เมืองสร้างสรรค์ (Creative city)  49

คำสำคัญ : creative_city  

แนวคิดเรื่อง เมืองสร้างสรรค์” (Creative City)โดย David Yencken นักธุรกิจผู้หลงใหลในการอนุรักษ์แหล่งมรดกชาวอังกฤษที่ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลีย แนวคิดเมืองสร้างสรรค์นี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ด้านการวางผังเมือง อันเน้นย้ำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ระหว่างเมือง ประชาชนผู้อยู่อาศัย และสร้างประสบการณ์ความพึงพอใจของสถานที่นั้น ๆ

ย้อนกลับไปในช่วงราวปลายยุคทศวรรษที่ 70 และต้นทศวรรษที่ 80 ในประเทศอังกฤษเริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจและความดึงดูดด้านวัฒนธรรมกล่าวถึงความสำคัญของวัฒนธรรมอันมีผลต่อคุณภาพชีวิต การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และการสร้างงานแก่ผู้คน

ปัจจัยหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานวัฒนธรรม คือ การวางแผนบนฐานวัฒนธรรม และ ทุนทางด้านวัฒนธรรม 

เมืองสร้างสรรค์ 1คือเมืองที่เปิดโอกาสให้กิจกรรมทางวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ที่หลากหลายได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองนั้นๆ เป็นสถานที่ที่วัฒนธรรมศิลปะ อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ การแสดงออกที่หลากหลายและจินตนาการที่เฟื้องฟู และมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและเกิดการเติบดตถ้วยหน้า สินทรัพย์เหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดของนวัตกรรมและความมีเอกลักษณ์ และผู้มีบทบาทที่หลากหลายทั้งภาครัฐและเอกชนภายในเมืองสร้างสรรค์เหล่านี้ดำเนินการเพื่อเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์มีส่วนทำให้เกิดประโยชน์ทั้งการพัฒนาเชิงพื้นที่ เศรษฐกิจ และสังคม

เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งหรือต้นกำเนิดของเศรษฐกิจสร้างสรรค์จำเป็นต้องมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ชัดเจน มีวิสัยทัศน์และการบริหารจัดการเมืองที่สนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยความสร้างสรรค์จำเป็นต้องมีองค์ประกอบหลักอยู่ 4 ประการ ได้แก่ วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจและสังคม กิจกรรมเป็นกลไกขับเคลื่อนบนฐานวัฒนธรรมให้เกิดอุตสาหกรรมและการกระจายรายได้ ผู้คนที่ทำงานสร้างสรรค์และผู้ประกอบการสร้างสรรค์รวมตัวกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเมืองที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลงทุน ผลิตและจำหน่าย พื้นที่คุณภาพเพื่อประกอบกิจกรรมสร้างสรรค์

ยูเนสโกได้จัดทำโครงการ ‘เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก’ (UNESCO Creative Cities Network หรือ UCCN) ซึ่งเป็นการร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ผ่านนโยบายระดับท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับเมืองต่างๆ ทั่วโลก เกิดเป็นเครือข่ายที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน โดยเบ่งเมืองสร้างสรรค์ออกเป็น 7 สาขา

          

โดยที่ผ่านมาประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับรองเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกแล้ว 7แห่ง ได้แก่

ปี 2558: ภูเก็ต เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร (City of Gastronomy)

ปี 2560:  เชียงใหม่ เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน(City of Crafts and Folk Art)

ปี 2562: กรุงเทพมหานคร เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ(City of Design) และสุโขทัย เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน(City of Crafts and Folk Art)

ปี 2564: เพชรบุรี เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร(City of Gastronomy)

 ปี 2566:  เชียงราย เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ(City of Design)และสุพรรณบุรี เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี (City of Music)

 

สามารถเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มได้จากเอกสารอ้างอิง ดังนี้

1https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000377427

2https://www.cea.or.th/th/single-research/Creative-City-Chiangmai


เขียนโดย : เอสา  เวศกิจกุล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : asa.v@mhesi.go.th