Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
สรุปคำถามที่พบบ่อยในการจัดซื้อจัดจ้าง 180
สรุปคำถามที่พบบ่อยในการจัดซื้อจัดจ้าง
1. ความแตกต่างระหว่าง งบดำเนินงานและงบลงทุน กับการจัดซื้อจัดจ้าง ?
1.1 งบดำเนินงาน รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ ได้แก่
- วัสดุ
- ซ่อมแซม
- จ้างเหมาบริการ
- ค่าเช่า
- ตอบแทนกรรมการ เป็นต้น
2) งบลงทุน รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการลงทุนได้แก่
- ครุภัณฑ์
- ที่ดิน
- สิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
2. ความแตกต่างระหว่าง การซ่อมแซมและปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง ?
2.1 การซ่อมแซม คือ การซ่อม การดำเนินการ และ/หรือ การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบอันเป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมดให้คงสภาพ และ/หรือ ใช้งานได้ตามปกติดังเดิม (ใช้งบดำเนินงาน)
2.2 การปรับปรุง คือ การแก้ไข การกระทำ และ/หรือ การดำเนินการอื่นใดเพื่อให้สิ่งก่อสร้างซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วคงสภาพเดิมหรือให้มีสภาพที่ดียิ่งขึ้นมีอายุการใช้งานเพิ่ม มีมูลค่าเพิ่มขึ้น (ใช้งบลงทุน)
3. วัสดุแต่งต่างครุภัณฑ์อย่างไร ?
3.1 วัสดุจำแนกออกเป็นได้ 3 ประเภท
- วัสดุคงทนได้แก่ สิ่งของที่มีลักษณะคงทนแต่มีอายุการใช้งานไม่ยืนนาน เกิดความชำรุดเสียหาย ไม่สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้หรือ ซ่อมแซมแล้วไม่คุ้มค่า
- วัสดุสิ้นเปลืองได้แก่ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลือง หมดไป แปรสภาพ หรือเปลี่ยนสภาพไปในระยะเวลาอันสั้น หรือไม่คงสภาพเดิม
- วัสดุอุปกรณ์ประกอบและอะไหล่ ได้แก่ สิ่งของที่ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบหรืออะไหล่สำหรับการซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สินให้กลับคืนสภาพดังเดิมที่มีลักษณะเป็นการซ่อมบำรุงปกติ หรือ ค่าซ่อมกลาง
3.2 ครุภัณฑ์ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานยืนนาน เมื่อชำรุดเสียหายแล้วสามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม
4. การแบ่งซื้อแบ่งจ้างสามารถทำได้หรือไม่ ?
การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง หมายถึง การลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกัน ออกเป็นหลายครั้ง
โดยไม่มีเหตุผลความจาเป็น และมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง (ไม่สามารถทำได้)
4.1 แบ่งวงเงิน ให้ลดลงเพื่อเปลี่ยนวิธีจัดหาพัสดุ
4.2 ให้ผู้มีอำนาจสั่งซื้อ สั่งจ้าง เปลี่ยนไป
เช่น การจัดซื้อพัสดุประเภทชนิดเดียวกัน แม้ต่างขนาดและราคา เมื่อมีการประมาณการความต้องการในการใช้งานของทั้งปีแล้ว จะต้องจัดซื้อรวมในครั้งเดียวกัน เว้นแต่มีเหตุผลที่ชัดเจนที่จำเป็นต้องแยกซื้อที่ไม่ใช่เป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง เพื่อประโยชน์ในการบริหารการพัสดุ จะต้องกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการจัดซื้อโดยใช้สัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ เพื่อออกใบสั่งซื้อเป็นคราว ๆ ให้สอดคล้องกับการใช้งานจริง
ข้อมูลความรู้จาก การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเติมความรู้และเพิ่มศักยภาพ การปฏิบัติงานในการขับเคลื่อน ววน. ระดับพื้นที่ ครั้งที่1
หัวข้อ การบรรยาย ความรู้เรื่องกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
วันพุธที่ 18 ตุลาคม 2566 เวลา 8.30-16.00 น. ณ ห้องอบรม 320 ชั้น3 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ
เป็นการสรุปจากผู้บันทึกข้อมูล หากมีเนื้อหาผิดพลาดประการใดสามารถ Comment แจ้ง หรือแลกเปลี่ยนความเห็นได้
ขอบคุณค่ะ