เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
การพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าให้กับวัตถุดิบจากภาคการเกษตรโดยบูรณาการองค์ความรู้จากสหสาขาวิชา Development of Integrative biorefinery platform for value creation of agricultural residues t
ชม 219 ครั้ง
63
เจ้าของ
ศ. ดร. นวดล เหล่าศิริพจน์ /ดร.ชญานนท์ โชติรสสุคนธ์ /ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา
เมล์
มจธ./BIOTEC
รายละเอียด
Organosolv fractionation process for green paper packaging pulp from sugarcane bagasse ซึ่งเป็นกระบวนการแบบกึ่งไร้ของเสีย (Near zero waste pulping process) เพื่อผลิตเยื่อกระดาษสำหรับขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์อาหารจากวัตถุดิบชานอ้อยของภาคอุตสาหกรรม โดยกระบวนการดังกล่าว ยังได้ส่วนออร์กาโนโซล์ฟลิกนินความบริสุทธิ์สูงเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ โดยทั่วไปองค์ประกอบลิกนินดังกล่าวสามารถพบได้ในปริมาณมากถึงร้อยละ 20 โดยน้ำหนักแห้งของวัตถุดิบชีวมวลหลากหลายชนิดภายในประเทศ อาทิ ชานอ้อย ใบอ้อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ปีกไม้ยาง และทลายปาล์ม เป็นต้น อีกทั้งออร์กาโนโซล์ฟลิกนินที่เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการข้างต้นยังมีความบริสุทธิ์สูงมีคุณสมบัติเด่นกว่าลิกนินประเภทอื่นซึ่งเป็นของเสียจากภาคอุตสาหรรมคือ ไม่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก สารประกอบของโซเดียมและซัลเฟต และมีคุณสมบัติการดูดกลืนรังสียูวีและการดักจับโมเลกุลสารอนุมูลอิสระ จากคุณสมบัติดังกล่าว ส่วนออร์กาโนโซล์ฟลิกนินจึงเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงซึ่งจะช่วยส่งเสริมความคุ้มทุนให้กับการดำเนินกิจการ และการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพภายในประเทศในอนาคต
Organosolv lignin as functional additive for green composite materials from bio-based industry เนื่องจากออร์กาโนโซล์ฟลิกนินมีคุณสมบัติเด่นกว่าลิกนินประเภทอื่นซึ่งเป็นของเสียจากภาคอุตสาหรรมคือ ไม่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก สารประกอบของโซเดียมและซัลเฟต และมีคุณสมบัติการดูดกลืนรังสียูวีและการดักจับโมเลกุลสารอนุมูลอิสระ คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาส่วนออร์กาโนโซล์ฟลิกนินดังกล่าวเป็นเม็ดสีและสารเติมแต่งเชิงหน้าที่จากอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ โดยปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและโครงสร้างเคมีให้มีความเหมาะสมกับการผสมขึ้นรูปร่วมกับพอลิเมอร์ชนิดต่างๆ ได้แก่ LDPE, HDPE, PP, และ PLA จากผลการพัฒนาสามารถผสมเม็ดคอมปาวด์ Master batch ของออร์กาโนโซล์ฟลิกนินกับพอลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ สำหรับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมได้ อาทิ Injection molding, Thermoforming, และ Blown film โดยไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการขึ้นรูปและยังให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติการป้องกันการส่องผ่านของรังสียูวีและการต้านสารอนุมูลอิสระแปรผันตรงกับปริมาณออร์กาโนโซล์ฟลิกนินที่ผสมในเนื้อผลิตภัณฑ์
เส้นพิมพ์สามมิติจากอุตสาหกรรมฐานชีวภาพเพื่อการออกแบบและยืดอายุผลิตภัณฑ์ (3D printing filament from biobased industry for product design and shelf life extension)
ประยุกต์ใช้ออร์กาโนโซล์ฟลิกนินจากวัตถุดิบชีวมวลภายในประเทศซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพภายในประเทศ บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติเพื่อการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ให้กับภาคธุรกิจสำหรับประกอบการตัดสินใจลงทุนเพื่อผลักดันผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบชีวมวลจากภาคการเกษตร โดยสิ่งประดิษฐ์เส้นพิมพ์สามมิติจากอุตสาหกรรมฐานชีวภาพนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือให้ชิ้นงานที่มีความโปร่งแสงแต่มีสี (เหลืองนวล-ทอง) ที่มีความสม่ำเสมอซึ่งเป็นลักษณะที่พบได้ยากในเส้นพิมพ์สามมิติทั่วไปตามท้องตลาด อีกทั้งยังสามารถป้องกันการส่องผ่านของรังสียูวีและต้านทานสารอนุมูลอิสระได้อีกด้วย



บันทึกโดย
