เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
การพัฒนาระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบโดมร่วมกับความร้อนเหลือทิ้งจากไอเสียเตาประหยัดพลังงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของระบบ (IoT) ในการจัดการเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับวิสาหกิจชุมชน โดยวิสาหกิจชุมชนข้าวกล้องงอกบ้านนางอย-โพนปลาโหลเริ่มต้นจากจากอบข้าวฮาง ซึ่งตามปกติแล้วจะตากแดดธรรมดา พบปัญหาเรื่องฝุ่น คุณภาพของข้าวฮางกล้องอกต่ำเนื่องจากเกิดเชื้อราและมีกลิ่นหืนง่าย รวมถึงการควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานระดับสูงและสม่ำเสมอ แต่เมื่อลองปรับมาใช้โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกร่วมกับความร้อนเหลือทิ้งจากไอเสียเตานึ่งข้าวฮางประหยัดพลังงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของระบบ (IoT) ช่วยตัดความกังวลเรื่องสิ่งสกปรกปนเปื้อน ประหยัดเวลาขึ้น เนื่องจากเครื่องนี้จะให้ความร้อนมากขึ้นจากเดิม เช่น หากตากธรรมดาความร้อนจะอยู่ที่ 40-50 องศาเซลเซียส แต่เมื่ออยู่ในตู้ความร้อนจะขึ้นมาอยู่ที่ 60-70 องศาเซลเซียสได้ แถมยังช่วยเรื่องของสีผลิตภัณฑ์ด้วยทำให้สีนิ่ง และสามารถเป็นกลุ่มเรียนรู้ถ่ายทอดให้กลุ่มอื่นได้เอาไปใช้อีกด้วย หลักการของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกร่วมกับความร้อนเหลือทิ้งจากไอเสียเตาประหยัดพลังงาน คือ ในช่วงเริ่มต้นความชื้นของผลิตภัณฑ์มีปริมาณสูงหรือช่วงเร่งกำลังการผลิตต้องอาศัยความร้อนเหลือทิ้งจากไอเสียเตาประหยัดพลังงานผ่านชุดแลกเปลี่ยนความร้อน และถ้าเราใช้แสงแดดธรรมดาอุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ที่ 70 องศา ซึ่งการอบแห้งข้าวฮางจะใช้อุณหภูมิต่ำกว่านี้ ฉะนั้นเมื่ออุณหภูมิถึง 70 องศา ระบบอินเตอร์เน็ตของระบบ (IoT) ก็จะสั่งพัดลมระบายอากาศเพื่อดึงออก ส่วนพัดลมระบายอากาศจะติดอยู่ 2 ตัว ตรงตำแหน่งหัวท้าย เปิดใช้ในกรณีทีร้อนเกินไปและช่วยระบายความชื้นออกด้วยเช่นกัน มีการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อจะได้ดูได้ว่า ตอนนี้อุณหภูมิเป็นอย่างไร เท่าไหร่ เพื่อคนทำงานจะได้เห็นและควบคุมได้แม้อยู่ที่อื่น ไม่ต้องเดินมาดูเอาเองที่หน้าตัวเครื่อง จะมีการตั้งอุณหภูมิที่จะอบไว้ กล่องคอนโทรลจะเห็นอุณหภูมิ ณ ปัจจุบันของตัวเครื่องว่าตอนนี้เครื่องมีอุณหภูมิอยู่ที่เท่าไหร่ สูงไปหรือต่ำไป ภายในห้องอบแห้งจะมีเซนเซอร์วัดอุณหภูมิอยู่ 3 จุด อยู่ตรงช่วงใกล้หัวกับท้าย ตรงกลางห้องอบแห้ง โรงอบที่ใช้ที่วิสาหกิจชุมชนข้าวกล้องงอกบ้านนางอย-โพนปลาโหล การอบผลิตภัณฑ์จะอบได้ประมาณ 500 กิโลกรัม แน่นอนว่าเมื่อวิสาหกิจชุมชนได้นำไปใช้นอกจากจะยกระดับรายได้ให้ชุมชนแล้ว ยังสามารถเป็นชุมชนต้นแบบแห่งการเรียนรู้ให้ชุมชนอื่นได้เข้ามาศึกษาดูงานได้อีกด้วย และขยายกำลังการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวเกรียบ กล้วย มะเขือเทศ ช่วยประหยัดพลังงาน ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดี รองรับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารและอบแห้งในอนาคตพร้อมตอบโจทย์ในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้
https://drive.google.com/open?id=1LzFDp6bc_aqJPDqnhGzD5WSmxoEqzvXU
