เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
สารเหล่านี้นอกจากจะเป็นตัวจับยึดสีและเพิ่มการติดสีในเส้นใยเเล้วยังช่วยเปลี่ยนเฉดสีให้เข้มขึ้น สดขึ้นหรือสว่างขึ้นได้ โดยแบ่งออกเป็น
สารช่วยย้อม
สารช่วยย้อมเคมี (มอเเดนท์) วัตถุธาตุที่ใช้ผสมสีเพื่อให้สีติดแน่นกับผ้าที่ย้อม ส่วนใหญ่เป็นเกลือของโลหะพวกอะลูมิเนียม เหล็ก ทองเเดง ดีบุก โครเมียม มอแดนท์ที่ใช้ทั่วไปคือ
- สารส้ม (มอแดนท์อะลูมิเนียม) ทำให้ด้านสีสดหรือสว่างขึ้น
- จุนสี (มอแดนท์ทองแดง) ทำให้สีติดเข้มขึ้น
- เฟอรัสซัลเฟต (มอแดนท์เหล็ก) ทำให้สีติดเส้นด้ายมากขึ้นเเต่จะเปลี่ยนสีธรรมชาติให้เป็นเฉดสีเทา
สารช่วยย้อมธรรมชาติ คือสารประกอบจากธรรมชาติที่ทำให้เฉดสีเปลี่ยน
- น้ำปูนใส ได้จากปูนขาว ทิ้งไว้ให้ตกตะกอนจะได้น้ำปูนใสที่อยู่ด้านบน
- น้ำด่าง หรือน้ำขี้เถ้า นำขี้เถ้าสีขาวใส่ในน้ำกวนให้ทั่วทิ้งไว้ 4-5 ชั่วโมงขี้เถ้าจะตกตะกอน น้ำที่กรองได้จะสะอาดเอาไปใช้งานได้ เรียกว่าน้ำด่าง
- น้ำโคลน นำโคลนมาละลายในน้ำเปล่าสัดส่วนน้ำ 1 ส่วน ต่อดิน 1 ส่วน จะช่วยให้โคลนสีเข้มขึ้นหรือเเป็นสีเทาดำ
- น้ำบาดาล หรือน้ำสนิมเหล็ก ใช้น้ำบาดาลที่เป็นสนิมหรือน้ำเหล็กไปเผาไฟให้แดงแล้วนำไปแช่น้ำ ทิ้งไว้ 3 วันจึงนำน้ำสนิมมาใช้ได้