เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
1.. คัดเชื้อ Bacillus drentensis BP17 ผลิต PHB ได้สูงสุดในอาหารที่มีน้ฎต้มสับปะรดได้ PHB5,55g/L PHB ที่ได้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ PHB ที่มีขายในท้องตลาด (ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตร)
2.งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการผลิตเอนไซม์ย่อยสลายพลาสติกชีวภาพพอลีแลกไทด์ (PLLA) จากเชื้อแบคทีเรียเส้นสายที่ชอบร้อน Laceyella sacchari สายพันธุ์ LP175 จากการศึกษาพบว่าเอนไซม์ดังกล่าวสามารถผลิตได้จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีราคาถูก โดยผลิตได้ทั้งกระบวนการเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว (submerge fermentation) และกระบวนการหมักแบบแห้ง (Solid state fermentation) ซึ่งง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้ อีกทั้งใช้ระยะเวลาสั้นในกระบวนการเพาะเลี้ยงแต่ละครั้ง และไม่จำเป็นต้องใช้ระบบหล่อเย็นทั้งการเพาะเลี้ยงเพื่อผลิตเอนไซม์และการใช้เอนไซม์เพื่อย่อยสลายพลาสติกชีวภาพอีกด้วย เอนไซม์ย่อยสลายพลาสติกชีวภาพพอลีแลกไทด์จากเชื้อ L. sacchari LP175 นี้มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพ PLLA โดยพบว่าสามารถย่อยสลายฟิล์มพลาสติกชีวภาพ PLLA ได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสซึ่งสามารถใช้ทดแทนกระบวนการย่อยสลายทางเคมีที่ใช้อุณหภูมิสูงและทำปฏิกิริยาที่รุนแรงแบบดั้งเดิมได้ เอนไซม์ดังกล่าวมีความคงทนต่ออุณหภูมิสูง และยังสามารถย่อยสลายพลาสติกชีวภาพผสมระหว่าง PLLA และ แป้งมันสำปะหลัง (TPS) ได้อีกด้วย จากการศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมของเอนไซม์ดังกล่าวในงานวิจัยนี้ยังทำให้รู้ลำดับนิวคลีโอไทด์ และตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ดังกล่าวได้ต่อไปในอนาคต