การทำ Strategic foresight เพื่อการกำหนดภาพอนาคตของการดำเนินงาน (ข้อเสนอแนะ)  61

คำสำคัญ : Strategic  Foresight    

ตัวแปรสำคัญที่ทำให้นักวิเคราะห์อนาคตและนักยุทธศาสตร์ต้องทำการวางยุทธศาสตร์เพื่อให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้ คือ สภาวะของการเป็น “VUCA World” โลกที่มีความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty)ความซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) เป็น dynamic ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เกิดได้ทั้งโอกาส ความเสี่ยง และการขาดเสถียรภาพขององค์กร ซึ่งเป็นได้ทั้งวิกฤตและโอกาสขององค์กร และตัวแปรนั้นอาจมีผลกระทบต่อตัวแปรตัวอื่น ๆ ด้วย “VUCA World” จึงเป็นสาเหตุให้แนวคิด Strategic Foresight ถูกนำมาใช้ในการวางแผนองค์กรที่มองจากแนวโน้มของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การศึกษาเหตุการณ์ในปัจจุบันและในอดีตจึงไม่เพียงพอต่อการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนากระบวนการจัดทำภาพอนาคต (Foresight) โดยใช้หลักการสร้างฉากทัศน์ (Scenario technique) จึงเป็นกระบวนการหนึ่งของการจัดทำยุทธศาสตร์ที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ ซึ่งหลักการของ Strategic Foresight จะมุ่งไปที่เหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง (High Uncertainty) แต่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง (High Impact) ต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตช่วง 10-20 ปีข้างหน้า ในหลายประเทศได้พิจารณาแล้วว่า กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์หรือกลยุทธที่ใช้เพียงการวิเคราะห์ด้วย SWOT และ TOWS Matrix นั้นไม่เพียงพอต่อการกำหนดยุทธศาสตร์ในระยะยาว ด้วยเพราะ Strategic Foresight เป็นกระบวนการวิเคราะห์และมององค์กรแบบ Outside In ที่แตกต่างจากการทำ SWOT Analysis ที่จะทำการวิเคราะห์ขีดความสามารถขององค์กรแบบ Inside out ณ ช่วงเวลาปัจจุบัน นั้นแต่ปัจจัยที่พึงระลึกในการทำ Strategic Foresight ที่นักวิจัยอนาคตหรือนักยุทธศาสตร์ ควรยึดมั่นไว้เสมอตั้งแต่เริ่มกระบวนการ คือ การยึดหลัก PDCR ประกอบกับ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการทำStrategic Foresight ที่ทำให้ได้ผลลัพธ์เป็น “ภาพอนาคต” ที่แตกต่างจากการการวิเคราะห์ด้วยวิธีอื่น ๆ คือ องค์ประกอบในตัวของผู้ที่ร่วมการวิเคราะห์ ที่นอกจากควรเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการคิดและการตัดสินใจ (Influencer) แล้ว ก็ควรจะเป็นผู้ที่มีจินตนาการ (Anticipation) ที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นความจริง (Fact & Data) กล้าคิดนอกกรอบ (Out of the box) คิดในสิ่งที่ไม่เคยคิดมาก่อน (Dare to go beyond the thinking) มีความกล้าเสี่ยงอย่างชาญฉลาด (Intelligence Risk) และกล้าที่จะสร้างอนาคต (Shape the

Future) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่พึงระวัง คือ การเกิด Successful Trap” หรือ “กับดักแห่งความสำเร็จ” ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างจินตนาการ ที่มักจะเกิดขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัว ขณะเดียวกัน Mental Block ซึ่งเป็นทัศนคติส่วนบุคคลที่ยึดติดกับวิธิคิดแบบเดิมๆ จึงปิดกั้นความคิดใหม่ ทำให้ขาดการคิดจินตนาการ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการทำ Strategic Foresight และการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร

ความหมายของ Strategic Foresight

Strategic Foresight หรือที่รู้จักในชื่อ Futures Studies เป็นหลักการ (discipline) ที่องค์กรใช้ในการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับสภาพ แวดล้อมการทำงานในอนาคต เช่น แนวโน้มและการพัฒนาในสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม กฎหมาย และในบางครั้งอาจรวมแนวโน้มการทหารเข้ามาพิจารณาด้วย ในส่วนของคำจำกัดความ Foresight และ Strategic Foresightมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน โดยมีการให้คำจำกัดความถึงขอบเขต กระบวนการ ไว้ดังนี้ Yawson & Greiman (2017) การมองอนาคต (Foresight) คือ การวิเคราะห์คาดการณ์และอธิบายการเปลี่ยนแปลงในอนาคตโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต หรือเพื่อออกแบบอนาคตที่พึงประสงค์ (อ้างถึงใน ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, ธันยพร สุนทรธรรม: 2561)

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ (2021) Strategic Foresight ไม่ใช่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ตามปกติ แต่เป็นการสำรวจและสร้างความแตกต่างหรือเป็นทางเลือก สำหรับการปฏิบัติในระยะยาว โดยคำนึงถึงปัจจัยที่มีความไม่แน่นอน (Uncertainty)ที่จะเกิดขึ้น แต่หากเกิดขึ้นจะมีผลกระทบ (Impact) ที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ นอกเหนือจากแผนเชิงกลยุทธที่วางไว้

สรุปได้ว่า Foresight และ Strategic Foresight หมายถึง ความสามารถของมนุษย์ในกระบวนการคิดเกี่ยวกับอนาคต ด้วยการสร้างภาพเหตุการณ์ (Futureevent) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในระยะกลางและระยะยาวในระดับโลก ระดับภูมิภาคระดับประเทศ และในประเด็นสำคัญ (Key Agendas) โดยวิเคราะห์จากปัจจัยที่มี

ความไม่แน่นอนสูง (High Uncertainty) ที่จะเกิดขึ้น แต่หากเกิดขึ้นก็จะมีผลกระทบสูง (High Impact) ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่วางไว้ และมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต หรือเพื่อออกแบบอนาคตที่พึงประสงค์

กระบวนการ Foresight

กระบวนการ Foresight คือ กระบวนการคาดการณ์อนาคตอย่างเป็นระบบและมีความน่าเชื่อถือ โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี การเมือง และการทหารที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ ต่อการกำหนดทิศทาง แนวนโยบาย และยุทธศาสตร์ได้อย่างครอบคลุมและ

เหมาะสมต่อบริบทของสังคมอนาคต Joseph Veros (2003)1ได้พัฒนารูปแบบการสร้างภาพอนาคต

เรียกว่า Generic Foresight Model (GFM) ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเป็นการสร้างภาพอนาคต (Scenarios) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตระยะยาว

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ (2020) การจัดทำภาพอนาคต (Foresight)มีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งแสวงหาแนวทางในการบริหารจัดการสถานการณ์ หรือความไมแน่นอนที่อาจเกิดขึ้น กับเป้าหมายที่กำหนดไว้ในอนาคตด้วยการเตรียมทางเลือกที่เหมาะสม โดยกระบวนการจัดทำภาพอนาคตเปรียบได้กับการทำStrategicThinking ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายที่จะได้จากกระบวนการจัดทำภาพอนาคต คือ ทางเลือกที่เหมาะสม หรือ Strategic Option ซึ่งจะเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริหาร องค์กรกองทัพ หรือประเทศในการตัดสินใจที่อยู่ภายใต้ Possible Scenarios 

ภาพกรวยอนาคต คือ การแสดงระยะเวลาที่ยิ่งยาวนานออกไปเท่าไรปากกรวยก็จะยิ่งกว้างมากขึ้น ทำให้การคาดการณ์และมองภาพอนาคตทำได้ยากมากขึ้น สิ่งที่จะควบคุมให้ปากกรวยแคบลงจนใกล้เคียง Projected Future ก็คือ การรวบรวมข้อมูลที่ดี เพื่อให้ได้ Trends และ Driving Forces ที่มีประสิทธิภาพ

กระบวนการจัดทำภาพอนาคตทางยุทธศาสตร์ (Strategic Foresight)

ก่อนเริ่มกระบวนการจัดทำภาพอนาคต (Foresight) ควรให้ความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นในประเด็นต่อไปนี้

·      การเชิญผู้เข้าร่วมระดมความคิด ควรเชิญ Stakeholders ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Focal question ที่ศึกษา ให้ครอบคลุม STEEP ทุกมิติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (ประมาณ 25-30 คน)

·      การสื่อสารให้ผู้เข้าร่วมระดมความคิดเข้าใจบทบาทและหน้าที่

·      ในฐานะผู้เชี่ยวชาญตาม Focal question ที่เป็นทั้งผู้ห็ข้อมูลเหตุการณ์ องค์ความรู้และความคิดเห็นในการสร้างภาพอนาคต

·      การจัดเตรียมสถานที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ ควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะให้คณะผู้เข้าร่วมระดมความคิด สามารถดำเนินกิจกรรมได้ เช่น กระดาษบันทึก (Post it) ปากกา เป็นต้น หลังจากเตรียมความพร้อมข้างต้นแล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการจัดทำภาพอนาคตทางยุทธศาสตร์ ซึ่ง ประกอบด้วย 8 Module ดังนี้

Module 1: Focal Question & Timeline เป็นการกำหนดโจทย์ในการจัดทำภาพอนาคต ทำให้เห็นขอบเขตและบริบทของข้อมูลเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องและห้วงเวลาในอนาคตที่ต้องการศึกษา เช่น ต้องการจัดทำภาพอนาคตในระดับใด ครอบคลุมพื้นที่กว้างเพียงใด และเป็นภาพอนาคตในระยะไกลเพียงใด (กี่ปี) เป็นต้น

Module 2: Strategic Intelligence Scanning (SIS) คือ การค้นหาและรวบรวมข้อมูลในรูปแบบของเหตุการณ์ (Events) ที่คล้ายคลึงกัน นำมาจัดเป็นกลุ่มเหตุการณ์ (Cluster) เพื่อวิเคราะห์หารูปแบบ (Pattern) ของการเกิดและแนวโน้ม (Trends) ของเหตุการณ์ในอนาคต

Module 3: Environmental Scanning เป็นกระบวนการตรวจสอบสภาพแวดล้อมเพื่อกวาดสัญญาณที่อาจส่งผลทั้งด้านบวกและลบในแนวระนาบ แบบกระจาย กว้างครอบคลุมในทุกมิติของ STEEP-M เรียกผลที่ได้จากตรวจสอบสภาพแวดล้อมนี้ว่า “เหตุการณ์” (Events)

Module 4: Emerging Issues and Trends ข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้ในรูปแบบของเหตุการณ์ (Events) จาก Module 3 จะถูกนำมาพิจารณากระทั่งออกมาเป็น Trends ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใน Module 4 นี้ จึงเป็นการยกตัวอย่างของการหา Event และ Signal ที่จะเป็น Trends และเกี่ยวข้องกับ Focal Question ที่กำหนด

Module 5: Driving Forces การหา Driving Forces (DF) ที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดแนวโน้ม (Trend) ของเหตุการณ์ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางตรงและทางอ้อม

Module 6: Scenario Matrix คือ การจินตนาการภาพหรือสถานการณ์ในอนาคต ณ จุดเวลาที่กำหนดไว้ใน Focal question และการสร้างความสัมพันธ์ในตาราง U

Module 7: Developing Scenarios/ Scenario Stories ภาพอนาคต 4ภาพที่เป็นการสร้างแบบ Deductive บนพื้นฐานของเหตุการณ์อนาคตที่มีความไม่แน่นอนสูง และมีผลกระทบสูง (High Uncertainty and High Impact)

Module 8: Strategic Options/ Selecting Strategic Optionsภาพอนาคตทั้ง 4 ภาพจะนำไปวิเคราะห์หาโอกาส และอุปสรรค (O&T) เพื่อสร้างทางเลือกทางยุทธศาสตร์ (Strategic Options)


เขียนโดย : นายสมบัติ  สมศักดิ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sombat.s@most.go.th