Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
เครื่องหมาย อย. กับผลิตภัณฑ์ 159
เครื่องหมาย อย. คือ เครื่องหมายที่แสดงให้ผู้บริโภคทราบว่า ผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ ได้ผ่านการพิจารณาด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย ถูกต้องตรงตามมาตรฐานเกณฑ์การผลิต หรือการนำเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ประโยชน์ของเครื่องหมาย อย.
1.รับรองผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัย
2.สร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า และผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์
3.สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสถานที่และชื่อบริษัทที่ทำการผลิตหรือจดแจ้งได้
4.สามารถรับสิทธิคุ้มครอง จากคณะกรรมการอาหารและยาได้ หากเกิดอันตรายจากผลิตภัณฑ์ที่มี อย.
5.ส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และรู้เท่าทันภัยที่มาจากสินค้าเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของตนเองได้อีกด้วย
การขึ้นทะเบียนขอเครื่องหมาย อย.
สำหรับสินค้าที่ต้องขอใบอนุญาตในการผลิตจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. เป็นผลิตภัณฑ์หรืออาหารไม่แปรรูปหรือเป็นการแปรรูปอย่างง่าย มีเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือมีคนงานน้อยกว่า 7 คน สามารถผลิตและจำหน่ายได้ในชุมชน แต่ต้องผ่านการผลิตที่ถูกต้องตามกระทรวงสาธารณสุข เช่น การผลิตโดยการผ่านความร้อนและการฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง ไม่มีสารที่เป็นอันตรายเจือปน
2. กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. เป็นผลิตภัณฑ์หรืออาหารแปรรูปหรืออาหารสำเร็จรูปที่มีผลก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับต่ำไปถึงสูง เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก มีการกำหนดคุณภาพ และการควบคุมเฉพาะ ดังนั้น ต้องขออนุญาตเกี่ยวกับสถานที่ผลิต และต้องไปขอ อย. หรือจดแจ้งรายละเอียดต่าง ๆ กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสาธารณสุขจังหวัด
หลักฐานสำคัญสำหรับขอรับหนังสือรับรอง อย.
1. จัดเตรียมสถานที่ผลิตให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: Good Manufacturing Practice)
2. จัดเตรียมเอกสารโดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตทุกแห่ง
3. ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิต พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจสถานที่
4. ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก
บทบาทและความรับผิดชอบขององค์การอาหารและยา
1.การควบคุมก่อนการวางตลาด
การควบคุมโรงงานผลิต คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการโฆษณาก่อนที่ผลิตภัณฑ์จะออกสู่ตลาด ในแต่ละกรณีจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
2.การควบคุมหลังการขาย
การตรวจสอบโรงงานผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และเพื่อให้มั่นใจว่าปฏิบัติตามมาตรฐานที่ได้รับอนุมัติก่อนหน้านี้ ตลอดจนกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ มีการตรวจสอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ
3.การเฝ้าระวังเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
เพื่อตรวจหาผลเสียหรือผลที่คาดไม่ถึงจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค ข้อมูลการวิจัยและระบาดวิทยาเกี่ยวกับผลกระทบ รวมถึงข้อมูลทางเทคนิคจะถูกรวบรวม สรุป ตีความ และรายงาน
4.การศึกษาผู้บริโภค
ผู้บริโภคจะได้รับข้อมูลที่เพียงพอและถูกต้องเพื่อให้พวกเขาสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ได้อย่างชาญฉลาดและการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวจากช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่างๆ
5.การสนับสนุนทางวิชาการและความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ
มีการสนับสนุนผู้ประกอบการโดยการจัดสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการที่น่าสนใจมากมาย เพื่อให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่
สถานที่ยื่นคำขอ
1. กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (0ne stop service center ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
2. กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้น ๆ
สำหรับใครที่ต้องการขอ อย. อาหาร ทางบริษัท เอฟดีเอ สตอรี่ จำกัด รับจด อย. และให้บริการเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งทางเรามีความชำนาญในเรื่องขอ อย. ให้กับลูกค้าโดยทางเราจะดูแลให้ทั้งหมด ในเรื่องของการยื่นเอกสาร การติดต่อประสารงานกับเจ้าหน้าที่ และให้คำแนะนำ ให้กับลูกค้าได้เข้าใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของการ ขอ อย. เพื่อที่ลูกค้าได้คลายข้อสงสัย ในทุกส่วนของรายละเอียด ทั้งผลิตภัณฑ์และสถานที่ เยี่ยมชมผลงานได้ที่เว็บไซต์ https://ขออย.com