ประเทศไทยหัวใจอินทรีย์ งานจิตอาสา เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง  190

คำสำคัญ : อินทรีย์  organic  

“ประเทศไทย หัวใจอินทรีย์” งานจิตอาสา ที่ผมและเครือข่ายทั่วประเทศต้องการเปลี่ยนประเทศไทยจากเกษตรเคมี สู่เกษตรอินทรีย์ ผลพวงจากการปฏิวัติเขียว 100 ปี ที่ผ่านมา ทำให้เกฺิดปัญหาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันหลายย่าง เช่น เกษตรกรก็ยังไม่สามารถลืมตาอ้างปากได้ สุขภาพประชาชนแย่ลง มีคนเป็นมะเร็งมากขึ้นจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร สิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ อากาศ เสียสมดุลของธรรมชาติ คนในสังคมแก่งแย่ง ชิงดีเพื่อการยังชีพ ปัญหาเหล่านี้ สะสมมาเป็นเวลานาน บางอย่างอาจจะเกิดจากนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมไม่ถูกทิศ ถูกทาง บางอย่างเกิดจากความไม่รู้ การเข้าใจผิดในวิชาการบางอย่าง นี่คิดจุดเรื่อมต้นของความคิดที่อยากจะเปลี่ยนประเทศ

เราก็เปลี่ยนได้ เชื่อไหม?

 

“ประเทศไทย หัวใจอินทรีย์” งานจิตอาสา ที่ผมและเครือข่ายทั่วประเทศต้องการเปลี่ยนประเทศไทยจากเกษตรเคมี สู่เกษตรอินทรีย์ ผลพวงจากการปฏิวัติเขียว 100 ปี ที่ผ่านมา ทำให้เกฺิดปัญหาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันหลายย่าง เช่น เกษตรกรก็ยังไม่สามารถลืมตาอ้างปากได้ สุขภาพประชาชนแย่ลง มีคนเป็นมะเร็งมากขึ้นจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร สิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ อากาศ เสียสมดุลของธรรมชาติ คนในสังคมแก่งแย่ง ชิงดีเพื่อการยังชีพ ปัญหาเหล่านี้ สะสมมาเป็นเวลานาน บางอย่างอาจจะเกิดจากนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมไม่ถูกทิศ ถูกทาง บางอย่างเกิดจากความไม่รู้ การเข้าใจผิดในวิชาการบางอย่าง นี่คิดจุดเรื่อมต้นของความคิดที่อยากจะเปลี่ยนประเทศ

จำได้ว่าเมื่อประมาณปี 2560 ในช่วงที่ผมทำงานที่ภาคอีสาน ได้ไปนั่งฟัง

เจ้าชายเกษตรอินทรีย์ ดร.อนุรักษ์ เรืองรอบ ท่านได้บรรยายเรื่อง โมเดลการพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Participatory Guarantee Systems หรือ PGS ซึ่งก็เป็นมาตรฐานที่ผมเองก็ได้ศึกษาวิจัยมาแล้วว่า PGS จะเป็นเครื่องมมือสำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเกษตรอินทรีย์ของประเทศได้ แต่ก็ไยายามหาโมเดลการพัฒนาที่ตอบโจทย์การขยายผลไปทั่วประเทศ จนได้มาเจอโมเดลของเจ้าชายเกษตรอินทรีย์ ผมจึงได้ร่วมกันทำโครงการ “ประเทศไทย หัวใจอินทรีย์” ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่สิ่งที่ดี 4 สอ (เศรษฐกิจ สุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม)

หลังจากได้ทำความเข้าใจในโมเดลการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ผมซึ่งพอจะมีความสามารถในด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ การเขียนโปรแกรม จึงได้ใช้เวลา 3 เดือน ทุ่มเทพัฒนาระบบสารสนเทศเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ Organic Agricultural Network หรือ OAN ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ภายใต้เบร์นด SDGsPGS ซึ่งมาจากคำ 2 คำ รวมกัน คือ SDGs = Sustainable Developmaent Goals + PGS = Participatory Guarantee Systems กะว่าจะปั้น brand นี้ให้คนทั้งโลกให้รู้จัก ว่าประเทศไทยก็ผลิตสินค้าอินทรีย์ที่มีคุณภาพ

แล้วทำไมจึงเลือก PGS ?

ประเทศไทยมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว คือ Organic Thailand แล้วทำไมต้องไปสร้างมาตรฐานใหม่ อันนี้ก็เป็นคำถามที่ค้างคาใจอยู่เหมือนกัน ว่าทำไมต้องไปสร้างใหม่ เมื่อมานั่งวิเคราะห์กันพบว่า มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่มีอยู่ มีข้อจำกัด หลายอย่าง เช่น ค่าตรวจแพงเกินไป(สำหรับมาตรฐานเพื่อการส่งออก) ต้องมีเอกสารสิทธิ์ ข้อจำกัดด้านงบประมาณส่งเสริม ข้อจำกัดด้านผู้ตรวจประเมินแปลง ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกษตรอินทรีย์ประเทศไทยไม่ก้าวไปข้างหน้าเท่าที่ควร พอได้มาศึกษา PGS ซึ่งทาง IFOAM ได้พัฒนากรอบแนวคิด กระบวนการ framework ของการพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เป็นเครื่องมือของการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ใช้ภายในประเทศ โดย IFOAM ได้ให้คำนิยามสั้นๆ ว่า

PGS คือ "ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น ที่ให้การรับรองผู้ผลิตโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อถือ เครือข่ายทางสังคม และการแลกเปลี่ยนความรู้ "

Participatory Guarantee Systems (PGS) are locally focused quality assurance systems. They certify producers based on active participation of stakeholders and are built on a foundation of trust, social networks and knowledge exchange.  

 

ติดตามอ่านเพิ่มเติม...


เขียนโดย : นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ekapong@mhesi.go.th