เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชุดเครื่องวัดสี
- เครื่องวัดสี
- อะแดปเตอร์
- ชุดกระดาษสี
รูปที่ 1 ชุดเครื่องวัดสี
หลักการทำงานของเครื่องวัดสี (Color detector)
เครื่องวัดสี ใช้หลักการวัดแสงที่สะท้อนจากผิววัตถุ โดยจะมีแหล่งกำเนิดแสงขาว จากหลอดแอลอีดีจำนวน 4 ดวง ดังรูปที่ 2.1ใช้เป็นแสงมาตรฐาน ความยาวคลื่นแสงขาวจะครอบคลุมย่านของแสงสีแดง สีเขียว และ สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นแสงสีหลักสำหรับใช้วัดวิเคราะห์สีของวัตถุ เมื่อแสงขาวตกกระทบผิววัตถุ แสงสะท้อนจะสัมพันธ์กับปริมาณของสีหลักบนผิววัตถุ และถูกวิเคราะห์โดยเซนเซอร์วัดสีที่อยู่บริเวณช่องตรงกลางระหว่างหลอดแอลอีดี เซนเซอร์วัดสี ภายในประกอบด้วยชุดของโฟโต้ไดโอดขนาด 8x8 จำนวน 64ตัว บนพื้นที่ประมาณ 0.01 ตารางมิลลิเมตร ดังรูปที่ 3แบ่งเป็น โฟโต้เซนเซอร์วัดแสงสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน และใส (ไม่มีสี) อย่างละ 16 ตัว ทำหน้าที่รับแสงและเปลี่ยนจากปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ได้เป็นสัญญาณความถี่ทางไฟฟ้า จากนั้นส่วนประมวลผลจะวิเคราะห์สัญญาณตามเงื่อนไขที่ได้โปรแกรมไว้ และแสดงผลทางหน้าจอแอลซีดี ค่าที่ได้คือค่าข้อมูลสีวัตถุดังรูปที่ 2.2
*ราคาสำหรับชุดเครื่องวัดสี ดังรูปที่ 1เท่านั้น
การอ่านค่า จากรูปที่ 2.2เครื่องวัดสีกำลังอ่านค่าสีของกระดาษสีน้ำเงิน ค่าที่ได้จากการวัดประกอบด้วยตัวเลข 3ค่า คือ R (RED สีแดง) มีค่า 58,G (Green สีเขียว) มีค่า 155 และB (Blue สีน้ำเงิน) มีค่า 224ทำให้ทราบค่าปริมาณสีหลักที่ใช้ผสม เพื่อให้ได้สีตามผิวของวัตถุที่นำมาวัดค่า โดยเครื่องวัดสีรุ่นนี้สามารถพัฒนาต่อยอดให้มีความแม่นยำ และทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูล หรือแปลงข้อมูลได้ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ
ประวัติ
ชื่อนายมารุต พวงสุดรัก
การศึกษาจบปริญญาโทวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ประสบการณ์การทำงานออกแบบและสร้างอุปกรณ์ ทดลอง วัดวิเคราะห์ ทดสอบ วิจัย ทางวิทยาศาสตร์ และจัดกิจกรรมอบรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน ครู และผู้ที่สนใจ
สถานที่ทำงานปัจจุบันศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานและอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เบอร์ติดต่อ 085-910-4553
