เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
เครื่องเขย่าเลือดอัตโนมัติ
ชม 4,390 ครั้ง
61
เจ้าของ
นายพิทักษ์ สถิตวรรธนะและคณะ
เมล์
chaiya_32@yahoo.com
รายละเอียด
เครื่องเขย่าเลือดพร้อมชั่งน้ำหนักอัตโนมัติทำงานโดยการนำเอาเทคโนโลยีไมโครคอนโทรลเลอร์มาเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องชังน้ำหนัก เป็นตัวประมวลผลและสั่งการควบคุม โดยการใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงในการขับเคลื่อน เพื่อให้ถุงโลหิตสามารถเขย่าไปมาได้ และตัวยาที่อยู่ในถุงผสมกับเลือดที่ได้รับบริจาคเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด ขณะที่วิธีใช้งานนั้นเครื่องจะทำการเลือกขนาดของถุงเลือดก่อนโดยการชั่งน้ำหนัก ซึ่งมี 2 ขนาด คือ ขนาด 350 มิลลิลิตร และขนาด 450 มิลลิลิตร
สำหรับจุดเด่นของเครื่องคือ ผู้บริจาคเลือดที่รู้สึกผิดปกติสามารถกดปุ่มเรียกฉุกเฉินได้จากตัวเครื่อง กรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้เฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด จะมีเสียงเตือนเมื่อเลือดไหลช้ากว่าปกติ ค่าของการนับเวลาตั้งเอาไว้ให้มีการนับจาก 0-15 นาที การแสดงผลของหน้าจอมี 2 บรรทัด 16 ตัวอักษร บรรทัดแรกแสดงค่าน้ำหนักของถุงเลือดที่ได้จากการชั่งน้ำหนัก ต่อด้วยขนาดของถุงเลือดที่ทำการเลือกเอาไว้ บรรทัดที่ 2 แสดงเวลาที่ใช้ในการชั่งวัดน้ำหนักของถุงเลือด เพื่อความสะดวกและรวดเร็วต่อบุคลากรที่รับบริจาคโลหิตและตัวผู้บริจาคโลหิตเอง
จากการนำเครื่องเขย่าเลือดพร้อมชั่งน้ำหนักอัตโนมัติมาทดลองใช้กับ ณ หน่วยคลังเลือด ม.สงขลานครินทร์ พบว่า ได้รับการตอบรับจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานว่าเครื่องมีประสิทธิภาพการทำงานและคุณสมบัติเหมือนกัน รวมทั้งเครื่องที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็มีราคาสูงกว่าต้นทุนที่ได้ประดิษฐ์มาใช้ทดสอบด้วย
ขณะที่ นายพิทักษ์ สถิตวรรธนะ อาจารย์สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ที่ปรึกษาชิ้นงานเครื่องเขย่าเลือดพร้อมชั่งน้ำหนักอัตโนมัติ เปิดเผยว่า ได้ให้โจทย์นักศึกษานำเสนอโครงงานที่สามารถนำมาใช้งานได้จริง เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชนและสังคม เช่นเดียวกับเครื่องเขย่าเลือดพร้อมชั่งน้ำหนักอัตโนมัติชิ้นนี้ ที่เป็นการช่วยลดรายจ่ายการซื้อเครื่องเขย่าเลือดในโรงพยาบาลที่มีราคาที่สูงมากได้อีกด้วย
สำหรับจุดเด่นของเครื่องคือ ผู้บริจาคเลือดที่รู้สึกผิดปกติสามารถกดปุ่มเรียกฉุกเฉินได้จากตัวเครื่อง กรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้เฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด จะมีเสียงเตือนเมื่อเลือดไหลช้ากว่าปกติ ค่าของการนับเวลาตั้งเอาไว้ให้มีการนับจาก 0-15 นาที การแสดงผลของหน้าจอมี 2 บรรทัด 16 ตัวอักษร บรรทัดแรกแสดงค่าน้ำหนักของถุงเลือดที่ได้จากการชั่งน้ำหนัก ต่อด้วยขนาดของถุงเลือดที่ทำการเลือกเอาไว้ บรรทัดที่ 2 แสดงเวลาที่ใช้ในการชั่งวัดน้ำหนักของถุงเลือด เพื่อความสะดวกและรวดเร็วต่อบุคลากรที่รับบริจาคโลหิตและตัวผู้บริจาคโลหิตเอง
จากการนำเครื่องเขย่าเลือดพร้อมชั่งน้ำหนักอัตโนมัติมาทดลองใช้กับ ณ หน่วยคลังเลือด ม.สงขลานครินทร์ พบว่า ได้รับการตอบรับจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานว่าเครื่องมีประสิทธิภาพการทำงานและคุณสมบัติเหมือนกัน รวมทั้งเครื่องที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็มีราคาสูงกว่าต้นทุนที่ได้ประดิษฐ์มาใช้ทดสอบด้วย
ขณะที่ นายพิทักษ์ สถิตวรรธนะ อาจารย์สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ที่ปรึกษาชิ้นงานเครื่องเขย่าเลือดพร้อมชั่งน้ำหนักอัตโนมัติ เปิดเผยว่า ได้ให้โจทย์นักศึกษานำเสนอโครงงานที่สามารถนำมาใช้งานได้จริง เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชนและสังคม เช่นเดียวกับเครื่องเขย่าเลือดพร้อมชั่งน้ำหนักอัตโนมัติชิ้นนี้ ที่เป็นการช่วยลดรายจ่ายการซื้อเครื่องเขย่าเลือดในโรงพยาบาลที่มีราคาที่สูงมากได้อีกด้วย
คำสำคัญ
บันทึกโดย
