เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
โครงการนิเวศวิทยาของปลิงน้ำจืดวงศ์ย่อย Hirudinae Pinto, 1823 สกุล Hirudinaria Whitman, 1886 การเพาะเลี้ยง การใช้ประโยชน์จากเมือกและสารฮิรูดิน
ชม 93 ครั้ง
56
เจ้าของ
ศ. ดร. สมศักดิ์ ปัญหา และรศ. ดร. เอกชัย จิรัฏฐิิติกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
เมล์
ekgachai.jer@mahidol.edu
รายละเอียด
เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาดีเอ็นเอส่วนไมโครแซทเทลไลท์ในปลิงน้ำจืดสกุล Hirudinaria ผู้วิจัยจึงเลือกไพรเมอร์มาจากงานวิจัยที่ใช้ดีเอ็นเอส่วนไมโครแซทเทลไลท์กับทากและปลิงในสกุลใกล้เคียง จำนวน 2 งานวิจัย เพื่อใช้ในการทดสอบไมโครแซทเทลไลท์ไพรเมอร์ที่สามารถใช้ศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรของปลิงน้ำจืดสกุล Hirudinaria ได้งานวิจัยแรกเป็นการศึกษาในปลิงน้ำจืดสกุล Hirudo ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับ Hirudinaria ผู้วิจัยเลือกไพรเมอร์จากตำแหน่ง HV351 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความหลากหลายมากที่สุดมาใช้ทดสอบกับปลิงสกุล Hirudinaria งานวิจัยที่สองเป็นงานที่ใช้ไมโครแซทเทลไลท์กับทากดูดเลือด Haemadipsa japonica ซึ่งอยู่ในลำดับย่อย Hirudiformes เช่นเดียวกับปลิงสกุล Hirudinaria ผู้วิจัยเลือกไพรเมอร์มาจากงานวิจัยนี้ 4 ตำแหน่ง คือ HJssr011, HJssr017, HJssr022 และ HJssr028 เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีความหลากหลายสูง
ผลการทดลองเบื้องต้นพบแถบดีเอ็นเอที่ไม่จำเพาะ (non-specific DNA)เป็นจำนวนมากในทุกคู่ไพรเมอร์ ดังตัวอย่างในภาพที่ 1 อาจเป็นเพราะไพรเมอร์ที่เลือกใช้มาจากปลิงต่างสกุลกัน จึงไม่สามารถจับกับสาย DNA ได้อย่างจำเพาะเจาะจง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแบบคู่ไพรเมอร์ขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ศึกษาพันธุศาสตร์เชิงประชากรของปลิงควายในสกุล Hirudinaria ต่อไป
บันทึกโดย