใจอีกครั้ง ผมจึงเลือกใช้เครื่องมือการเขียน Diagram เพื่อเข้าใจกลไกการทำงานของ กปว.ได้ชัดเจนเห็นภาพมากยิ่งขึ้น
ร่วมกับการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมจาก แผนกลยุทธ์ กปว. ประจำปีงบประมาณ 2566-2570 

ทั้งนี้ Service Blueprint ที่ได้นั้น อาจมีความผิดพลาดและข้อมูลที่ตกหล่นไป เนื่องจากสรุปจากความเข้าใจของกระผมเพียงผู้เดียว
ดังนั้น ทุกท่านสามารถเข้าไปปรับปรุงแก้ไข Diagram ด้านบน เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจกระบวนการทำงานและ Interaction ภายในองค์กรของ กปว. ผ่านทาง Link: 

https://miro.com/welcomeonboard/YmhTVzNxakhOUDc5blEyc1l0bklHTWladGlPVHRMUVNzSEthak1hdVVpSTBweW5LMk9KSmMyVDl1VFRweTAxRHwzNDU4NzY0NTY3ODcyMDk1NDYxfDI=?share_link_id=209552906994

โดยสามารถทำการ log in โดยใช้ Email ของ สป.อว. (@mhesi.go.th) เพื่อเข้าร่วมทีม Mhesi เพื่อสร้างและแชร์ข้อมูลการทำงานในอนาคตได้อีกด้วย

มาถึงส่วนการในการอธิบาย Service Blueprint ที่สอดคล้องกับแนวทาง ONE Route ตามความเข้าใจของผู้เขียน

Step 1 : เมื่อลูกค้า (ผู้ประกอบการ/กลุ่มเกษตรกร/ประชาชน) ได้ติดต่อผ่านช่องทางต่างๆ ของ กปว. คลินิคเทคโนโลยี อุทยานวิทยาศาสตร์ โทรศัพท์ (เท่าที่ทราบ) จะมีการเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการรวมถึงตอบคำถามเทคโนโลยีในเบื้องต้น จากนั้นหลังบ้านจะมีการเก็บข้อมูลลงใน ฐานข้อมูลกลาง (ความมีและสามารถ Access ตลอดเวลา) 

Step 2 : เมื่อรับข้อมูลเบื้องต้น หลังบ้านร่วมกันทำการวิเคราะห์ความต้องการและเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของลูกค้า ตามการแบ่ง Platform ของ one ruote ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ Economic Development, Social Development, Infrastructure หรือพิจราณาส่งต่อลูกค้า ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

Step 3 : หลังบ้าน ทำการจำแนกความต้องการของลูกค้าเพื่อค้นหาทีมสนับสนุน ผู้เชี่ยวชาญ และให้ความสนับสนุนที่เหมาะสม

Step 4 : ระบบที่เข้ามาช่วยในการค้นหา ได้แก่ CMO / NSTIS / NRIIS และเกิดกระบวนการสรรหาผู้เชี่ยวชาญ และเกิดการ matching ผู้เชี่ยวชาญกับลูกค้า

Step 5 : เป็นการะบวนการพัฒนาลูกค้า ตามระยะที่เหมาะสม แบ่งตาม Economic platform

Step 6 : เป็นการรับ feed back จากลูกค้า และการติดตามประเมินผล และเก็บข้อมูล

Step 7 : ส่งต่อลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาแพลตฟอร์มที่สูงขึ้นหรือไปยังหน่วยงานอื่นๆ เพื่อขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติม

ทั้งนี้ระหว่างการทำ Diagram นี้ ยังมีความไม่ชัดเจนที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม ทั้งในเรื่องของ กระบวนการ/Interaction/การส่งต่องาน ภายในที่ต้องลงรายละเอียดเพิ่มเติม และ Key actor ในแต่ละกิจกรรม รวมถึงข้อมูลในฐานข้อมูลที่ควรเก็บเพื่อนำมาใช้ประโยชน์และพัฒนาองค์กรให้เป็น Data Driven Organization ต่อไป จึงอยากขอคำแนะนำเพิ่มเติมในส่วนนี้ต่อไป

 

ด้วยความเคารพ
ณัฐพล มหาไม้
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ


เขียนโดย : นายณัฐพล  มหาไม้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : nattaphon.m@mhesi.go.th