Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
กินบ้าง อดบ้าง ไม่มีป่วย (ตอนที่ 2) 148

จากตอนที่แล้ว ได้ทิ้งท้ายไว้เกี่ยวกับโรค NCds วันนี้เรามาทำความรู้จักกันต่อค่ะ ว่าโรคเหล่านี้มีที่มาจากไหน ก็ไม่ใช่คนอื่นคนใกล้ทุกคนรู้จักกันดีนั่นก็คือ สหรัฐอเมริกา ที่มีการนำเสนอ “ข้อแนะนำด้านอาหารของอเมริกา ปี ค.ศ. 1977”(Dietary Guideliness for The United States 1977) ซึ่งแนะนำให้กินคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น ลดการกินไขมันให้น้อยลง โดยสาระสำคัญคือ
1. ให้เพิ่มสัดส่วนการบริโภคแคลอรี่จากคาร์โบไฮเดรตขึ้นเป็น 55-60เปอร์เซ็นต์ของพลังงานจากอาหารต่อวัน
2. ให้ลดสัดส่วนการบริโภคไขมันจาก 40เปอร์เซ็นต์ ให้เหลือน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ และให้ลดไขมันอิ่มตัวลงต่ำกว่า 1/3ส่วน
สิ่งที่ตามมาคือ การเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารคาร์โบไฮเดรต แปรรูป น้ำตาล ตามที่ได้กล่าวไว้บ้างแล้วในตอนที่แล้ว ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการกินของคนในอเมริกาที่เปลี่ยนไป ซึ่งปัจจุบันได้ขยายอาณาจักรไปทั่วโลกแล้วอย่างที่เห็นกัน
กลุ่มโรคนี้ยังมีอีกสมญานามก็คือ “โรคระบบเผยาผลาญพัง” (Metabolic Syndrome) เรามาทำความรู้จักกันว่ายังงัยถึงจะเรียกว่าระบบเผาผลาญพัง ก็ง่ายๆ ค่ะ ถ้าเราเป็นดังนี้
1. อ้วนลงพุง
2. ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride หรือ TG)สูง
3. HDL (High-density lipoprotein) ต่ำ
4. ความดันโลหิตสูง
5. ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ลองสังเกตตัวเองดูนะคะ ถ้ามีอาการ 3 ข้อ ใน 5 ข้อนี้ขึ้นไป จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นอย่างชัดเจนต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วยนะคะ
สำหรับผู้เขียนตอนนี้คาดว่าน่าจะปลอดภัยแล้วค่ะ หลังจากที่ลักษณะข้างต้นนั้นมีประสบการณ์พบเจอเรียบร้อยค่ะ แล้วมาติดตามกันต่อในตอนที่ 3 นะคะ ว่าผู้เขียนเข้าสู่เขตปลอดภัยได้อย่างไร