เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
เตียงอเนกประสงค์สำหรับผู้ป่วยติดเตียง (A multifunctional bed for bedbound patients)
เจ้าของผลงาน (ชื่อ - สกุล)
ดร. ศานตมน ล้วนวุฑฒิ
ผศ.ดร. รัตนา เล็กสมบูรณ์
นาย อมต ยอดคุณ
นาย สุนัน จรรยากรณ์
นาย พรเทพ สุรมาตย์
ผศ.ฐานิสรา โฉมเกิด
ผศ.ดร.นงนุช กัณหารัตน์
ดร.สุธารกมล ครองยุติ
หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข
เบอร์โทรศัพท์093-5397469, 045-353300, 045-353900
e-mail santamon.l@ubu.ac.th
ความใหม่ (Novelty) เกิดขึ้นใหม่ครั้งแรก เกิดขึ้นใหม่โดยน ามาต่อยอด
แม้ปัจจุบันจะมีอุปกรณ์ช่วยในการดูแลผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่พบรูปแบบเตียงที่อเนกประสงค์และมีประสิทธิภาพที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียง เช่นเตียงมีขนาดใหญ่เกินไป ไม่สามารถเข็นเข้าออกห้องพักได้ เตียงไม่
เอื้ออำนวยให้ญาติหรือผู้ดูแลการให้การดูแลผู้ป่วยบนเตียงเช่นอาบน้ำรับประทานอาหาร ขับถ่าย ให้การดูแลด้วยความยากลำบากหรือต้องออกแรงมาก หรือไม่สมารถให้การดูแลที่เหมาะสมได้เลย ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยซ้ำซ้อนเช่น แผลกดทับทับ หรือความเหนื่อยล้าท้อใจของผู้ดูแลผู้ป่วย กลุ่มผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาคิดค้นและออกแบบเตียงสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่อเนกประสงค์ เคลื่อนย้ายได้สะดวกขึ้น พร้อมทั้งมีประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย เตียงนี้มีคุณสมบัติพิเศษ โครงสร้างของเตียงสมารถแยกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งจะสมารถเปลี่ยนเป็นรถเข็นที่สมารถเข็นออกจากเตียงได้ ตัวรถเข็นที่ถอดออกมาจะมีระบบล็อคล้อ สำหรับป้องกันการเคลื่อนไถลเมื่อต้องการให้รถเข็นเมื่อหยุด ในส่วนของเตียงมีกลไกสมารถพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงได้ มีระบบยกบริเวณลำตัวและศีรษะผู้ป่วยในลักษณะครึ่งนั่งครึ่งนอน และพลิกตัวตะแคงซ้ายและขวาผู้ป่วยจากท่านอนหงายได้ซึ่งจะช่วยลดปัญหาแผลกดทับ และสะดวกต่อผู้ดูแลในการทำความสะอาด เปลี่ยนเสื้อผ้า หรือเปลี่ยนผ้าปูเตียง ซึ่งกลไกการทำงานของเตียงในบริเวณส่วนลำตัวถึงศีรษะควบคุมด้วยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่และสั่งการด้วยสวิตช์ควบคุมที่ได้มาตรฐาน ทำให้ผู้ป่วยสมารถถูกเคลื่อนย้ายหรือออกไปนอกสถานที่ได้ง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีปลั๊กไฟฟ้านั้น ในส่วนบริเวณอื่นจะถูกควบคุมด้วยระบบกลไกเบื้องต้นที่ช่วยทุ่นแรงคนดูแลผู้ป่วย เตียงยังมีรั้วกั้นบริเวณด้านข้างป้องกันผู้ป่วยตกเตียง ซึ่งเตียงนี้จะช่วยอำนวยความสะดวก ลดปัญหาการเกิดแผลกดทับ และช่วยลดภาระของญาติผู้ป่วยที่บ้าน สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตของประเทศไทยที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยและจะมีจำนวนผู้สูงอายุที่ติดเตียงที่ไม่สมารถช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น
การใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ (Knowledge and creative idea)
ในปี 2563มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยรายงานว่า ประเทศไทยมีประชากรรวม 66.5ล้านคนประชากรสูงอายุของประเทศไทยได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเร็วมาก กล่าวคือ เมื่อ 50ปีก่อน ผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป) มีจำนวนไม่ถึง 2ล้านคน แต่ในปี 2563ผู้สูงอายุได้เพิ่มจำนวนเป็น 12ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18ของประชากรทั้งหมด ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” ภายในปี 2565นี้ ซึ่งจากสถานการณ์ที่ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุนั้น กลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง (Bed Bound) เป็นกลุ่มที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ ดูแลมากที่สุด ซึ่งหมายถึงจำนวนผู้ดูแล ระยะเวลาในการดูแล และงบประมาณในการดูแล โดยสมัชชานโยบายรองรับสังคมสูงวัยรายงานว่า ปี 2560ประเทศไทยมีผู้ป่วยติดเตียง 136,677ราย และคาดการณ์อนาคตว่า ในปี 2590ผู้ป่วยติดเตียงจะเพิ่มเป็น 434,694ราย และพบว่าผู้ป่วยติดเตียงเหล่านี้ต้องพานักที่บ้านของตนเอง ทั้งในเมืองและชนบท โดยปกติทั่วไประบบสาธารณสุขไทยได้เข้าให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในกลุ่มเหล่านี้ โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ อาสาสมัครพร้อมทั้งมอบอุปกรณ์อำนวยความสะดวก หรือจากกระทรวงพัฒนาสังคมฯ อุปกรณ์เป็นอุปกรณ์ในท้องตลาด มีราคาค่อนข้างสูงมาก เมื่อเทียบกับรายได้ครอบครัว และงบประมาณที่ต้องจ่ายเพื่ออุปกรณ์เหล่านี้ และพบว่าจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ อุปกรณ์เหล่านี้ไม่สมารถตอบโจทย์ปัญหา หรือความต้องการของผู้สูงอายุแต่ละราย เช่นเตียงผู้ป่วย รถเข็นนั่ง ซึ่งอำนวยความสะดวกได้ระดับหนึ่ง แต่ขนาดอาจใหญ่เกินไป เข้าออกตัวบ้านไม่ได้ หรือเคลื่อนย้ายลำบาก ไม่เหมาะกับสภาพที่อยู่อาศัย ทำให้ผู้ป่วยเสมือนถูกกักขังอยู่ภายในห้อง ไม่สมารถออกมาพักผ่อนหรือร่วมกิจกรรมภายนอกได้ ส่งผลต่อสุขภาพจิต ผู้ป่วยอาจลุกนั่งหรือยืนลำบาก ญาติหรือผู้ดูแลอาจให้ความช่วยเหลือดูแลได้ไม่ถนัด หรือไม่สะดวก ต้องออกแรงในการประคองหรือยกผู้ป่วยที่ไม่สมารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย เป็นเหตุให้ผู้ดูแลอาจเกิดการเจ็บป่วยตามมาภายหลังได้ อีกทั้งอุปกรณ์เหล่านี้ส่วนหนึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ราคาสูง สิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมาก แม้ว่าจากการศึกษาที่ผ่านมา นักวิชาการไทยได้มีการศึกษา อุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ เช่น เตียงลดแผลกดทับ เตียงที่ปรับระดับสูงต่ำได้ แต่ยังไม่พบรูปแบบเตียงที่มีหลายกลไกหรือที่สมารถปรับพับเปลี่ยนเป็นเก้าอี้ เคลื่อนย้ายได้และปรับพลิกตัวผู้ป่วยได้ในเตียงเดียวกัน หรือเตียงที่มีความแข็งแรง ราคาถูก ที่สมารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ป่วยติดเตียงที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้
การนำไปใช้ประโยชน์ (Benefit) ด้านเชิงพาณิชย์
เนื่องจากยังไม่ได้ถูกไปใช้งานในเชิงพาณิชย์ แต่จากการทดลองใช้ของผู้ประดิษฐ์สมารถสรุปศักยภาพของเตียงดังต่อไปนี้
1. เป็นเตียงผู้ป่วย ที่มีขนาดกว้าง X ยาว X สูง เท่ากับเตียงคนไข้มาตรฐานทั่วไปทำจากโหละและไม้แข็งแรง
ทนทาน ผู้ป่วยสมารถนอนหลับพักผ่อนผ่อนได้ตลอดวันและคืน มีราวกั้นกันตก
2. เบาะรองนอนเป็นพลาสติก PVC อย่างดีบางเบากว่าที่ใช้ในปัจจุบัน เปียกน้ำได้ สมารถถอดล้างได้เป็น
ส่วนๆ สะดวกกับการอาบน้ำบนเตียงได้
3. เตียงมีกลไกหมุนเพื่อดันร่างกายเพื่อพลิกตะแคงตัวได้ เพื่อผ่อนแรงผู้ดูแลเมื่อต้องการพลิกเปลี่ยนท่านอนเพื่อป้องกันแผลกดทับ หรือต้องการอาบน้ำบนเตียง เปลี่ยนเสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอนได้เป็นอย่างดี
4. เตียงปรับยกส่วนหลังและศีรษะ ด้วยระบบไฟฟ้า ให้อยู่ในท่านั่งได้ ผ่อนแรงญาติหรือผู้ดูแลเป็นอย่างดี ในท่านี้ญาติสมารถให้อาหารผู้ป่วยเสมือนนั่งรับประทานอาหาร ป้องการการสำลักได้
5. เตียงเล็กที่ซ่อนซ้อนกันอยู่สมารถถอดเลื่อนออกเฉพาะส่วน พร้อมปรับสภาพกลายเป็นรถเข็นแบบนอน
หรือรถเข็นแบบนั่งได้มีล้อใหญ่หมุนได้ 360องศา เข็นได้อย่างเบาแรง สะดวกในการนำพาผู้ป่วยออกไป
พักผ่อนนอกบ้านได้ ปรับนั่งได้ รอยพับรถเข็นที่ข้อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า ล็อคล้อได้เพื่อความปลอดภัย
มีสายรัดกันตก
คุณณค่า (Value) และหรือผลกระทบต่อสังคม (Impact)
1.สมารถเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการค้าได้ในการประดิษฐ์เตียงที่ตอบโจทย์ตามความต้องการของผู้ป่วยติด
เตียงหรือผู้สูงอายุที่อยู่ในเคหะสถานที่คับแคบ
2.มีเตียงเล็กซ่อนซ้อนกันอยู่ที่สมารถถอดและปรับเป็นรถเข็นแบบนั่งและแบบนอนได้โดยผู้ป่วยไม่ต้องลงจาก
เตียง ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
3.ช่วยผ่อนแรงของญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ให้สมารถดูแลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น
4.สมารถผลิตในประเทศได้ ราคาไม่สูง
5.ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ
รูปภาพผลงาน