มารู้จัก FODMAP อาหารแนวใหม่ สำหรับโรคลำไส้โรคลำไส้แปรปรวน  103

คำสำคัญ : อว.แฟร์  FODMAP  วว.  ความรู้ทั่วไป  

มารู้จัก FODMAP อาหารแนวใหม่ สำหรับโรคลำไส้โรคลำไส้แปรปรวน

3

FODMAP (Fermentable Oligosaccharides, Disaccharides, Monosaccharides, and Polyols)

อาหารกลุ่ม Low FODMAP เป็นอาหารที่ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ อย่างท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก และท้องเสีย ซึ่งเป็นอาการเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน หรือ IBS และภาวะแบคทีเรียในลำไส้เล็กไม่สมดุล หรือ SIBO สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ และศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลวัตถุดิบ และอาหารที่มีองค์ประกอบในระยะเริ่มต้น วว. ได้ดำเนินการพัฒนา "ฐานข้อมูลปริมาณของวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารที่มีใoประเทศไทย" ขั้นแรกเป็นการ วิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบกลุ่มผักและผลไม้บาง ชนิดของประเทศไทยและเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปริมาณ ที่ก่อให้เกิด ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ซึ่งมีการจัดแบ่งประเภทวัตถุดิบกลุ่มผักและผลไม้เป็น Low และ High ดังนี้

 

Low : กลุ่มผักผลไม้ ได้แก่ ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี แตงกวา แก้วมังกร ฝรั่งสุก ส้ม

1

 

High : กลุ่มผักผลไม้ ได้แก่ ดอกกะหล่ำ ข้าวโพด กระเทียม ลำไย มะม่วงสุก มะขามป้อม

2

นอกจากนี้ วว. ได้มีการวิเคราะห์ปริมาณ FODMAP ของผลผลิตทางการเกษตรที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารไทยโดยเริ่มจากจำนวน 30 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

*   กลุ่มพืชผัก เช่น ดอกแค งาขาว ดอกโสน งาดำ สะเดา มะพร้าว ฟักทอง ผักบุ้ง และหัวไชเท้า เป็นต้น

*   กลุ่มข้าวและแป้ง เช่น แป้งมันสำปะหลัง ข้าวเหนียวดำ ข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อม ข้าวเหนียวขาว เป็นต้น

*   กลุ่มของนม เช่น นมผง เป็นต้น

*   กลุ่มน้ำมัน เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมัน รำข้าว เป็นต้นทั้งนี้ วว. จะได้รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล และนำลง Application ต่อไป

 

นอกจากนี้ยังได้พัฒนาอาหารพร้อมบริโภค (Ready-to-eat) ประเภทผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม รวมทั้ง garlic infused (พบว่า อาหารพร้อมบริโภค (Ready-to-eat)
ที่พัฒนาขึ้นนั้นมีปริมาณ FODMAPs ทั้งหมดเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดการเป็นอาหาร Low รวมทั้งยังไม่มีองค์ประกอบของน้ำตาลแลคโทส และกลูเตนที่เป็นสารก่อภูมิแพ้อีกด้วย

 

อ้างอิงแหล่งข้อมูลจาก : นิทรรศการจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ใน งานอว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND

4 5


เขียนโดย : นางสาวเจนจิรา  ภาประเวช สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : janejira.p@mhesi.go.th

เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะในกลุ่มคนปัจจุบันจะมีปัญหาเกี่ยวระบบลำไส้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากการทานอาหาร 

เขียนโดย นางสาวเพ็ญพิชชา  คงแทน