Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
กฎหมายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง เบื้องต้น 155
การจัดซื้อจัดจ้าง คือ การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่ง พัสดุ โดยการ 1.ซื้อ 2.จ้าง 3.เช่า 4.แลกเปลี่ยน
พัสดุ คือ
สินค้า วัสดุ คุรุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งงานบริการที่รวมอยู่ในสินค้านั้นแต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่ามูลค่าของสินค้านั้น
งานบริการ งานจ้างบริการ งานจ้างเหมาบริการ จ้างทำของ รับขนของ แต่ไม่รวมการจ้างลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ การรับขนในการเดินทางไปราชการหรือปฏิบัติงาน งานจ้างที่ปรึกษางานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง และการจ้างแรงงาน
งานก่อสร้างสร้างอาคาร สร้างสาธารณูปโภค ซ่อมแซม ต่อเติม ปรับปรุง รื้อถอน
งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง จ้างบริการจากบุคคลหรือนิติบุคล เพื่อออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
ราคากลางถ้าวงเงินเกิน 500,000 บาท ต้องเปิดเผยราคากลางใน e-GP และ website ของหน่วยงานของรัฐ และ website ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
คือ ราคาเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้ยื่นข้อเสนอได้ยื่นเสนอไว้ซึ่งสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้จริงตามลำดับ ดังนี้
1.ราคาที่ได้มาจากการคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่คกก.ราคากลางกำหนด
2.ราคาที่ได้มาจากฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุที่กรมบัญชีกลางจัดทำ
3.ราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณหรือหน่วยงานกลางอื่นกำหนด
4.ราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด
5.ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ
6.ราคาอื่นใดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐนั้นๆ
ให้ใช้ราคาตามข้อ 1 ก่อน ถ้าไม่มี 1 ใช้ 2-3 และใช้ 4-5-6 หลังสุด
จะใช้ข้อ 2 3 หรือ 4 5 6 ให้คำนึงถึงประโยชน์หน่วยงานรัฐเป็นสำคัญ
มาตรา 8การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และต้องสอดคล้องกับหลักการ ดังนี้
1.คุ้มค่าพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างต้องมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ในการใช้งานของหน่วยงานของรัฐ มีราคาเหมาะสมและมีแผนการบริหารพัสดุที่เหมาะสมและชัดเจน
2.โปร่งใสต้องเปิดเผย เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ปฏิบัติต่อผู้ประกอบกรทุกรายโดยเท่าเทียมกัน มีระยะเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการยื่นข้อเสนอ มีหลักฐานการดำเนินงานชัดเจน และมีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุในทุกขั้นตอน
3.มีประสิทธิภาพประสิทธิผลต้องวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุล่วงหน้าเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีกำหนดเวลาที่เหมาะสม โดยมีการประเมินและเปิดเผยผลสัมฤทธิ์ของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
4.ตรวจสอบได้มีการเก็บข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบถ้าการจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามหลักการนี้ แต่ไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสำคัญ หรือเกิดจากกรณีเร่งด่วน การจัดซื้อจัดจ้างนั้นย่อมไม่เสียไปและให้ใช้กับการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของ คกก.นโยบายฯ คกก.วินิจฉัยฯ คกก.ราคากลาง คกก.คปท. คกก.พิจารณาอุทธรณ์ด้วย
-ในการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้ทำหน้าที่ดำเนินการ หรือ คกก.การจัดซื้อจัดจ้างต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา ถ้ารู้ภายหลังว่ามีส่วนได้เสียแต่ไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสำคัญ การจัดซื้อจัดจ้างนั้นย่อมไม่เสียไป
- ห้ามกำหนด specพัสดุใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง ยกเว้น 1) การจัดซื้อตามวัตถุประสงค์มียี่ห้อเดียว 2) ต้องใช้อะไหล่ของยี่ห้อนั้น
มาตรา 55การจัดซื้อจัดจ้างมี 3 วิธี คือ เชิญชวนทั่วไป คัดเลือก เฉพาะเจาะจง
การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโดยวิธีจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือคัดเลือกให้พิจารณาถึงประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐและวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญ โดยให้คำนึงถึงเกณฑ์ราคาและพิจารณาเกณฑ์อื่นประกอบด้วย ดังนี้
1) ต้นทุนของพัสดุนั้นตลอดอายุการใช้งาน 4) พัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
2) มาตรฐานของสินค้าหรือบริการ 5) การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ
3) บริการหลังการขาย 6) ข้อเสนอด้านเทคนิคหรือข้อเสนออื่น
1.วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป: หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการทั่วไปที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอ ไม่จำกัดราย เจ้าหน้าที่เป็นผู้จัดทำเอกสารซื้อหรือจ้าง
โดยหัวหน้าเจ้าหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่ประกาศได้ก็ต่อเมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นชอบ "รายงานขอซื้อขอจ้าง"วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป มี 3 วิธีดังนี้
** อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างเชิญชวนทั่วไป หัวหน้าหน่วยงานรัฐ ไม่เกิน 200 m / เหนือขึ้นไปหนึ่งขั้น เกิน 200 m+ **
1.วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์e-Market เป็นการซื้อหรือจ้างที่มีรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ไม่ซับซ้อน หรือเป็นสินค้าหรืองานบริการที่มีมาตรฐาน และได้กำหนดไว้ในระบบข้อมูลสินค้า
e-Catalog เช่น กระดาษ แฟ้ม อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น
2.วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ e-Bidding การซื้อจ้างครั้งหนึ่งที่วงเงินเกิน 500,000 บาท และเป็นสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุไว้ในระบบข้อมูลสินค้า
e-Catalog
3.วิธีสอบราคาวงเงิน 500,000 แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท หน่วยงานของรัฐตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดในการใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตและให้เจ้าหน้าที่ระบุเหตุผลความจำเป็นไว้ด้วย
2.วิธีคัดเลือก: มาตรา 56(1) หน่วยงานของรัฐให้คกก.ซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกเป็นผู้ทำหนังสือเชิญชวนเฉพาะผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไม่น้อยกว่า 3รายขึ้นไปเข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ในงานนั้นมีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดน้อยกว่า 3ราย
** อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างวิธีคัดเลือก หัวหน้าหน่วยงานรัฐ ไม่เกิน 100 m / เหนือขึ้นไปหนึ่งขั้น เกิน 100 m+ **
ถ้าเข้าเงื่อนไขในข้อใดต่อไปนี้ให้ใช้ วิธีคัดเลือก
ก) ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปแล้วไม่ได้ผล
ข) พัสดุมีลักษณะซับซ้อน ผู้ประกอบการที่มีฝีมือเฉพาะ ใช้ทักษะสูง ผู้ประกอบการนั้น ๆ มีจำนวนจำกัด
ค) จำเป็นเร่งด่วน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้
ง) มีข้อจำกัดทางเทคนิค หรือจำเป็นต้องระบุยี่ห้อ
จ) พัสดุที่ต้องซื้อจากต่างประเทศ หรือผ่านองค์การระหว่างประเทศ
ฉ ใช้ในราชการลับ หรือเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ
ช) งานซ่อมที่จำเป็นต้องถอดตรวจให้ทราบความเสียหายก่อนถึงจะประเมินค่าซ่อมได้ (พิจารณาผู้ที่ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดก่อน)
ซ) อื่นๆ ตามกฎกระทรวง
3. วิธีเฉพาะเจาะจง : มาตรา 56(2) หน่วยงานของรัฐให้คกก.ซื้อหรือจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ทำหนังสือเชิญชวนเฉพาะผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดรายใดรายหนึ่งเข้ายื่นข้อเสนอเจรจาต่อรองราคา (กรณีวงเงิน < 500k ให้จนท.พัสดุเจรจาโดยตรงได้)
** อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างวิธีเฉพาะเจาะจง หัวหน้าหน่วยงานรัฐ ไม่เกิน 50 m / เหนือขึ้นไปหนึ่งขั้น เกิน 50 m+ **
ถ้าเข้าเงื่อนไขในข้อใดต่อไปนี้ให้ใช้ วิธีเฉพาะเจาะจง
ก) ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปและคัดเลือกแล้วไม่ได้ผล
ข) พัสดุที่มีการผลิต จำหน่าย ก่อสร้าง ให้บริการทั่วไป วงเงิน < 500k บ.
ค) ผู้ประกอบการหรือผู้แทนจำหน่ายตรง spec แค่รายเดียว
ง) จำเป็นฉุกเฉินเรื่องภัยธรรมชาติ โรคติดต่อร้ายแรง
จ) ซื้อจ้างไว้ก่อนแล้วและมูลค่าพัสดุที่ซื้อเพิ่มไม่เกินมูลค่าเดิม
ฉ) พัสดุที่ขายทอดตลาดโดยหน่วยงานของรัฐ/องค์กรระหว่างประเทศ
ช) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
ซ) อื่นๆ ตามกฎกระทรวง
น้องสรุปไว้ได้กระชับและน่าอ่านมากๆ เลยค่ะ เป็นประโยชน์มากๆ ทางพี่เอง ก็เคยใช้ แต่วิธีเฉพาะเจาะจง และวิธีคัดเลือก ถ้าหากมี เคสที่เป็น E bidding มาแลกเปลี่ยนเป็น กรณีศึกษา มาต่อในตอนต่อๆ ไปอีก จะรอติดตามนะคะ