Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
โอทอปสัญจรพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ 174
“กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาและยกระดับ OTOP ด้วย วทน. ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567 กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) นำโดยนายเอกพงศ์
มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เจ้าหน้าที่ ธท. และ ปค. ลงพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเข้าร่วม “กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาและยกระดับ OTOPด้วย วทน. ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว สป.อว. ร่วมกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ และความเข้าใจในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน / โอทอปด้วย วทน. ให้คำปรึกษา / ข้อแนะนำ สำหรับเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งคัดเลือกผู้ประกอบการโอทอปที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ
เข้าร่วมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ผู้ประกอบการโอทอป อาจารย์ที่ปรึกษา หน่วยงานราชการและเอกชน จำนวนมากกว่า 100 ราย
กิจกรรมในช่วงเช้า
- พิธีเปิดได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม และรองศาสตราจารย์สุพรรณ สุดสนธิ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นผู้กล่าวรายงาน
- การบรรยายแนะนำโครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ด้วย วทน. ตามแนวทาง คูปองวิทย์เพื่อ OTOP ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” โดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผอ.กปว.
- การบรรยายหัวข้อ การขอรับใบรับรองแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) โดยนางสาวกัญญารัตน์ แสนศิลา เจ้าของธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญการขอมาตรฐาน มผช.
- การบรรยายหัวข้อ การขอรับรองมาตรฐานอาหารและยา (อย.) โดย ภญ.ณัฐวิภา ตั้งใจ เภสัชกรชำนาญการ และ ภญ.วราภรณ์ อิสระพงศ์ไพศาล เภสัชกรปฏิบัติการ จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
กิจกรรมในช่วงบ่าย
การกิจกรรมคัดเลือกผู้ประกอบการเพื่อเข้าร่วมโครงการ “คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” โดยคณะทำงานพิจารณาและคัดเลือกขอเสนอโครงการฯ (สป.อว.) มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 18 ทีม
โดยมีคณะกรรมการฯ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่
1. นางอาภาพร สินธุสาร (ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ)
2. นายชายกร สินธุสัย (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
ร่วมให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP แก่ผู้ประกอบการจังหวัดน่าน ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป ใน 6 ประเด็นการพัฒนา ดังนี้
1. การพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ
2. การพัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต
3. การพัฒนาระบบมาตรฐาน
4. การพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์
5. การพัฒนาและออกแบบเครื่องจักร
6. การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์
---------------
ดีจังเลยค่ะพี่มัน มีทั้งภาพบรรยากาศและวิดีโอบันทึก ทำให้เห็นบรรยากาศการจัดงานของทางภาคอีสาน ทางภาคเหนือจะได้ขอมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาเป็นแนวทางเพื่อพัฒนาการเตรียมงานไปด้วยนะคะ
ขอบคุณที่ลงกิจกรรมและวิดีโอต่างๆ ไว้ให้ค่ะ