เบื้องหลังคบเพลิงโอลืมปิก 2024 บอลลูนยักษ์เหนือน่านฟ้ากรุงปารีส  93

คำสำคัญ : บอลลูน  นวัตกรรมสิ่งแวดล้อม  Sustainability  ความยั่งยืน  

พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 สร้างความประทับใจให้กับคนดูในหลากหลายประเด็น ทั้งความคิดที่สร้างสรรค์ สวยงาม ผสานเข้ากับความเป็นเอกลักษณ์ ของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นการคิดนอกกรอบ จัดพิธีเปิดในตัวเมืองปารีสทั้งเมือง แทนที่จะจัดแค่ในสนามกีฬาเหมือนที่ปกติเขาทำกัน ขบวนพาเหรดของนักกีฬาบนเรือหลายลำที่ส่องบนแม่น้ำ Seine แต่ฉากสำคัญที่หลายคนเฝ้ารอคือ “พิธีการจุดไฟคบเพลิง”

การจุดคบเพลิงถือว่าเป็นการเริ่มต้นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ โดยเจ้าภาพแต่ละครั้งจะสรรหาวิธีที่น่าตื่นตาตื่นใจมาสร้างความประทับใจ เช่น โอลิมปิกปี 1992 ที่บาร์เซโลน่า ประเทศสเปน เจ้าภาพใช้การยิงธนูไฟเป็นการจุดคบเพลิง ปี 2008 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน ได้นักกายกรรมปีนขึ้นไปจุดไฟ สำหรับการจุดคบเพลิงของปีนี้ มีการส่งต่อไฟจากนักกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น Zinedine Zidane, Rafael Nadal, Serena Williams และ Amari Moresmo เป็นต้น ผ่านเส้นทางการเล่าเรื่องทางวิดิโอ และการวิ่งแบบ onsite จนสุดท้าย มาจบที่การจุดไฟที่ฐานของลูกบอลลูนยักษ์ ซึ่งล่องลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าของกรุงปารีส เป็นที่มาของคำถามมากมายว่ามีกลไกอะไรอยู่เบื้องหลังบ้าง

NBC Olympics & Paralympics - The City of Light officially welcomes the  Summer Olympic Games. 🙌 #ParisOlympics | Facebook

ข้อเท็จจริงแรกคือ บอลลูนยักษ์ดังกล่าวไม่ได้ลอยบนฟ้าตลอดเวลา โดยจะถูกปล่อยขึ้นฟ้าในช่วงค่ำๆ ก่อนที่จะกลับลงมาสู่พื้นตอนตีสอง โดยมีสายเคเบิ้ลผูกบอลลูนไว้กับพื้นตลอดเวลา  บอลลูนมีความสูง 30 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 7 เมตร และถูกปล่อยขึ้นไปที่ความสูง 60 เมตร และสาเหตุที่บอลลูนถูกใช้มาแทนคบเพลิงนั้นก็เพราะว่าฝรั่งเศสเป็นชาติที่คิดค้นบอลลูนเมื่อปี 1783 นั้นเอง ซึ่งบอลลูนในยุคแรกเป็นการใช้ไอความร้อนในการส่งบอลลูนให้ลอยขึ้นฟ้า ก่อนที่จะพัฒนาเป็นการใช้พลังงานจากก๊าซและไอน้ำในเวลาต่อมา และบอลลูนประจำการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 นี้ ถูกส่งขึ้นฟ้าด้วยนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าแบบ 100% จากการคิดค้นโดย EDF (Électricité de France- การไฟฟ้าแห่งประเทศฝรั่งเศส)

บอลลูนประกอบไปด้วย 40 LED spotlightsที่ส่องแสงสว่างไปที่กลุ่มเมฆจำลองที่ถูกสร้างจากหัวแรงดันสูงจำนวน 200 หัว ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 100% เนื่องจากไม่มีการสันดาปน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นการใช้เพียงแค่ไอน้ำและแสงสว่างเท่านั้น ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดของการจัดการแข่งขันที่ต้องการให้เกิดความยั่งยืนและแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม


เขียนโดย : นายชาญวิทย์  ตรีเดช สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : chanvit@most.go.th