การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ : นโยบาย การขับเคลื่อนและเป้าหมาย  165

คำสำคัญ : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ  

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนา"บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย"ในวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567
ณ ห้องพระพรหม ชั้น 3 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดย สศช. ในหัวข้อ

 

 “การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ: นโยบาย การขับเคลื่อนและเป้าหมาย” 

 

       ในปัจจุบันประเทศไทย มีเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกหลากหลายรูปแบบ จึงจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อให้มีแนวทางในการพัฒนา จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบด้านที่ตั้ง และการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีศักยภาพ เพื่อการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น และส่งเสริมภาคการผลิตและบริการที่เน้นใช้เทคโนโลยียุคใหม่  โดยที่ผ่านมาภาครัฐได้ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาแบบเครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อกระจายประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการและชุมชน

       ยุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาประเทศ และใช้เป็นขอบเขตในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องและบูรณาการแบบมีทิศทางเดียวกัน ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) มีวิสัยทัศน์คือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งในยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 9:เขตเศรษฐกิจพิเศษ ได้มีการกล่าวถึงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor :EEC )ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones / SEZ)ซึ่งเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8:ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน

 

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย แบ่งออกได้ดังนี้

  1. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
  2. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
  3. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

       โดยมีคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) และสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกําหนดนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาให้ครอบคลุมพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค ที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

 

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง (ตาก เชียงราย กาญจนบุรี หนองคาย นครพนม มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา และนราธิวาส) มุ่งเน้นการพัฒนาโครงการทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

  1. ด้านสาธารณสุข/สุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
    • ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
    • ลดและป้องกันปัจจัยเสี่ยงจากมลพิษ
    • เฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อ/โรคอุบัติใหม่/ภัยสุขภาพ
    • เพิ่มศักยภาพ รพ. ในพื้นที่เขตฯ
    • ตรวจสอบ ดูแลทรัพยากรป่าไม้ ของป่าและสัตว์ป่าในเขตฯ ชายแดน
  2. ด้านความมั่นคง
    • ก่อสร้างอาคารที่ทำการ ตม. / อาคารผู้โดยสารขาเข้า-ขาออก
    • การสนับสนุนรถเคลื่อนที่เพื่อให้บริการประชาชน
  3. ด้านการสนับสนุนกลไกในระดับพื้นที่
    • การขับเคลื่อนเขตฯ ชายแดนของจังหวัด/ที่ทาการปกครองจังหวัด/ที่ทำการปกครองอำเภอ
    • การสร้างองค์ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS)
    • การบริหารจัดการ OSS ด้านแรงงาน สาธารณสุข และความมั่นคง
  4. ด้านการศึกษา/การพัฒนาแรงงาน/ผู้ประกอบการ
    • การพัฒนาผู้ประกอบการและสร้างเครือข่ายนักลงทุน
    • การฝึกอบรมฝีมือและเพิ่มทักษะแรงงาน
    • การสนับสนุนชุดฝึกทักษะและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน / ครุภัณฑ์การศึกษา
    • การจัดหลักสูตรการเรียนการสอน/การอบรมวิชาชีพในพื้นที่ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน
    • ติดตั้งระบบตรวจจับใบหน้าบุคคลเฝ้าระวัง
    • พัฒนาระบบสารสนเทศตรวจคนเข้าเมือง PIBICS
    • สนับสนุนครุภัณฑ์ในการดำเนินงาน

 

มาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตฯ ชายแดน มีกิจการเป้าหมาย 13 กลุ่มกิจการ ดังนี้

  1. อุตสาหกรรมการเกษตร ประมง และกิจการที่เกี่ยวข้อง
  2. การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์โลหะ และวัสดุ
  3. การผลิตสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง
  4. การผลิตเครื่องเรือน
  5. การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ
  6. การผลิตยานยนต์เครื่องจักรและชิ้นส่วน
  7. การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  8. การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกและเยื่อกระดาษ
  9. การผลิตผลิตภัณฑ์และบริการทางการแพทย์
  10. กิจการบริการ
  11. กิจการสาธารณูปโภค
  12. นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม
  13. กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

 

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค มีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้

  1. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC Creative LANNA):เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง - พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
    • อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
    • อุตสาหกรรมดิจิทัล
    • อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
    • อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
  2. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC Bioeconomy):นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย - พัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
    • อุตสาหกรรมชีวภาพ
    • อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
  3. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง – ตะวันตก (CWECAgro & High Tech IndustryGreen & Hermitage Tourism):อยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี – พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนา ด้านอุตสาหกรรมเกษตร การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไฮเทคมูลค่าสูงเชื่อมโยงกับ กทม. และพื้นที่โดยรอบ และ EEC โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
    • อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
    • อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  4. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SECWestern GatewayBio-industry & High Value Argo Ind.Wellness & Local Tourisms): ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช - พัฒนาเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ในการเชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ และภูมิภาคฝั่งทะเลอันดามัน เป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง และเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่นานาชาติ โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
    • อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
    • อุตสาหกรรมชีวภาพ
    • อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

 

การขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ มี 5 ด้าน ดังนี้

  1. การให้สิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกการลงทุน
  2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
  3. การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ
  4. การพัฒนาแรงงานและสนับสนุนผู้ประกอบการ
  5. การวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

 

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในระยะต่อไป

  1. สนับสนุนให้เกิดการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค
  2. เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
  3. พัฒนาแรงงานให้เพียงพอและสอดรับกับกิจการเป้าหมายที่ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
  4. สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเขตฯ ชายแดน
  5. พัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ
  6. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

 

การบูรณาการการขับเคลื่อนระดับพื้นที่ โดยทุกภาคส่วน (สถาบันการศึกษา - ภาครัฐ – ภาคเอกชน)

  • แลกเปลี่ยนข้อมูลและพัฒนาความร่วมมือกัน
  • สร้างสภาพแวดล้อม (Ecosystem) ที่เอื้อต่อการดึงดูดให้เกิดการลงทุนในพื้นที่
  • เชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ
  • วิจัยพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้

 

ที่มา: https://www.facebook.com/SenateThailand/videos/935383878207648


เขียนโดย : น.ส.วรลักษณ์  เจริญพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : som.woralak@gmail.com