Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เนื้องอกน้อยๆ ที่อาจเกิดได้เมื่อคุณอายุมากขึ้น 292
รู้หรือไม่ ข้อมือที่ปวดล้าเมื่อคุณใช้งานหนักจนเกินไป อาจเกิดเป็นเนื้องอกเล็กๆ ที่ดูเผินๆ คล้ายกระดูกปกติ แต่จริงๆ แล้ว มันคือ ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ที่นูนใหญ่พร้อมกับอาการเจ็บจี๊ดๆ เมื่อคุณขยับ ซึ่งวันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำสาระความรู้ของอาการนี้มาฝากกัน ที่หลายคนอาจมองข้ามจนเกิดเป็นปัญหาเรื้อรังได้
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ คืออะไร ร้ายแรงแค่ไหนกันนะ
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ (Ganglion Cyst) คือ เนื้อเยื่อภายในข้อมือ ข้อต่อ ที่หล่อรวมจนเกิดเป็นก้อนกึ่งแข็งกึ่งนิ่ม ส่วนมากมักพบได้บนข้อมือ ฝ่ามือ ข้อเท้า และฝ่าเท้า คล้ายก้อนซีสต์ พบได้ตั้งแต่วัย 15-40 ปี ขึ้นไป โดยอาจมีขนาดที่เล็กมากเท่าเมล็ดถั่วจนถึงขนาดเท่าลูกกอล์ฟเลยทีเดียว
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ อาจมาจากการพัฒนาของอายุที่มากขึ้น การบาดเจ็บบริเวณข้อต่อ เส้นเอ็น ที่มาจากอุบัติเหตุ และการใช้งานของข้อมือที่มากเกินไป จนเกิดการสะสมทำให้มีตุ่มผุดขึ้นมา
สังเกตจากอาการเหล่านี้ หากคุณกำลังคิดว่า มีเนื้องอกกำลังเกิดขึ้น
- สูญเสียความคล่องตัว ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเล่นกีฬา
- รู้สึกชา
- มีอาการเจ็บปวดข้อมือแบบเฉียบพลัน
- รู้สึกเสียวซ่าบริเวณข้อมือ
- ขนาดเนื้อที่งอกออกมาเป็นตุ่มเล็ก จนลุกลามไปเป็นก้อนใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-3 ซม.
หากพบอาการอื่นๆ แทรกซ้อน หรือสงสัยในอาการก้อนถุงน้ำที่ข้อมือเพิ่มเติม สามารถเข้ารับขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงแนวทางการรักษาอย่างถูกต้อง
วิธีรักษา ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ สามารถทำได้อย่างไรบ้าง
เบื้องต้นแพทย์ของคุณอาจวินิจฉัยโดยการอัลตร้าซาวด์ภายในเพื่อให้ทราบขั้นตอนในการรักษาขั้นถัดไป ดังนี้
- นำเข็มฉีดยาที่มีสารการต้านอักเสบ หรือตัวยาที่ประกอบด้วยสารสเตียรอยด์ฉีดลงบนบริเวณก้อนที่ข้อมือ
- หากระหว่างการรักษามีของเหลวออกมาจากก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ มีความเป็นไปได้ 30%-50% ที่อาการนี้จะหายไปจากคุณ
- ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดก้อนนี้ออกเพื่อลดบรรเทาอาการเจ็บปวดแบบฉับพลัน
ขอขอบคุณ:hellokhunmor.com