วันวิสาขปูชา ชาวพุทธเข้าใจดีแค่ไหน ?  50

คำสำคัญ : วิสาขปูชา  ประสูติ  ตรัสรู้  ปรินิพพาน  เวสสันตรชาตกัง    

           วันวิสาขปูชา ชาวพุทธเข้าใจดีแค่ไหน ?

                        โดย ดร.สรรณพ นาควานิช หัวหน้าโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กปว.

         

ที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๒ ได้ยกย่องให้วันวิสาขปูชา เป็นวันสำคัญสากล (International day) และยกย่องเป็นวันวิสาขโลก ที่นำเสนอโดยชาวพุทธจากศรีลังกา โดยใช้เครื่องหมายของธงพุทธชยันตี เป็นสัญญลักษณ์ ธงพุทธชยันตี มี ๖ สีที่เกิดเป็นฉัพพันรังสีที่แผ่ซ่านออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า (ปรมัตถอนุตตรสัมมาสัมโพธิ) เมื่อทรงเสวยสุขพิจารณาอภิธัมม ๔๒,๐๐๐ ธัมมขันธ ณ รัตนฆรเจติยะ ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังได้ทรงตรัสรู้ เมื่อพิจารณาจบอภิธัมม คัมภีร์ที่ ๗ ชื่อ มหาปัฏฐาน (ปัจจัย ๒๔ ที่เป็นเหตุให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด) มี ๖ สี ได้แก่ (๑) สีนีละ สีเขียวเข้มเหมือนดอกอัญชัน (๒) สีปีตะ สีเหลือง (๓) สีโลหิตะ แดง (๔) สีขาว โอทาตะ (๕) สีมัญเชฏฐะ สีแสดเหมือนดอกหงอนไก่ และสีปภัสสร (รวมสีผสมใน ๕ สี) เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก ในปีมหาพุทธปรินิพพาน ๒๕๕๖ ผมเป็นผู้เตรียมข้อมูลให้ท่านรองนายกรัฐมนตรีเขียนลงในส่วนคำนำของวันวิสาขโลกของ UN

ประเทศไทยเริ่มให้ส่วนราชการหยุดในวันสำคัญนี้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกันกับประเทศอินดีย ศรีลังกา พม่า สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ประกาสให้เป็นวันหยุดเพื่อชาวพุทธจะได้ไปบำเพ็ญปุญญกิริยาวัตถุ ๑๐ แล้วจะได้อุทิสกุสลตอบแทนประชาชนที่จ่ายเงินเดือนหล่อเลี้ยงครอบครัวของข้าราชการ “ประชาชนคือพ่อแม่ของข้าราชการ” สมัยรัชกาลที่ ๕ ขุนนาง เจ้าพระยาต้องสอนธัมมะให้ลูกน้อง และกำหนดให้ข้าราชการต้องบวชเรียนไม่น้อยกว่า ๓ วัสสา จึงจะได้สิทธิบรรจุรับราชการ

ความสำคัญในวันวิสาขปูชา ซึ่งตรงกับวันขึ้น (สุกกะปักขัสสะ) ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วิสาขะมาสัสสะ) ในปีนี้ตรงกับวันที่ ๒๒ พฤษภาคม มหาพุทธปรินิพพาน ๒๕๖๗) สุกกะ แปลว่า เกิดมาเป็นมนุสส-มคธภาสา (มนุษย์-สันสกฤต) แล้วจะต้องบันลุธัมม ตามการตรัสรู้ของปรมัตถะอนุตตระสัมมาสัมโพธิ ที่ทรงตรัสรู้ในวันนี้ ใต้ต้นสิริมหาโพธิ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันเรียกว่า สหชาติ มี ๗ ได้แก่ (๑) ท่านมหาพิมพา หรือยโสธราเถรีอรหันต์ อายุ ๗๘ ปี (๒) ท่านมหาอานนท์อรหันต์ อายุ ๑๒๐ ปี (๓) นายฉันนะ อำมาตย์คนสนิท ต่อมาบันลุอรหันต์  (๔) ท่านกาฬุทายีอำมาตย์ หรือ มหากาฬุทายีอรหันต์     (๕) ม้ากัณฐกะ (๖) ต้นสิริมหาโพธิ (๗) ขุมทรัพย์ทั้งสี่ คือ อริยชุมชนที่คอยใส่ภัตตาหารทุกแห่งที่ทรงเสด็จไป เช่น จะมีอริยชุมชนที่อยู่ใกล้วิวัฏฏ จำนวน ๔๕ วิวัฏฏ จากเมืองราชคฤห์ไปเมืองสาวัตถี ที่ท่านมหาอนาถปิณฑิกะสร้างไว้ตลอดระยะทาง ๔๕ โยชน์ (วัฏฏะ คือ การเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภูมิ วิวัฏฏะ คือดับการเวียนว่ายตายเกิด เป็นโลกุตตระปุคคล ๘ หรือโลกุตตรจิต ๔๐ หรือชื่อนิพพาน “เมืองไทย เรียก วัด”)

พระพุทธเจ้า หรือ ปรมัตถอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ทรงตรัสรู้อะไร? คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด คิดว่าทรงตรัสรู้ อริยสัจจ์ ๔ แต่จริง ๆ ทรงตรัสรู้ “ปฏิจจะสมุปปาทะโพธิกถา”(ความสำคัญประการที่ ๑) ที่ทรงตรัสรู้เรื่อง อตีตะ มี ๒ อย่าง คือ อวิชชา สังขาร ทรงตรัสรู้เรื่อง ปัจจุปัน มี ๘ คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ และทรงตรัสรู้เรื่อง อนาคต มี ๒ คือ  ชาติ ชรา มรณะฯ รวมเรียกว่า ปัจจัย ๑๒ ที่เป็นเหตุให้เวียนว่ายในวัฏฏะ และทรงตรัสรู้ว่าทำอย่างไรจึงไม่ต้องมาเกิดอีก เป็น นิพพาน เรียกว่า วิวัฏฏะ มี ๑๒ ปัจจัยเช่นกัน ส่วนอริยสัจจ์ ๔ อยู่ในธัมมจักกัปป วตนสูตร ที่ทรงสอนท่านมหาอัญญาโกณทัญญะ เท่านั้น

ก่อนทรงตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญปารมีมานาน ๒๐ อสังไขย กำไรแสนกัปป ในฐานะของปัญญาธิกะพุทธะ ซึ่งรวดเร็วที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสัทธาธิกพุทธะ ๔๐ อสังไขยกำไรแสนกัปป และวิริยาธิกะพุทธะ ๘๐ อสังไขยกำไรแสนกัปป เมื่อพระมหาโพธิสัตตทรงประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ (ความสำคัญประการที่ ๒) ได้เสด็จพระราชดำเนินทอด พระปาท ๗ ก้าว และทรงชี้นิ้ว ๑ นิ้ว ในวันนี้เช่นกัน ใต้ต้นมหาสาละ เมืองลุมพินี

ถ้าเรารู้อภิธัมม ที่ประกอบไปด้วย  (๑) ปัญญัตติธัมม (๒) ปรมัตถธัมม ในปรมัตถธัมม ๔ จะต้องรู้จิต ๑๒๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ นิพพาน ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้บันลุธัมม การเดิน ๗ ก้าว หมายถึงทรงสอนว่า การกระทำทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จะไม่บัลุธัมม เพราะเป็นการทำงานของทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ในอเหตุกจิต ๑๘ ในกามาวจรจิต ๕๔ จิต ๑๒๑ มี ๔ กลุ่ม (กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐)

ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เช่น ตา จะมองเห็นได้เพราะการทำงานของ จักขุวิญญาณจิต (อุเปกขาสหคตัง จักขุวิญญาณัง อสังขาริกัง กามาวจร อเหตุกะกุสลวิปากจิตตัง) ปรุงแต่งด้วยเจตสิก ๗ คือ ผัสสเจตสิก เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก เจตนาเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก ชีวิตเจตสิก มนสิการเจตสิก เพียงให้ทำงานแต่ยังไม่รู้ จะรู้ได้ต้องมี “วิตกเจตสิก” ซึ่งเป็นคำสั่งสอนพระพุทธเจ้า เรียกว่า “วิตกวิจารพุทธวจนะ” จึงจะรู้เข้าใจและตรัสรู้ได้ เราชาวพุทธจึงต้องฟัง จดจำ และรู้ตามพระพุทธองค์เท่านั้น

ปรมัตถะอนุตตรสัมมาสัมโพธิทรงตรัสรู้และสั่งสอนพุทธสาวก ตลอดเวลา ๔๕ วัสสา (ปี) ในเวลาปีหนึ่งมี ๑๒ เดือน ภิกขุ ภิกขุนีจะเข้าวัสสาเพียงสามเดือน เริ่มเข้าวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ และจะเริ่มถวายผ้ากฐินได้ในเวลา ๑ เดือนตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เท่านั้น ในวัสสาที่ ๔๕ ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ทรงปลงพระชนมายุสังขาร ณ ปาวาเจติยะ เมืองเวสาลี ว่าอีก ๓ เดือนข้างหน้าจะทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา ใต้ต้นมหาสาละคู่ (ความสำคัญประการที่ ๓) ได้ทรงตอบคำถามพระมหาอานนท์ว่า จะทรงตั้งพระธัมมวินัย ๘๔,๐๐๐ ธัมมขันธ เป็นองค์แทนหลังทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ว่า “โยโว อานันท มยา ธัมโม จะ วินโย จะ เทสิโต ปัญญัติโต โสโว มมัจจะ เยนะ สัตถา” เราชาวพุทธจึงต้องยึดคำสอนในพระไตรปิฏกมากกว่าไปเชื่อคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่สอนผิดเพี้ยนไปมากในยุคปัจจุบัน ที่เรียกกันว่า สายมูเตลู ไปบูชารูปเคารพมากกว่าไปรู้คำสอนที่ลึกซึ้ง

ความสำคัญประการที่ ๔ ในวันนี้ คือ การเจริญธัมม ฟังธัมม ชื่อ “เวสสันตรชาตกัง”เรียกว่า เวสสันดรชาดก จำนวน ๑๓ กัณฑ์ อันเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนเสด็จขึ้นไปประทับ ณ สหวันชั้นดุสิต ทรงถวายทานที่ยิ่งใหญ่ อันเป็น ปรมัตถปารมี ๑๐ ในขั้นสุดท้าย คือ (๑) สามัญญปารมี (๒) อุปปารมี (๓) ปรมัตถปารมี ของพระมหาโพธิสัตต์ ทาน คือ มโนกัมม (คือ อนะภิชฌา มาจาก อโลภเจตสิก)

ใครได้อ่านมาถึงตอนนี้แล้ว ท่านมีความรู้เข้าใจตามสายเถรวาทะแล้ว คือเชื่อฟังพระอรหันต์ ที่ทำสังคายนารักสาพระไตรปิฎกมา ๕ ครั้ง ตั้งแต่การทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ณ ถ้ำสัตตบันคูหา เมืองราชคฤห์ พระอรหันต์ ๕๐๐ ท่าน หลังทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ๓ เดือน ครั้งที่ ๒ พ.ส. ๑๐๐ เมืองวาลุการาม พระอรหันต์ ๗๐๐ ท่าน มูลเหตุปัญหาการเก็บอาหารหลังเที่ยงวัน รับเงินรับทองคำ ครั้งที่ ๓ วิวัฏฏอโสการาม เมืองปาตลีปุตต ปัญหาคนปลอมบวช ใช้พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ ท่าน ครั้งที่ ๔ เมืองอนุราธปุระ สิริลังกา มีพระอรหันต์ ๖๘,๐๐๐ ท่าน และครั้งที่ ๕ มีการจารึกลงในใบลานด้วยภาสาสิงหล ณ อาโลกวิหาร มาลัยชนบท สิริลังกา พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ ท่าน จึงทำให้ท่านได้ปุญญทันที (ปุญญกิริยาวัตถุ ๑๐ - ทาน คือ มโนกัมม สีล คือ กายกัมม วจีกัมม (สีล คือตัวตนเรา ไม่ใช่รับสีล ๕ ๑๐ ๒๒๗ ๓๑๑) ภาวนา คือ มโนกัมม (อพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ) คนทำภาวนา เกิดขึ้นภายใน มโนกัมม จึงไม่ใช่คนขี้โมโหโกรธา....

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/743/files/Wisakha-Pucha_July29.pdf


เขียนโดย : ดร. สรรณพ  นาควานิช สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sannop@mhesi.go.th