งาน Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall (ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน)  87

คำสำคัญ : SRI  Network  Townhall  พัฒนางาน  

สรุปผลการดำเนินงาน และให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานการมีส่วนร่วมใน โครงการ/กิจกรรม (ที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของ กปว. / สป.อว.)

การจัดประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567ณ เวทีกลาง ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ภายในงาน อว.แฟร์

โดยงาน SRI Network Townhall มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรมและชุมชน นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยภายในงานจะมีกิจกรรมมอบโล่ SRI ENGAGEMENT NETWORK สำหรับหน่วยงานที่ร่วมดำเนินภารกิจเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และการปาฐกถาพิเศษ โดย ศาสตราจารย์ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในหัวข้อ “THE POWER OF SRI NETWORK”โดยมีหน่วยงานที่ร่วมดำเนินโครงการฯ รับโล่ จำนวน 98 แห่ง และมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 417 คน

ในการจัดงาน 1 งาน จำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมในการภาพรวมของงาน เพื่อให้งานประสบความสำเร็จนั้น จะต้องมีการเตรียมการอย่างไรบ้าง

- เริ่มตั้งแต่การรับโจทย์จากหัวงาน การประชุมหารือแนวทางการจัดงาน ภาพรวมงานที่ต้องการ เมื่อเรามีเป้าหมายและความเข้าใจที่ตรงกัน ก็สามารถดำเนินงานต่อไปได้เลย

- การประสานงานกับออแกไนซ์ผู้จัดงาน ถึงภาพรวมของงาน /concept /จำนวนผู้เข้าร่วม/ สิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องการ เพื่อให้ทางออแกไนซ์ ตรวจสอบว่าสามารถดำเนินการให้เราได้หรือไม่

- การบริหารจัดการในภาพรวม / แบ่งงานรับผิดชอบ โดยจัดประชุมชี้แจงภาพรวมของการจัดงาน และแบ่งหน้าที่ให้ทุกคนในกลุ่ม (ภายในกลุ่มสามารถ DISCUSS ถึงความเหมาะสมหรือแสดงมุมมองในด้านอื่นๆ เสนอได้ เพื่อให้งานออกมามีคุณภาพ)

- การแบ่งงานตามความเหมาะสมของแต่ละคน ก็จะสามารถทำให้งานราบรื่นได้เช่นกัน เช่น

  - การออกแบบเวที /ออกแบบโล่ /ภาพแสดงเวลาประธาน ขึ้นกล่าว /ภาพตอนมอบโล่ที่มีโลโก้หน่วยงาน /งานด้าน IT(แบ่งงานตามความถนัด และขอความช่วยเหลือจากน้องในกลุ่มอื่นที่มีความเชี่ยวชาญ)

 - การประสานหน่วยงาน (แบ่งตามโครงการที่ดูแล)

 - การจัดทำหนังสือเชิญ /แบบฟอร์มการลงทะเบียนออนไลน์ (แบ่งเป็นเชิญรับโล่ /เชิญเข้าร่วม) /หนังสือขอความอนุเคราะห์ ปอว. ลงนามในโล่

- การลงทะเบียนรับโล่ /การลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงาน (ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการออกแบบการลงทะเบียน)

- การจัดผังที่นั่ง (แยกผู้รับโล่ /ผู้เข้าร่วมงาน ติดหมายเลขที่นั่ง เพื่อให้สะดวกในการเชิญไปยังที่นั่ง)

 - การจัดเรียงโล่ (ลำดับการมอบโล่ ต้องสัมพันธ์กับการจัดผังที่นั่ง ยิ่งในงานมีอีก 2 งานย่อย จะต้องประสานกับ 2 งานด้วย )

 - การจัดเตรียมอาหารว่าง/อาหารกลางวัน

 - หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม เก็บอุปกรณ์ / แบคดรอป /ป้ายต่างๆ เคลียร์พื้นที่ เพื่อให้กิจกรรมต่อไป

ในฐานะผู้รับผิดชอบในการจัดงานดังกล่าว มีข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงาน ดังนี้

- การสื่อสาร เป็นสิ่งสำคัญ ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะไอเดียต่างๆ ยิ่งทำงานเป็นทีม ควรการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อรายงานความก้าวหน้า หรือหากเกิดประเด็นปัญหาอะไร จะได้ช่วยกันแก้ไข หาทางออกได้

- การเปิดใจรับฟังความเห็นของผู้อื่น เป็นสิ่งที่ดี เพราะบางครั้งเราอาจจะมองแค่ด้านในด้านหนึ่ง หากมีความคิดเห็นของคนอื่นมาประกอบ จะทำให้เราสามารถมองได้รอบด้านมากขึ้น ส่งผลให้งานประสบความสำเร็จ แต่ก็ต้องเลือกประเด็นด้วยนะคะ อย่ารับประเด็นทั้งหมดมาโดยไม่มีการคัดแยกหรือกลั่นกรอง อาจจะทำให้งานออกมาสะเปะสะปะ ได้

- การมอบหมายงานที่เหมาะสมให้แต่ละคน และการเป็นหัวเรือที่ดี ก็สำคัญต่อการเดินทางไปถึงจุดหมาย ไม่มีใครเก่งเกินใคร อยู่ที่ความถนัดและความเชี่ยวชาญของแต่ละคน

- การทำงานเป็นทีม เข้าใจในหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น รับฟัง ช่วยเหลือ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีความจริงใจต่อกัน จะทำให้การทำงานราบรื่น

การทำงานก็เหมือนการล่องเรือลำใหญ่ 1 ลำ เรามีกัปตัน คอยชี้ทาง มีต้นเรือ หรือรองกัปตัน ที่ช่วยควบคุม ดูแลเรื่องต่างๆ ภายในเรือ มีท้ายเรือ คอยดูด้านหลังให้ มีกลาสีเรือ ที่เป็นฝ่ายปฏิบัติงานภายในเรือทุกอย่างที่ กัปตันหรือต้นเรือ มอบหมาย มีฝ่ายช่างกลเรือ คอยซ่อมแซมดูแลเรือให้อยู่ในสภาพดี

หากขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไป ถามว่าเรือเดินได้หรือไม่ เดินได้ แต่อาจจะถึงจุดหมายช้ากว่า หรืออาจจะเกิดเหตุการณ์ใด ที่ทำให้เรือไม่สามารถถึงจุดหมายได้

ดังนั้น เรามาร่วมกันเดินเรือไปข้างหน้าจนถึงจุดหมายในระยะเวลาที่ตั้งไว้ด้วยกันนะคะ


เขียนโดย : น.ส.พรทิพย์  เพิ่มวรัญญู สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : pronthip.p@mhesi.go.th