องค์กรในไทย พร้อมแค่ไหนกับการใช้ AI?  52

คำสำคัญ : AI  

 

ยุคที่ AI กลายเป็นเทรนด์เทคโนโลยีที่ถูกพูดถึงและนำมาใช้กันแพร่หลายมากที่สุด จากความโดดเด่นของการประมวลผลข้อมูลที่ชาญฉลาด และความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ช่วยสนับสนุนการทำงานด้านต่างๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งในภาคการเกษตร การผลิต การค้า และบริการ จึงทำให้ทั่วโลกมีการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี AI มากกว่า 9.19 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2022 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2025 ขณะที่การนำ AI มาใช้งานสามารถช่วยเพิ่ม GDP ของโลกได้อีก 7% (7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) และยกระดับประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 1.5%

องค์กรในไทย พร้อมแค่ไหนกับการใช้ AI?

จากการสำรวจความพร้อมในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา พบว่า มีหน่วยงานเพียง 15.2% (จาก 565 หน่วยงานที่ตอบแบบสอบถาม) ที่นำเทคโนโลยี AI ไปใช้แล้ว โดย 50% ของหน่วยงานที่ตอบแบบสอบถามคาดหวังในการใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือบริการขององค์กร อปี โดยประเทศไทยเองก็อาจเพิ่มผลิตภาพประมาณ 0.9% ต่อปี จากการประยุกต์ใช้

ขณะที่เหตุผลของหน่วยงานที่ยังไม่นำ AI มาใช้งาน คือ

1. ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาหาข้อมูล เนื่องจากยังไม่ทราบว่าจะนำ AI มาประยุกต์ใช้อย่างไร

2. ยังขาดความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร งบประมาณ

3. ยังไม่มีความจำเป็นในการนำ AI มาใช้

ไทยเตรียมแผนรับมือทั้ง “คนเก่ง” และ “เงินทุน” ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงในยุค AI

ปัจจุบันประเทศไทยมีแผนด้าน AI ที่สร้างความเข้มแข็งให้กับหลากหลายภาคส่วน ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี AI ของประเทศอย่างเป็นระบบ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สทวช. ได้ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) จัดทำ “แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2565-2570” ซึ่งมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในวงกว้าง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจและช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ 15 แผนงานส่วนด้านของกลไกการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องรวม 3 คณะ ได้แก่

1. คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ

2. คณะอนุกรรมการพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์

3. คณะทำงานขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ

โดยมี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. ในฐานะกรรมการของคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ และอนุกรรมการของคณะอนุกรรมการพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี AI ผ่านแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566-2570 โดยมีเป้าหมาย ดังนี้ 

1. การเพิ่มมูลค่าการขายผลิตภัณฑ์และบริหารเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI จำนวน 1,000 ล้านบาท

2. หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและ AI จากผลงานการวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 300 หน่วยงาน

3. การเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย พัฒนา และ/หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและ AI จำนวน 600 คน

แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/money/tech_innovation/digital_transformation/2796041


เขียนโดย : น.ส.สัณหพร   ฝาชัยภูมิ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sanhaporn.ph@ku.th