เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ข้าวนับว่ามีบทบาทต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้การพัฒนาขบวนการผลิตข้าวจึงมีความจำเป็นที่ต้องทำเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งในปัจจุบันนี้จะเห็นว่าต้นทุนในการทำนาสูงขึ้น ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ยเคมี ค่าน้ำมันที่ใช้กับเครื่องจักร เครื่องยนต์ต่างๆ เช่น รถไถ เครื่องสูบน้ำ รวมทั้งค่าแรงงาน ด้วยเหตุนี้ การทำนาโยนกล้า เป็นการทำนาอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุน ทั้งในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ข้าว และสารเคมีในการจำกัดพืชและแมลง เพราะนาโยนกล้าสามารถควบคุมวัชพืชข้าวและหญ้านานาชนิดได้ดี ผลผลิตที่ได้ไม่แตกต่างจากนาหว่านมากนัก บางครั้งอาจได้มากกว่า ข้อดีของการทำนาด้วยวิธีโยนต้นกล้าคือ ป้องกันการเกิดของข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไปได้ ทำให้สามารถประหยัดเมล็ดพันธุ์ลงได้สูงสุด 80-85% โดยใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 3-4 กิโลกรัม/ไร่ ต้นกล้าที่โยนจะตั้งตัวได้ทันที ไม่หยุดชะงักหรือต้นกล้าเหลืองเหมือนนาปักดำด้วยคน ต้นกล้าจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแรง การแตกกอดีมากและเร็วกว่า จำนวนต้น/กอ มีมากกว่า และใช้ต้นทุนและแรงงานน้อยกว่าวิธีอื่น เหมาะสำหรับการทำนาข้าวอินทรีย์หรือการทำนาแบบเกษตรพอเพียงหรือเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อ.ดร.มัณฑนา นครเรียบ
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150
089-4224764
muntana.c@msu.ac.th,rchangsri@gmail.com,aeed_ch15@windowslive.com
