Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
การขับเคลื่อนงานด้าน ววน. เกษตรสร้างสรรรค์สู่เกษตรมูลค่าสูง ในงานเกษตรแฟร์ทุ่งใหญ่ นครศรีธรรมราช 136
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดย กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) นำโดย นายเมธี ลิมนิยกุล ผู้อำนายการกลุ่มประสานเครือข่าย อว. ในภูมิภาค และ หน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว.ระดับภาค ภาคใต้ (ปค.ภาคใต้) นำหน่วยงาน อว. ร่วมจัดนิทรรศการ “การขับเคลื่อนงานด้าน ววน. เกษตรสร้างสรรรค์สู่เกษตรมูลค่าสูง” ภายในงานทุ่งใหญ่เกษตรแฟร์ ประจำปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2567 ณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นายศรีธรรม ราชแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธีเปิด
ภายในนิทรรศการ ฯ ประกอบด้วย
โครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มและสร้างความเป็นอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ชายแดนใต้
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
1.เทคโนโลยีอาหารหมักโค
2.เทคโนโลยีหนอน BSF อาหารสัตว์
3.เทคโนโลยีชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช
o ชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงศัตรูพืช เช่น ราบิวเวอเรีย ราเมตาไรเซียม โปรตีนวิป (VIP) จากแบคทีเรียบีที
o ชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมโรคพืช เช่น ราไตรโคเดอร์มา, แบคทีเรียปฏิปักษ์
o สารสกัดจากเชื้อราเพื่อควบคุมวัชพืช
4.เทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม ได้แก่ แฮนดีเซ้นต์ วอเตอร์ฟิต สมาร์ท NPK รักษ์น้ำ
o ออกแบบให้ใช้งานง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม
o เกษตรกรสามารถควบคุมแปลงเพาะปลูกผ่านสมาร์ตฟาร์ม
o เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลจัดการแปลงเพาะปลูก
o เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช./NIA)
1.แพลตฟอร์มการสนับสนุนธุรกิจนวัตกรรมรายภูมิภาค
2.โครงการนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation)
3.โครงการขยายผลนวัตกรรมในระดับภูมิภาคสู่ตลาด (Regional Market Validation)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.)
1.ปุ๋ยคืนชีพ MF 3 สูตร โดยนักวิจัยคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คิดค้นและพัฒนาสูตรให้เหมาะกับพืชแต่ละชนิดเกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานของหน่วยผลิตมวนเพชฌฆาต คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. ที่มีการเลี้ยงแมลง ซึ่งมีมูลแมลงเหลืออยู่มาก จึงทำการทดลองบำรุงพืชที่กำลังอ่อนแอ ผลที่ได้คือ พืชสามารถฟื้นคืนชีพและเจริญเติบโตได้ดีขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ปุ๋ยดังกล่าวได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์คุณประโยชน์ มีการเปรียบเทียบจากสารอาหารที่ทำการเลี้ยงรำข้าวสาลีในห้องปฏิบัติการ ปุ๋ยคืนชีพจึงมีคุณสมบัติที่ดีกว่ามูลแมลงที่เลี้ยงตามธรรมชาตินั่นเอง
: 1) ปุ๋ย สูตรดังเดิม2) ปุ๋ย สูตรเพิ่มเชื้อราเมตาไรเซียม3) ปุ๋ย สูตรเพิ่มเชื้อราไตรโครเดอร์มา
2.มวนเพชฒาต มวนเพชฌฆาตเป็นแมลงตัวห้ำ แมลงตัวห้ำเป็นกลุ่มแมลงที่มีพฤติกรรมเจออาหารปุ๊บจะพุ่งใส่เลย ห้ำเหยื่อทันทีเหมือนเสือ สิงโต ตะครุบเหยื่อ กัดกินหรือดูดกินก็แล้วแต่ ในธรรมชาติที่เรารู้จักกันดีคือตั๊กแตนต่อยมวย ทางใต้เรียกว่าแมลงชูชก แมลงปอทุกชนิด พวกนี้เป็นแมลงตัวห้ำที่มีปากแบบกัดกิน แมลงตัวห้ำกินสิ่งมีชีวิตอย่างเดียว คือกินกลุ่มแมลงศัตรูพืชและแมลงด้วยกันเป็นอาหาร มวนเพชฌฆาตกับมวนพิฆาตเป็นแมลงคนละชนิดกัน แต่ลักษณะการกินเหยื่อใช้วิธีการกินเหมือนกัน ปากของมวนจะเป็นแบบเจาะดูด ลักษณะการเข้าทำลายเหยื่อคือวิ่งเข้าไปหาเหยื่อปุ๊บ เอาปากทิ่มตัวเหยื่อ แล้วดูดกินของเหลวในตัวเหยื่อ
เกษตรกรอยากใช้มวนเพชฌฆาตจัดการแมลงศัตรูพืชในทุเรียนอย่างหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ควรใช้ควบคู่กับสารชีวภัณฑ์คือบิวเวอเรีย เพราะ มวนจะจัดการในระยะผีเสื้อที่อาจไปวางไข่ที่ดอกและผล ส่วนบิวเวอเรียช่วยจัดการฆ่าระยะไข่ได้ โดยใช้บิวเวอเรียผสมน้ำพ่นไปที่ผลหรือดอก หรือถ้าทุเรียนต้นสูงมากก็ใช้ราดพื้นดินรอบโคนต้น เมื่อเวลาดอกหรือผลทุเรียนร่วงแล้วมีไข่หนอน บิวเวอเรียช่วยจัดการหนอนได้
3.ชีวภัณฑ์
- ชีวภัณฑ์ B-Veggie - B-Phosphate
- ชีวภัณฑ์ B-Rice - B-Flora
- ชีวภัณฑ์ B-Palm 1 - B-Durio
- ชีวภัณฑ์ B-Palm 2
- ชีวภัณฑ์สำหรับผลิตปุ๋ยหมัก
- ชีวภัณฑ์ B-Rubber
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.)
1.เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร/เครื่องดื่ม (ผลิตภัณฑ์ของชุมชนจากการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จัดแสดง โกโก้ น้ำผึ้ง น้ำส้มจาก)
2.เทคโนโลยีการขยายสารชีวภัณฑ์ ไตรโคเดอร์มา เมธาไรเซียม บิวเวอร์เรีย (นำผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนจากการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จัดแสดง ส้มโอ พืชผักสมุนไพร)
3.เทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในชุมชน (นำผลผลิตของชุมชนจากการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จัดแสดงยาดมสมุนไพรจากกระวาน ผลิตภัณฑ์น้ำมันนวดไพล)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
1.การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จริง เช่น
- ผลิตภัณฑ์จากจากมังคุด เช่น ไวน์มังคุด สบู่มังคุด น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
- ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว เช่น น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น วุ้นมะพร้าว
2.ระะบบการจัดการน้ำแบบ Smart Farming
พร้อมกิจกรรมอบรม
1.การแปรรูปกัมมี่จากวัตถุดิบท้องถิ่น เช่น มังคุด : วิทยากร ผศ.ปุญญาเพชร เดชเพชรธรักษ์ /มรภ.นครศรีธรรมราช
2.จิ้งหรีดปรุงรส และเส้นพาสต้าจากข้าวเสริมจิ้งหรีด : วิทยากร ผศ.ดร.สุภาษิต ชูกลิ่น /มทร.ศรีวิชัย นครศรีธรรมราช
3.แฮร์โทนิคจากสารสกัดข้าวเม็ดฝ้าย 62 : ผศ.ดร.กฤตยา หนูสาย และทีม /มทร.ศรีวิชัย นครศรีธรรมราช
4.เต้าฮวยธัญพืช อาหารว่างผู้สูงวัย : ผศ.ดร.ธณิกานต์ ธรสินธุ์ และทีม /มทร.ศรีวิชัย นครศรีธรรมราช
พี่ปุน สรุปข้อมูลเทคโนโลยีกับกิจกรรมดีจังเลยค่ะ วันหลังจะขอมาแลกเปลี่ยนข้อมูลเทคโนโลยีของหน่วยงานในสังกัดบ้างนะจ้ะพี่ ของ สวทช กับ NIA เผื่อทางนี้มีไปจัดงานด้านเกษตรเหมือนกันจ้ะ
ทางเหนือก็มี ที่ ม พะเยา ที่พัฒนาเส้นพาสต้า จากจิ้งหรีดที่มาจากโครงการบริการให้คำปรึกษา (TCS) แล้วส่งต่อไปโครงการ UBI จ้ะพี่
ขอบคุณข้อมูลเทคโนโลยี ที่รวบรวมมาให้ได้อ่านนะคะ
เป็นการรวบรวมข้อมูลเทคโนโลยีด้านการเกษตรไว้ได้ดีเลยค่ะ เทคโนโลยีหลายตัวมีประโยชน์มากๆ สำหรับเกษตรกร/ประชาชนผู้สนใจนำไปใช้ได้จริงในพื้นที่ :)