ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก  248

คำสำคัญ : BCG  ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก  อัพไซเคิลขยะพลาสติก    

ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก

นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือขยะจากบรรจุภัณฑ์อาหารและสินค้าอุปโภคที่มีมาณมากขึ้นจากการเจริญเติบโตของธุรกิจอาหาร ถือเป็นปัญหาสําคัญปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งหากไม่มีการบริหารจัดการที่เหมาะสม ขยะดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง จากการปนเปื้อนลงสู่แหล่งนํ้าลําคลองและท้ายที่สุดก็จะไหลรวมกันลงสู่ทะเล สร้างปัญหากับระบบนิเวศทางทะเล เช่น ปัญหาจากไมโครพลาสติกที่สะสมในสัตว์ทะเล และปัญหาความเสื่อมโทรมของทัศนียภาพทางทะเล เป็นต้น

สถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยมีขยะพลาสติกประมาณร้อยละ 12 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน มีการนํากลับไปใช้ประโยชน์ประมาณปีละ 0.5 ล้านตัน (ร้อยละ 25) ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้านตัน (ร้อยละ 75) ไม่มีการนํากลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ โดยส่วนใหญ่จะถูกทิ้งเป็นขยะ ซึ่งขยะพลาสติกบางชิ้นอาจจะใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 450 ปี แต่บางชนิดอาจย่อยสลายจนกลายเป็น “ไมโครพลาสติก” ปนเปื้อนอยู่ในระบบนิเวศ รวมถึงห่วงโซ่อาหารในท้องทะเล และย้อนกลับมาทําร้ายมนุษย์เองจากการบริโภคอาหารทะเล

ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก หรือ TPNR (Thermoplastic Natural Rubber) เป็นโพลิเมอร์ที่ได้จากการผสมยางธรรมชาติและพลาสติกเข้าด้วยกัน ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติยืดหยุ่นคล้ายยาง แต่สามารถขึ้นรูปและนำกลับมาใช้ใหม่ได้เหมือนกับพลาสติก การนำยางธรรมชาติมาใช้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่า ให้แก่ยางพาราซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติ (green material) หวายเทียมยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก… วัสดุทางเลือกสำหรับงานหัตกรรมจักสาน สามารถออกแบบรูปแบบเส้น ขนาด ความแข็งแรง/ความยืดหยุ่น  ผิวสัมผัส และสี ได้หลากหลาย ผลิตขึ้นจากยางพารา เศษหรือของเสียจากกระบวนการผลิตสามารถนำกลับมาขึ้นรูปใหม่ได้ 100% ตอบโจทย์วัสดุสีเขียว

วัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกสําหรับงานหัตกรรมจักสาน (เส้นหวายยางพารา)

วัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกสําหรับงานหัตกรรมจักสานเป็นวัสดุทางเลือกเพื่อสิ่งแวดล้อมสําหรับงานหัตกรรมจักสาน มีความอ่อนนุ่มแบบยาง มีความทนทาน และสามารถรีไซเคิลได้

จุดเด่นของวัสดุตกแต่งยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก

คือมีสมบัติคล้ายยางแต่มีความสามารถในการแปรรูปและสามารถแปรรูปซํ้าแบบเทอร์โมพลาสติก ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ยางโดยทั่วไป เช่น ยางรถยนต์ ที่ไม่สามารถนํากลับมาแปรรูปซํ้าได้ จึงส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์ยางที่หมดสภาพการใช้งานจํานวนเป็นปัญหาในการฝังกลบหรือทําลายซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง

การอัพไซเคิลขยะพลาสติก หรือการแปรรูปขยะพลาสติกให้กลายเป็นวัสดุที่มีมูลค่าเพิ่ม ทําให้เป็น

วัสดุที่สามารถนํามาใช้ในรูปแบบใหม่ๆ โดยไม่สร้างขยะกลับคืนสู่วงจรขยะพลาสติกอีกครั้ง ถือเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมอีกแนวทางหนึ่ง

"วิสาหกิจชุมชนจักสานยางพารา” เป็นการรวมตัวกันของชุมชนพื้นที่ อําเภอทุ้งหว้า จังหวัดสตูล ในการต่อยอดการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์จักสานจากวัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก โดยเป็นกลไกที่กระจายรายได้ให้กับชุมชน โดยเฉพาพกลุ่มเปราะบางให้มีอาชีพเสริมเพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้


เขียนโดย : น.ส.ปุณชยา  บัณฑิตกุล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : puny13@hotmail.com

เนื่องจากผมเป็นคนหนึ่งที่เคยทำวิจัยเรื่องยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกหรือ TPNR (Thermoplastic Natural Rubber)  
โดยการนํายางธรรมชาติมาผสมกับพอลิโพรพิลีนและทําการวัลคาไนซ์ยางเชิงพลวัต (dynamic vulcanization)

อย่างไรก็ตามยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกหรือ TPNR มีจุดเด่น ในเรื่องกระบวกการแปรรูปคือสามารถนําไปขึ้นรูปด้วยเครื่องแปรรูปพลาสติกได้ เช่น เครื่องฉีด (injection moulding machine) เครื่องเป่า (blow moulding machine) เครื่องเอ็กทรูดเดอร์ (extruder) และสามารถนํามารีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วย 
แต่ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ก็มีข้อด้อย คือคุณสมบัติเชิงกลต่ำกว่าเมื่อเทียบกับยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ทั่วไป เช่น  ความยืดหยุ่น (Elasticity) ความทนทานต่อแรงดึง (Tensile strength) ความทนทานต่อการฉีกขาด (Tear strength) สมบัติเชิงพลวัต (Dynamic properties) ความต้านทานต่อการล้าตัว (Fatigue resistance) ความต้านทานต่อการขัดถู (abrasion resistance) ดังนั้น จึงไม่เหมาะสมนำมาใช้ผลิตชิ้นงานหรือทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการใช้ยางที่มีคุณสมบัติเชิงกลสูงๆได้ เช่น ยางรัดของ ถึงมือยาง ยางล้อรถยนต์ ยางล้อเครื่องบิน เป็นต้น ครับ


 

เขียนโดย จิรวัฒน์  วงษ์สมาน