10 ลักษณะนิสัยหรือคุณสมบัติของเพื่อนร่วมงานที่ดี และแนวทางในการเปลี่ยนตัวเราให้เป็น “เพื่อนร่วมงานที่ดี” ที่ใครๆ ก็อยากทำงานด้วย (เขียนบล็อกเพื่อให้ข้อคิดเห็นในการพัฒนางานของบุคลากร กปว.)  98

คำสำคัญ : co-worker  Good  relationship  

10 ลักษณะนิสัยหรือคุณสมบัติของเพื่อนร่วมงานที่ดี และแนวทางในการเปลี่ยนตัวเราให้เป็น “เพื่อนร่วมงานที่ดี” ที่ใครๆ ก็อยากทำงานด้วย

(เขียนบล็อกเพื่อให้ข้อคิดเห็นในการพัฒนางานของบุคลากร กปว.)

 

          เราเคยลองนั่งคิดเล่น ๆ กันไหมคะ เพื่อนร่วมงานใน กปว. ที่เราชอบทำงานด้วยมากที่สุด มีลักษณะนิสัยอย่างไร? บางคนอาจจะชอบเพื่อนร่วมงานที่อารมณ์ดียิ้มแย้ม ขณะที่บางคนอาจชอบเพื่อนร่วมงานที่มีระเบียบหรือมีเป้าหมายชัดเจน หรืออาจจะด้วยบุคลิกอื่น ๆ ที่ทำให้เราประทับใจ

คำว่า “เพื่อนร่วมงานที่ดี” คือ คนที่เพื่อนพนักงานหลายคนชื่นชอบและอยากทำงานด้วยอยากอยู่ใกล้ชิด รวมถึงคนที่ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานด้วยความเคารพและให้เกียรติ ในแง่ขององค์กรการมีเพื่อนร่วมทีมที่ดีถือเป็นความโชคดีอย่างที่สุด เพราะคนจะหมดปัญหากับเพื่อนร่วมงาน Toxic แต่ได้เพื่อนร่วมงานที่คอยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวกแทน

บทความนี้จะให้ข้อมูล ผลของการจัดอันดับ 10 ลักษณะนิสัยหรือคุณสมบัติของเพื่อนร่วมงานที่ดี และเสริมด้วยแนวทางในการเปลี่ยนตัวเราให้เป็น “เพื่อนร่วมงานที่ดี” ที่ใครๆ ก็อยากทำงานด้วย อยากให้ลองหาดูนะคะ ว่า “เพื่อนร่วมงานที่ดี” ของมุมมองของเรา คือใคร ...และลองกระซิบบอกเค้านะคะ ว่าคุณเลือกเค้า..รวมทั้งเราเองควรต้องพัฒนาตัวเราเองอย่างไร เพื่อให้เป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีในสายตาของคนอื่นด้วย...ในสภาวะที่ กปว. ทุกคนทำงานกันเยอะแยะมากมายภาระงานภายหน้ากองท่วมหัว แต่ก็ไม่อยากให้ละเลยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีสำหรับทุกคนใน ครอบครัว กปว. เพื่อเราจะได้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข


 

อันดับที่ 10 Helpful: ชอบช่วยเหลือ : เพื่อนร่วมงานที่ยินดีให้ความช่วยเหลือเราในสถานการณ์ที่ยากลำบากหรือเวลาที่เราต้องการความช่วยเหลือเขามักจะเป็นบุคคลแรกๆ ที่ยื่นมือเข้ามาช่วยทั้งที่เราไม่ได้ร้องขอหรือร้องขอ เขาจะคอยพยายามถามไถ่ ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ (หรือถ้าเขาช่วยไม่ได้ก็จะพยายามเชื่อมเรากับคนที่ช่วยได้)

อันดับที่ 9 Hard-working ขยัน/ทำงานหนัก : คนที่ขยันหรือทำงานหนักแสดงว่าเขากำลังพยายามช่วยให้ทีมบรรลุเป้าหมายอยู่ การทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่ในการทำงานมักจะได้รับการสังเกตและชื่นชมจากคนรอบตัวอย่างอย่างรวดเร็ว

อันดับที่ 8 Good communicator สื่อสารได้ดี : ความสามารถในการพูด อ่าน และเขียนกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นส่วนสำคัญของการเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้คุณและเพื่อนร่วมงานทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ขจัดอุปสรรคของการสื่อสารที่ตกหล่น และยังรวมไปถึงการทำงานต่างแผนกด้วย

อันดับที่ 7 Goal-oriented มุ่งสู่เป้าหมาย : ทั้งผู้บริหารหรือหัวหน้าทีมมักจะชื่นชมพนักงานมีเป้าหมายและพยายามพาตนเองมุ่งสู่เป้าหมาย เนื่องจากบุคคลนี้จะทำงานอย่างหนักและทุ่มเทเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรและช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ

อันดับที่ 6 Energetic กระตือรือร้น : เพื่อนร่วมงานคนที่มาทำงานในแต่ละวันด้วยทัศนคติที่แจ่มใส มีน้ำเสียงทักทายที่ชวนให้เราอยากพูดคุยด้วย หรือพยายามที่จะแพร่กระจายความคิดเชิงบวกหรือความสบายใจให้แก่เพื่อนร่วมงาน บรรยากาศเชิงบวกเช่นนี้ช่วยให้สถานที่ทำงานรู้สึกมีพลังงานมากขึ้น

อันดับที่ 5 Creative ริเริ่มสร้างสรรค์ : ผู้จัดการมักจะชื่นชมพนักงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นไอเดียหรือแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ เมื่อเพื่อนร่วมงานรู้ว่าคุณเป็นคนที่ริเริ่มสร้างสรรค์ พวกเขามักจะขอความคิดเห็นของคุณสำหรับโครงการต่างๆ และนี่ทำให้บุคคลนี้กลายเป็นคนที่เพื่อนร่วมงานอยากอยู่ใกล้ เพราะเขาจะได้ไอเดียสดใหม่อยู่เสมอ

อันดับที่ 4 Collaborative การทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ : การทำงานร่วมกัน คือ การทำงานแบบประสานความร่วมมือทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักขององค์กรร่วมกัน ซึ่งการทำงานแบบ Collaborative มีความแตกต่างจากทำงานแบบ Teamwork ตรงที่การทำงานเป็นทีม บุคคลในทีมจะมีบทบาทของตนเองไม่ว่าจะเป็นผู้นำหรือสมาชิกทีม โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของทีมบางอย่าง ส่วนการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ (Collaboration) บทบาทของแต่บุคคลจะเท่าเทียมกันมีเป้าหมายเพื่อบรรลุผลสำเร็จร่วมกัน นี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมหลายๆ คนชอบเพื่อนร่วมงานแบบ Collaborative เพราะเขาจะนึกถึงการบรรลุผลสำเร็จร่วมกันอยู่เสมอ

อันดับที่ 3 Attentive ใส่ใจและให้ความสนใจ : เรามักชอบการเป็นคนสำคัญ เพื่อนพนักงานที่มีความใส่ใจและให้ความสนใจเขามักมีพฤติกรรมที่ใส่ใจโดยเฉพาะการรับฟัง โดยเฉพาะการตั้งใจฟังความต้องการเพื่อนร่วมงานและร่วมไปถึงลูกค้า ดังนั้น เพื่อนร่วมงานที่ดีจะทำให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ รู้สึกว่าสิ่งที่ตนเองพูดมีความสำคัญเพราะมีคนให้คุณค่าในการรับฟังและใส่ใจ

อันดับที่ 2 Adaptable ปรับตัวได้ดี : การสามารถปรับตัวเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปเป็นส่วนสำคัญของการเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี ความสามารถในการปรับตัวเป็นทักษะที่สำคัญในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยเฉพาะเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน

อันดับที่ 1 Accepting ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย : การยอมรับความแตกต่างหลากหลายเป็นปัจจัยสำคัญเบอร์ 1 ในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเลย การยอมรับความแตกต่างหลากหลายมีเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของพนักงาน วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมเรื่องความแตกต่างจะช่วยทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่า ได้รับความเคารพ และได้รับการสนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นและโอกาสในการแสดงออกอย่างอิสระ (ซึ่งส่งผลให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร) เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อนร่วมงานที่มีลักษณะโดดเด่นของการยอมรับความแตกต่างหลากหลายจึงเป็นที่รักของทั้งเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน



3 เทคนิคง่ายๆ ในการพัฒนาตัวคุณให้กลายเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี

1. ฝึกฝนทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ
คนชอบความรู้สึกว่าสิ่งที่พวกเขาพูดนั้นมีความสำคัญและมีคุณค่า หากคุณมีทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ คุณกำลังแสดงให้เพื่อนร่วมงานของคุณเห็นว่าคุณเข้าใจพวกเขา รับฟังพวกเขา และให้คุณค่าในสิ่งที่พวกเขาพูด ส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งของการรับฟังอย่างตั้งใจคือการสรุปสิ่งที่พวกเขาพูดและถามคำถามเพื่อรีเช็คความเข้าใจ
2. รักษาบทสนทนาให้เป็นไปในเชิงบวก
แทนที่จะพูดคุยในประเด็นที่ชวนให้เกิดการปะทะ หรือเกิดข้อโต้แย้ง เพื่อนร่วมงานที่ดีจะพยายามรักษาบทสนทนาให้เบาสบายและสนุกสนานอยู่เสมอ เช่น พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิต งานอดิเรก ครอบครัว สัตว์เลี้ยง หรือกิจกรรมที่อยู่ในความสนใจ
3. พยายามรู้จักเพื่อนร่วมงานเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ
ยิ่งคุณรู้จักเพื่อนร่วมงานของคุณมากเท่าไร คุณก็ยิ่งจะสามารถร่วมมือกับพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น วิธีหนึ่งในการทำเช่นนี้คือการสร้างสัมพันธภาพระหว่างพนักงาน ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเชิญทีมของคุณไปเดินในช่วงพักกลางวัน หรือคุณยังสามารถจัดกิจกรรมเล่นเกมสำหรับพนักงานในยามค่ำคืนได้อีกด้วย การเรียนรู้ที่จะรู้จักเพื่อนร่วมงานในระดับส่วนตัวมากขึ้นจะช่วยสร้างบรรยากาศแห่งความเป็นกันเองและความไว้วางใจในที่ทำงาน ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานเป็นทีมและความร่วมมือที่ดียิ่งขึ้น

Reference:
https://www.indeed.com/career-advice/career-development/qualities-of-a-good-coworker


เขียนโดย : น.ส.รชนิศ  ศรีวิชัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : rachanis.s@mhesi.go.th