เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
การศึกษาวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรม และพัฒนาการตรวจวินิจฉัยจำแนกเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
ชม 121 ครั้ง
65
เจ้าของ
รศ. ดร.เบญจพร เลิศอนันตวงศ์
เมล์
มหาวิทยาลัยมหิดล benchaporn.ler@mahidol.ac.th
รายละเอียด
SARS-CoV-2 ถูกค้นพบครั้งแรกในผู้ป่วยปอดอักเสบ (pneumonia) โดยเป็นการติดเชื้อจากคนสู่คนซึ่งมีสารพันธุกรรมเป็น ribonucleic acid (RNA) virus ในวงค์เบต้าโคโรน่า (β-coronavirus) ที่มีจีโนมใกล้เคียงกับ SARS-CoV (ร้อยละ 80) และ SARS-like bat CoV (ร้อยละ 88) ซึ่งการแสดงอาการของการติดเชื้อจะมีความคล้ายคลึงกับการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza-like illness; ILI) และพัฒนาไปสู่อาการทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (Severe acute respiratory infection; SARI) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ SARS-CoV-2 ไม่สามารถแยกได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยแยกโรคโดยวิธี Non-SARS-CoV-2 testing เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้ถูกต้อง และทันเวลา นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี Real-time RT-PCR ซึ่งวิธีดังกล่าวมีข้อด้อยในเรื่องความยุ่งยากของการใช้งาน ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และจุดอ่อนที่สำคัญประการหนึ่งคือความไวที่เกิดขึ้นเป็นการขยายปริมาณดีเอ็นเอที่ปนเปื้อนด้วยเช่นกัน และนำมาซึ่งความผิดพลาดของการแสดงผล
ดีเอ็นเอเซ็นเซอร์ทางเคมีไฟฟ้า (Electrochemical DNA sensor) คือการตรวจวัดปริมาณดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่สกัดได้จากตัวอย่างเชื้อก่อโรค โดยอาศัยหลักการไฮบริไดเซชันของเบสบนดีเอ็นเอสายสั้น ๆ (15-20 เบส) ที่ถูกออกแบบและสังเคราะห์ขึ้นให้เฉพาะเจาะจงกับดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอเป้าหมาย การใช้หลักการไฮบริไดเซชันแบบเฉพาะเจาะจงของคู่เบสของดีเอ็นเอนี้ทำให้สามารถตรวจคัดกรองและวัดปริมาณเชื้อก่อโรคที่สนใจจากตัวอย่างได้ โดยปกติการติดฉลาก (labeling) บนสายดีเอ็นเอเพื่อติดตามการไฮบริไดเซชันของดีเอ็นเอและดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอเป้าหมายเป็นสิ่งจำเป็น
บันทึกโดย
