แนวทางการเชื่อมโยงกลไกเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนางานด้าน ววน. ในพื้นที่  78

คำสำคัญ : คลินิกเทคโนโลยี  

จากกิจกรรมการเสวนาเรื่อง “แนวทางการเชื่อมโยงกลไกเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนางานด้าน ววน. ในพื้นที่”  ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค”  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พื้นที่ภาคเหนือ ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) ในวันที่ 7 มิถุนายน 2567ที่ผ่านมา โดยมี ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผธท. เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนาร่วมกับวิทยากร ได้แก่ ผศ.ไพโรจน์วรพจน์พรชัย(ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีมทร.ล้านนา)ผศ.ดร.สันธิวัฒน์พิทักษ์พล– (ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีม.พะเยา)ผศ.ดร.เกษมศักดิ์อุทัยชนะ(ประธานเครือข่ายอุดมศึกษาC-UBI ภาคเหนือตอนบน) และผศ.ดร.สุริยะทองมุณี– (รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

ขอสรุปประเด็นที่ได้จากกิจกรรมเสวนา ดังนี้

  • การสื่อสารอย่างไร เพื่อทำให้ชุมชนเข้าใจการนำ วทน. ไปใช้แก้ปัญหาและยกระระดับคุณภาพชีวิต
  • การผลักดันการทำงานแบบบูรณการร่วมกันระหว่างคลินิกเทคโนโลยีภาคเหนือในการลงพื้นที่ เพื่อให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้จากสาขาต่างๆ ร่วมกัน โดยแบ่งหัวข้อตามความเชี่ยวชาญของแต่ละมหาวิทยาลัย
  • การสร้างคนผ่านกลไกการพัฒนา ครู สกร. ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่/บนดอย ให้เป็นครูนักวิทย์ที่ทำหน้าที่รับปัญหา/ความต้องการด้าน วทน. และการนำ วทน. ไปแก้ปัญหาในพื้นที่
  • customer journey: การจัดทำแผนภาพแสดงภาพรวมของการทำงานทั้งหมดและการเชื่อมโยงโครงการย่อยแต่ละโครงการของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะช่วยให้สามารถจับคู่ความต้องการกับโครงการได้ง่ายขึ้นและสร้างความสะดวกให้ผู้รับบริการ
  • demand – supply alignment:การเชื่อมโยงความต้องการของชุมชน/ผู้ประกอบการกับสิ่งที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ (โครงสร้างพื้นฐานเช่น lab/ องค์ความรู้-โครงกาวิจัย/ นักวิจัย)
  • Value chain: การจัดทำห่วงโซ่คุณค่าให้เห็นภาพรวมและ milestone ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละปีโดยการพัฒนาควรทำตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ (ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มชุนชน) กลางน้ำ (กลุ่มผู้ประกอบการ) และปลายน้ำ
  • การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และการหาโอกาสทำงานร่วมกับส่วนราชการ/สภาพัฒน์ฯ/หอการค้า/ภาคเอกชน ในพื้นที่ เช่น การทำแผนกลุ่มจังหวัด  จะเป็นโอกาสในการสร้างบทบาท สื่อสารให้เห็นข้อดีและประโยชน์จากการใช้ วทน. และทำให้รับทราบข้อมูลความต้องการ (Demand)
  • การสร้างกลไกการทำงานให้นักวิจัยวางแผนการทำงานแบบ begin with the end in mind (ตามที่ อ.ดร.อุทัย ได้แนะนำ)
  • ควรจัดหาบุคลากรที่ทำหน้าที่เป็นfont – จัดทำข้อมูล stock ของมหาวิทยาลัย/ข้อมูลภาคเอกชน /ข้อมูลแหล่งทุน
  • ควรทำตัวเป็นเหมือนยาชุดคือ ทำได้ทั้งรักษา บำรุง และเสริมสร้าง (การเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ในพื้นที่ เพื่อสร้างโอกาส)

เขียนโดย : เอสา  เวศกิจกุล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : asa.v@mhesi.go.th